“เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” ช่วยเกษตรกรปลูกข้าวโพดยั่งยืน โดย วรพจน์ สุรัตวิศิษฎ์ กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบ

ผมได้มีโอกาสร่วมงานกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ มากว่า 10 ปี เดิมทีก็เหมือนคนทั่วไปที่ยังไม่ได้คิดไกลไปถึงเรื่อง สิ่งแวดล้อมและสังคมมากนัก แต่หลังจากได้เข้ามาทำงานด้านความยั่งยืน ผมก็เริ่มคิดถึง สิ่งเหล่านี้มากขึ้น ทำให้ตอนนี้เวลาขับรถก็จะ ใส่ใจเรื่องการประหยัดน้ำมัน รวมไปถึงการใช้ น้ำใช้ไฟ ผมมองว่าผมเองเป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่ง ที่จะทำให้โลกดีขึ้นได้ยิ่งเมื่อเข้าสู่โลกการ ทำงาน มุมมองความยั่งยืนของผมก็กว้างและ ลึกขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่โลกใบนี้กำลังโหยหา ก็ยิ่งช่วยตอกย้ำความคิดเรื่องความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับของ การจัดซื้อข้าวโพดอาหารสัตว์ในกลุ่มซีพี เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการจัดหาที่ยั่งยืน

“ภูมิใจเพราะผลสำเร็จของโครงการนี้ได้ สร้างการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังจะมีนโยบายการสร้าง ระบบตรวจสอบย้อนกลับระดับประเทศ”

เมื่อก่อนการจัดหาวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์เน้น แค่หาวัตถุดิบคุณภาพดีในราคาที่ดีที่สุด แต่ ในช่วง 2-3 ปีหลังที่ผ่านมานี้ขอบเขตของการทำงานเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเรื่องการพัฒนา ที่ยั่งยืนกลายเป็นธงนำขององค์กร พนักงาน ทุกฝ่ายได้รับการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อเนื่องและกลายเป็น แนวปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร หน่วยงาน Supply Chain Development ที่ผมรับผิดชอบก่อนหน้านี้รวมอยู่ใน ฝ่ายพัฒนาธุรกิจซึ่งเพิ่งแยกออกมาไม่กี่ปี การแยกหน่วยงานนี้เป็นไปตามนโยบายของเครือฯ งานของเราไม่ใช่เพียงแค่การจัดซื้อวัตถุดิบ แต่ ต้องมองไกลและลงลึกถึงต้นน้ำ ควบคุม กระบวนการผลิต ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ ได้ตั้งแต่ต้นทาง

“เราก็กลับมาดูขอบข่ายงานของเราในส่วน วัตถุดิบอาหารสัตว์ พบว่าในส่วนผสมของ อาหารสัตว์จะมีข้าวโพดมากถึง 30-40% ประกอบกับสถานการณ์เรื่องการเพาะปลูก ข้าวโพด การบุกรุกพื้นที่ป่า ปัญหาหมอกควัน ทางภาคเหนือเป็นประเด็นที่สังคมให้ความ สนใจมาก เราจึงเริ่มจากเรื่องข้าวโพดก่อน”

แรกๆ เก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องมาทำเรื่องความยั่งยืน แทนที่เวลางานทั้งร้อยจะทุ่มเทให้กับการจัดซื้อวัตถุดิบ กลายเป็นว่าเวลางานเกือบครึ่งต้องอุทิศให้ เรื่องความยั่งยืน ลงพื้นที่ พัฒนาโครงการเพื่อ ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของเรา

แต่เมื่อได้เห็นความเปลี่ยนแปลง ได้เห็นรอยยิ้มของ เกษตรกร รอยยิ้มนั้นได้กลายเป็นรอยยิ้มของ ผมด้วยเช่นกัน ทางหน่วยงาน Supply Chain Development ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ ‘ระบบตรวจสอบแหล่งที่มาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์’ ซึ่งใช้เวลาพัฒนาอยู่นาน 8 เดือน และเริ่มใช้ อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 2559 โดย มีการเตรียมพร้อมจัดเวิร์กช็อปให้ความรู้แก่คู่ค้า ทั่วประเทศ จัดทำคู่มือ และมีเจ้าหน้าที่สาขา คอยให้คำแนะนำในตอนเริ่มต้นใช้งานระบบ หลักการของระบบก็คือ เกษตรกรที่เพาะ ปลูกข้าวโพดจะต้องมีเอกสารสิทธิ์มายืนยันว่าเพาะปลูกในพื้นที่ถูกกฎหมาย โดยเกษตรกร จะลงทะเบียนกับพ่อค้าผู้รวบรวมข้าวโพด หรือจะลงทะเบียนกับเราก็ได้

ส่วนคู่ค้าหรือ พ่อค้าข้าวโพดก็ต้องมาลงทะเบียนในระบบ ด้วยเช่นกัน คือเมื่อเกษตรกรนำข้าวโพดมา ขาย ผู้ซื้อก็ต้องป้อนข้อมูลในระบบว่าซื้อ ข้าวโพดจากเกษตรกร A จำนวนกี่ตัน เกษตรกร B กี่ตัน ซึ่งระบบจะคำนวณและล็อกไว้เลยว่า เกษตรกร A ลงทะเบียนไว้ว่ามีพื้นที่เพาะปลูก 20 ไร่ ฉะนั้นผลผลิตที่ควรจะได้ต้องไม่เกิน กี่ตัน ขายเกินจำนวนไม่ได้ ระบบนี้ช่วยสร้างความโปร่งใสการตรวจสอบ ย้อนกลับและระบุได้ชัดเจนว่าข้าวโพด ที่นำมาเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์มาจากแหล่งผลิต ที่ถูกกฎหมายเท่านั้น “เรื่องระบบตรวจสอบย้อนกลับ เราเริ่มทำ เป็นรายแรกของประเทศ” รู้สึกภูมิใจเมื่อนำระบบนี้มาใช้ได้เกิดการ เปลี่ยนแปลงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน

ปัจจุบันมีคู่ค้าทั่วประเทศลงทะเบียนใน ระบบกว่า 400 รายเกษตรกรประมาณ 100,000 ราย ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดกว่า 2.5 ล้านไร่ ช่วงแรกๆ ก็ขลุกขลักบ้างคู่ค้าไม่เห็นความ สำคัญ แต่เราก็ให้ความรู้ต่อเนื่อง ทำไปทำมา เขาเป็นคนบอกต่อเองด้วยซ้ำว่า ตอนนี้การ ปลูกข้าวโพดให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม การรักษาผืนป่า ตระหนักว่า การซื้อข้าวโพด ต้องรู้แหล่งที่มา และล่าสุดท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เชิญสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เข้าไปหารือ และออกเป็นนโยบายว่าตั้งแต่นี้ เป็นต้นไป โรงงานอาหารสัตว์ทุกแห่ง ต้องซื้อ ข้าวโพดจากพื้นที่เพาะปลูกที่ถูกต้องตาม กฎหมายเท่านั้น ซึ่งทางเราก็นำเสนอไปว่าจะ ทำสำเร็จได้ต้องมีระบบที่ดี ต้องมีระบบตรวจ สอบย้อนกลับระดับประเทศ

ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดของ ตัวเองนะ ตอนนี้เรามองว่าทุกอย่างคือความ ยั่งยืน ไม่ว่าจะคิดโปรเจ็กต์อะไร จะคิดถึง Stakeholders หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าจะ กระทบกับใครบ้าง ด้านบวกหรือลบ ไม่ได้คิด แค่ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เมื่อ “จิ๊กซอว์” ตัวเล็กๆ ประกอบเข้าด้วยความมุ่งมั่นเดียวกัน ก็จะกลายเป็นภาพ ผืนใหญ่… ภาพแห่งความยั่งยืนที่งดงาม

ที่มา : วารสารบัวบานฉบับที่ 4