จากไก่ใต้ถุนบ้าน สู่อาณาจักร ซี.พี. มีวันนี้ เพราะยึดมั่นเกษตรพันธสัญญาและเกษตรกรคือ ‘คู่ชีวิต’

อาจกล่าวได้ว่าความสำเร็จของซีพีในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เป็นผลจากการนำแนวคิดเกษตรพันธสัญญามาพัฒนารวมทั้งการยึดมั่นในปรัชญาว่าเกษตรกรคือคู่ชีวิตและทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เมืองไทยมีความก้าวหน้า ทันสมัยและปรับตัวได้กับยุค 4.0 ในยุคที่ทุกก้าวย่างถูกสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยี ไม่เว้น “ภาคเกษตร” ที่หลายประเทศในโลกเดินหน้าหาทางออกด้วยการเกษตรยุคใหม่ในรูปแบบ “ฟาร์มขนาดใหญ่” แถบยุโรปมุ่งแนวทาง “สหกรณ์” เกษตรกรรวมกลุ่มเลี้ยงสัตว์ บริหารจัดการตั้งแต่ต้นจนถึงปลายน้ำ ขณะที่ฝั่งสหรัฐอเมริกา หนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการเดินหน้าส่งเสริมแนวทาง “เกษตรพันธสัญญา” หรือ Contract Farming โดยถือว่าผู้ซื้อกับผู้ขายทำธุรกิจร่วมกันมีข้อตกลง แบ่งหน้าที่ชัดเจน และแชร์ผลผลิตที่เกิดจากการลงทุนร่วมกันเช่นที่ PepsiCo ผู้ผลิตอาหารยักษ์ใหญ่ในอินเดียทำกับ “มันฝรั่ง” ผลสุดท้ายเกษตรกรผู้ปลูกก้าวขึ้นมายืนเบอร์ 1 ใน 3 ของโลก

โชคดีที่ไทยถือกำเนิดเกษตรพันธสัญญาก่อนประเทศอื่นในเอเชีย
ด้วยความคิดที่ว่า 50 ปีก่อน ไก่มีราคาสูงและเป็นอาหารของคนรวย ด้วยอยากช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ให้คนไทยที่ไม่ใช่เศรษฐีสามารถกินไก่ได้
“ทำไมคนอเมริกาคนเดียวเลี้ยงไก่ได้ถึง 10,000 ตัว” ขณะที่คนไทย 1 คน เลี้ยงไก่ได้แค่ 100 – 500 ตัว” คือโจทย์ ที่ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เคยตั้งคำถามไว้ ก่อนจะนำไปสู่การศึกษาหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาภาคเกษตร

ซี.พี. ได้นำแนวคิดเรื่องระบบครบวงจร หรือ Contract Farming ที่ศึกษาจากสหรัฐอเมริกามาใช้กับ “ไก่” เป็นธุรกิจแรก และเป็นต้นแบบระบบครบวงจรกับธุรกิจอื่นๆ เบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนถึง ปลายน้ำ ทั้งผลิตอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์คัดเลือกพันธุ์ แปรรูป กระจายสินค้า จนอาจกล่าวได้ว่า “การเลี้ยงไก่” คือก้าวสำคัญที่ทำให้ ซี.พี. กลายเป็น “อาณาจักร ซี.พี.” เช่นทุกวันนี้

ด้วยเกษตรพันธสัญญาเป็นการลด ขั้นตอนตรงกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อลดต้นทุน อีกแง่คือการที่ผู้มีทุนมาช่วยส่งเสริมและรับความเสี่ยงแทนเกษตรกร การผิดสัญญาของทั้งสองฝ่ายจึงเป็นเรื่อง ที่เกิดขึ้นได้ในระบบนี้

แต่ด้วยแรงกดดันทางสังคม บริษัทต่างๆ จึงเดินหน้าทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น และยึดตามคู่มือแนะแนวขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ขณะเดียวกันใช่ว่าเกษตรกรจะมีความสามารถเท่ากันทั้งหมด อย่างที่คุณธนินท์ บอกว่า “เหมือนนักเรียนสอบได้ที่ 1 ก็มีที่โหล่ พอมีเกษตรกรที่ล้มเหลวก็ทำให้เข้าใจว่าเราไปเอาเปรียบเกษตรกร”

นับแต่ปี พ.ศ. 2518 ที่ ซี.พี. ส่งเสริม การเลี้ยงไก่กระทง อ.ศรีราชา กว่า 200 ราย สู่ 5,960 คู่สัญญา ครอบคลุมถึงการเลี้ยงไก่เนื้อไก่ไข่ และสุกรกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ คือเกษตรกร ที่อยู่กับ ซี.พี. ยาวนานกว่า 10 ปีไม่เพียงรู้ทฤษฎี แต่รู้วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องตอกย้ำแนวคิดของชายผู้ทำให้บริษัทไทยกลายเป็นบริษัทระดับโลก ที่ว่า เกษตรกรคือคู่ชีวิต

คุณณรงค์ เจียมใจบรรจง

“เกษตรกรคือพาร์ทเนอร์ชิปของเรา ฉะนั้น ในการทำธุรกิจจะต้องได้รับประโยชน์ทั้งเกษตรกร ภาครัฐ และบริษัท เพราะถ้าเกษตรกรอยู่ไม่ได้ บริษัทก็อยู่ไม่ได้” คือคำยืนยันหนักแน่นของ คุณณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ

ด้วยไม่หยุดพัฒนา ซี.พี. เดินหน้าปรับปรุงระบบเกษตรพันธสัญญาเพื่อสร้างมาตรฐาน โดยอิงแนวทางของ UNIDROT หน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากล อันดับ 1 ของโลก จนได้รับการประเมินจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า คือระบบ พันธสัญญาที่ “เป็นธรรม” และ “เป็นสากล” จน “องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ” ยอมรับ และเอาไปเป็นแบบอย่างในหลายประเทศ

คุณณรงค์บอกว่า เมื่อเกษตรกรเข้ามาเป็นสมาชิกของโครงการ นอกจากความรู้ วิธี และเทคโนโลยีแล้ว ยังเข้าถึงแหล่งเงินง่าย สุดท้ายมั่นใจได้ว่ามีตลาดรองรับ นับเป็นแนวทางพัฒนาภาคเกษตร ในไทย สู่เป้าหมาย ‘เกษตรยั่งยืน’ แก้ความยากจน สร้างรายได้มั่นคงให้กับเกษตรกร ด้านผู้ซื้อ ผู้ประกอบการมีกำลังการผลิตและส่งออกสินค้าได้อย่างมีมาตรฐาน เป็นความสัมพันธ์ระยะยาว เฉกเช่น สามี ภรรยา มีทะเลาะบ้างเป็นธรรมดา แต่สามารถปรับจูนกันได้

ธนศักดิ์ ออนกิจ เจ้าของ นัทลีฟาร์ม

นัทลีฟาร์มเป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึงความสำเร็จของแนวคิดเกษตรพันธสัญญาละคำว่าเกษตรกรคือคู่ชีวิต ดังที่คุณคุณธนศักดิ์ ออนกิจ ในวัย 37 ปี เจ้าของ “นัทลีฟาร์ม” ที่นำฟาร์มไก่เนื้อเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญา ในปี 2558 ถือเป็น “สมาร์ทฟาร์มเมอร์ นิวเจน” ที่น่าจับตา เขาบอกว่า

“กับ ซี.พี. ถือเป็นคู่ค้าที่เราแฮปปี้ เพราะเวลาเลือกทำอะไรแบบนี้เราต้องดูยาวๆ เราดูที่ความมั่นคง ด้วยความที่เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ ไก่ 3 แสนตัว เวลาเกิดปัญหาเชื่อว่า ซี.พี. จะช่วยเหลือเราได้เรื่องของความแม่นยำ การชั่งน้ำหนักไก่ ถ้าเป็นบางแห่งเสี่ยงที่จะไว้วางใจ แต่เราเลือก ซี.พี. ด้วยความมีมาตรฐาน”

คุณธนศักดิ์ยังบอกอีกว่า ข้อดีอีกประการ คือ ซี.พี. เป็นที่เดียวที่คืนเงินค้ำประกัน
“การทำคอนแทรคฟาร์มมิ่งแบบประกันราคา ซื้อคืนเพื่อลดความเสี่ยง ทำให้เรามีตลาด รู้ราคาแน่นอน ลงไก่แล้วรู้เลยว่าเราจะขายออกได้ในราคากิโลกรัมละเท่าไหร่ ต่อให้ราคาจะคลาดเคลื่อนแค่ไหนก็ไม่เป็นไร”

“ล่าสุดไก่ 1 ล็อต ยอดขายอยู่ที่ประมาณ 25 ล้านบาท ในมุมความยั่งยืน ชัดเจนว่าคอนแทรคฟาร์มมิ่งส่งเสริมให้เกษตรกรกล้าลงมือทำ

ถ้ามองอย่างเป็นกลาง คอนแทรค ฟาร์มมิ่งคือระบบที่ วิน-วิน ทั้งคู่” คุณธนศักดิ์กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: นสพ.มติชน