สศช. ชี้ 9 เดือนปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/2566 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงจากร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นผลจากการส่งออกรวมชะลอลง จากการส่งออกสินค้าที่ลดลง ขณะที่บริการรับขยายตัวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น

การใช้จ่ายรัฐบาลยังคงลดลง ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง ขณะที่การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัวต่อเนื่อง และการลงทุนของภาคเอกชนที่เร่งขึ้น ส่งผลให้ 9 เดือนปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9

ด้านการผลิต ชะลอลงทั้งภาคเกษตร และภาคนอกเกษตร โดยภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 0.9 ชะลอลงจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่ 2/2566 ตามการลดลงของผลผลิตพืชผลเกษตรที่ส าคัญ ภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงจาก ร้อยละ 1.8 เป็นผลจากภาคบริการขยายตัวร้อยละ 3.9 ปัจจัยสนับสนุนมาจากกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวขยายตัวได้ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.8 เป็นผลจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ

ด้านการใช้จ่ายการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน การลงทุนรวม และการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 8.1 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 0.2 ตามล าดับ ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล และการนำเข้าสินค้าและบริการ ลดลงร้อยละ 4.9 และร้อยละ 10.2 ตามลำดับ ปรับปัจจัยฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3/2566 ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ในไตรมาสที่ 2/2566 (QoQ_SA)



การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อเนื่องจากขยายตัวร้อยละ 7.8 ในไตรมาสที่ 2/2566
โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว 1.0 เร่งตัวจากไตรมาสที่ 2/2566 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 หมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.2 หมวดบริการขยายตัวร้อยละ 15.5 และหมวดสินค้าคงทนชะลอตัว

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 4.9 จากการลดลงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นผลจากการโอน
เพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลงร้อยละ 38.6 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ตาม ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ 0.2 จาการขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2/2556

การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 2/2566 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.1 เร่งขึ้นจากขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นการขยายตัวทั้งด้านการก่อสร้าง และด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 2.6 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นการลดลงทั้งด้านการก่อสร้างและด้านเครื่องจักรเครื่องมือ

ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจำปี ลดลง 186.5 พันล้านบาท สินค้าคงคลังสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ข้าวสาร น้ำตาล
เครื่องประดับอัญมณี พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เภสัชภัณฑ์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง สำหรับสินค้าคงคลังที่
เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และเนื้อสัตว์ปีกสด แช่เย็นและแช่แข็ง

ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 129.4 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 191.8 พันล้านบาท และดุลบริการขาดดุล 62.5 พันล้านบาท

อ่านรายงานฉบับเต็มที่นี่
……

ข้อชี้แจง Q3/2566
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ รายไตรมาส มูลค่าที่แท้จริงโดยวิธี
ปริมำณลูกโซ่ (Chain Volume Measures) โดยใช้วิธีการเชื่อมโยงค่ารายปีด้วยวิธี Annual Overlap และใช้ ปี พ.ศ. 2545
เป็นปีอ้างอิง โดยในการประมวลผลใช้ข้อมูลที่ได้รับล่าสุดจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยมีการปรับปรุงที่สำคัญดังนี้
1. ปรับปรุงพื้นที่เพาะปลูกและข้อมูลพยากรณ์ผลผลิตกำรเกษตร ไตรมำสที่ 2/2566 ตำมการพยากรณ์ล่าสุด ของกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์
2. ปรับปรุงข้อมูลดัชนีผลผลิตอุตสำหกรรมตามรายงายล่าสุดเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
3. ปรับปรุงข้อมูลรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ตามแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
4. ปรับปรุงข้อมูลสถาบันการเงิน ตามแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
5. ปรับปรุงข้อมูลการนำเข้าและส่งออกสินค้ำและบริกำร ตามข้อมูลบัญชีดุลการชำระเงินเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566
ของธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับตารางสถิติ รายละเอียดจะไม่นำเสนอในเอกสารนี้ โดยสามารถดูได้ที่ www.nesdc.go.th

ที่มา ไทยพับลิก้า