ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ
เศรษฐกิจจีน
Zero – COVID กระทบนักลงทุนเบนเข็มจากจีนไปประเทศเพื่อนบ้าน
- หนึ่งในต้นตอของปัญหาคืออสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เมื่อปีก่อนแบงก์ขนาดเล็กและระดับภูมิภาคได้ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็เป็นอีกแรงกดดันต่อมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ
- สิ่งที่เกิดขึ้นคือปัจจุบันมีแบงก์สหรัฐฯ 700 แห่ง ที่ปล่อยสินเชื่อกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์มากกว่าแนวปฏิบัติของ Federal Deposit Insurance Corp. และเมื่อเทียบกับ 2 ปีก่อน
- ล่าสุดเริ่มเห็นธนาคารบางแห่งตัดขายพอร์ตสินเชื่อในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ออกไปเพื่อเสริมสภาพคล่อง
- Green Street ประเมินว่ามูลค่าของอาคารสำนักงานในปัจจุบันลดลงไปเฉลี่ย 27% จากจุดพีค อสังหาเชิงพาณิชย์ลดลงไปเฉลี่ย 15% ปัญหาจะเริ่มส่งผ่านแรงกดดันไปยังตราสารหนี้ที่มีสินเชื่ออสังหาเชิงพาณิชย์เป็นหลักประกันการจำนองที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปีนี้คิดเป็นมูลค่า 1.4 แสนล้านดอลลาร์ (เดอะแสตนดาร์ด)
เศรษฐกิจไทย
เกษตรกรทำใจประกันรายไม่ได้ไปต่อ ลุ้นรัฐบาลใหม่คลอดโครงการช่วยเกษตรกร
- “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” คลอบคลุมพืช 5 ชนิด ข้าว ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมันและมันสำปะหลัง ภาพรวมโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร ถือว่าประสบความสำเร็จ และใช้งบประมาณต่ำกว่าที่ตั้งไว้มาก แม้ว่าช่วงเริ่มปีแรกมีการจ่ายส่วนต่างประกันให้สินค้าเกษตรครบทั้ง 5 ชนิด แต่ต่อมาในปีที่ 2-4 ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้นต่อเนื่องทำให้จ่ายเงินส่วนต่างลดลง
- โครงการเป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ผูกพันกับรัฐบาลต่อไป ดังนั้นขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะทำนโยบายนี้ต่อหรือไม่ หรือมีนโยบายทดแทน แต่จากการสำรวจพบว่า 4 ปีที่ทำโครงการนี้เกษตรกรพึงพอใจ
- รองหัวหน้าพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล กล่าวว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการถอดนโยบายประกันรายได้ก็จะเป็นช่วงที่ราคาสินค้าเกษตกรปรับสูงขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
เศรษฐกิจจีน
จีนไม่สามารถพึ่งพากการส่งออกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อชดเชยเศรษฐกิจสหรัฐ
- การส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ลดลง 18% จากปีที่แล้วในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤษภาคมการส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ลดลงเช่นกัน
- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่สามารถชดเชยการขาดทุนจากตลาดสหรัฐฯ ได้ทั้งหมด
- การชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่สัญญาณที่ดีสําหรับแนวโน้มการส่งออกของจีน
- ในเดือนเม.ษ.ปีนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์การเติบโตของ GDP ของอาเซียนในปีนี้จะชะลอตัวลงจาก 5.7 %ในปีที่แล้วเป็น 4.6 % (ซีเอ็นบีซี)