ปิดทอง ซีพี ชู “ผักเคล” พืชเศรษฐกิจใหม่ สร้างรายได้กว่าปีละ 100,000

นับเป็นการยกระดับการพัฒนาด้านการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ในการสร้างรายได้ พื้นที่บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เพื่อบรรลุเป้าหมายสู่ความยั่งยืน ในการขับเคลื่อนให้ชุมชนจัดตั้งการทำงาน SE Social Enterprise อย่างเต็มรูปแบบ โดยเกษตรกรในชุมชนเริ่มวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการกลุ่มเพิ่มศักยภาพในตนเอง อีกทั้งได้รับองค์ความรู้จากหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เข้ามาเพิ่มทักษะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต แนะแนวความคิด กำหนดเส้นทางชีวิตอย่างมีเป้าหมายสู่รายได้ชุมชน ซึ่งในอนาคตมุ่งหวังให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นต้นแบบแห่งความยั่งยืน สร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนสังคมเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง กับ ผักเคล “ราชินีแห่งผักใบเขียว”

ทำไมถึงต้องเป็น ราชินีผักใบเขียว (ผักเคล) คะน้าใบหยิก

จุดเริ่มต้นจากแนวคิดของ นางสาวศิริรักษ์ แก้วมูลมุข ผู้จัดการแผนก พัฒนาชุมชน หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เห็นถึงความแปลกใหม่ของผักชนิดนี้ ที่มีความน่าสนใจซ้อนอยู่ รูปทรงไม่คุ้นตา เป็นจุดประกายแนวความคิด อยากนำมาพัฒนาส่งเสริมเกษตกรให้เกิดการสร้างรายได้ภายในชุมชน จึงได้มีการทดลองปลูกในครั้งแรก ณ จังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่หลังจากนั้นจึงขยับขยายมาสู่พื้นที่บ้านโคกล่าม – แสงอร่ามโดยเริ่มปลูกเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2563 ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 19 ราย

นอกจากนี้ยังได้รับการถ่ายถอดองค์ความรู้จาก ผศ.ดร. ชัยรัตน์ บูรณะ อาจารย์ประจำคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผักเคล เข้ามาให้องค์ความรู้ การเพาะปลูก การเลือกสายพันธุ์ ขั้นตอนการใส่ปุ๋ย วิธีการปลูกรวมถึงเคล็บลับที่ทำให้ผักเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็ว พร้อมส่งตรงสู่ตลาด

ผักเคล หรือราชินีแห่งผักใบเขียวมีราคาขายในท้องตลาด กิโลกรัมละหลายร้อยบาท สร้างรายได้หลักหลายหมื่นต่อเดือน ผักเคล (Kale) อาจเป็นชื่อใหม่สำหรับคนไทย แต่ได้รับความนิยมในการรับประทานอย่างรวดเร็ว

มีการวิจัยแล้วว่ามีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าผักชนิดอื่นๆ ผู้คนยังรู้จักไม่มากนัก แต่จะได้รับความสนใจจากผู้ที่รับประทานอาหารคลีน ผักเคล หรือคะน้าใบหยิก เป็นผักที่สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน สามารถขายส่งต่อได้ง่าย ให้ความสะดวกรวดเร็วในการเก็บเกี่ยวและเมื่อส่งต่อถึงมือผู้บริโภคยังสามารถคงความสดได้เป็นอย่างดี

ปลูกอย่างไร ถึงประสบความสำเร็จ

ผักเคล ก็เหมือนปลูกผักทั่วไป  ผสมปุ๋ยหมัก รดน้ำแบบพรมให้ชุ่ม ใช้เวลา 45 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ แต่ขั้นตอนการเก็บผักนั้นจะต้องเก็บในตอนเช้าดีที่สุด ผักจะได้ไม่เฉา เก็บได้ทุกวัน ข้อดีคือต้นทุนต่ำ ปลูกครั้งเดียวเก็บได้นาน 6-8 เดือน

ใบล่างที่มีสีเขียวเข้ม มีสารอาหารมาก โดยเฉพาะธาตุเหล็ก และวิตามินอื่น ๆ ที่สำคัญต่อร่างกาย ซึ่งกลุ่มเก็บผักเคลได้วันละไม่ต่ำกว่า 100 กิโลกรัม นำไปขาย ในตลาดร่มเขียว จ.อุดรธานี

นอกจากนี้ ได้นำ “ผักเคล” ขับเคลื่อนสู่ สยามแม็คโครฯ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน หากคิดคำนวณรายได้จากการขายในครั้งแรก คือ  ผักเคล 1 กิโลกรัม/1 ตารางเมตร มีพื้นที่การเพาะปลูกในโรงเรือนประมาณ 80 ตรม. จะสามารถเก็บผักเคลต่อรอบได้ อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 80 กิโลกรัม

หรือในกรณีที่นำส่งขายเข้าสู่ สยามแม็คโครฯ จำนวน 80 กิโลกรัม  ราคา 70 บาท = 5,600 บาท/อาทิตย์ ซึ่งต่อเดือนจะสามารถสร้างรายได้เริ่มต้นให้เกษตรกรที่ 22,400 บาท/เดือน และคาดการณ์ว่า ในอนาคตผักเคลจะสามารถสร้างมูลค่าให้เกษตรกรได้มากถึง 130,000 บาท /ปี ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่นำรายได้มาให้แก่ชมชุมบ้านโคกล่าม-แสงอร่ามได้เกิดพัฒนาสร้างอาชีพและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

การรวมพลังขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ

กว่าจะเกิดการรวมกลุ่มได้ในครั้งนี้  ต้องอาศัยความร่วมมือแบบบูรณาการจากหลายภาคส่วนของทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เเละเอกชน ชุมชน เกษตรกรที่เข้ามาผนึกกำลังช่วยกันผลักดันให้เกิดเป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จ

โดยมีมูลนิธิปิดทองหลังหลังพระ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ได้เข้ามาขับเคลื่อนให้องค์ความรู้ประกอบการอบรมบริหารจัดการแปลงเกษตรชุมชน เเละบริษัทสยามแม็คโครฯ ที่เข้ามีบทบาทให้องค์ความรู้ รับหน้าที่เป็นตลาดในการขับเคลื่อนกระจายสินค้าชุมชนสู่ผู้บริโภค และสร้างการรับรู้ให้ “ผักเคล” กลายเป็นที่รู้จัก

นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้าง (โรงเรือนแบบประหยัด) รวมถึงองค์ความรู้รูปแบบวิชาการที่ชุมชนสามารถดำเนินการได้จริง นำร่องให้แก่เกษตรกรในพื้นที่สามารถดำเนินการเองได้อย่างง่ายดาย

วิกฤตโควิด-19 สร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนให้เข้มแข็ง

วิกฤตโควิด-19 พลิกชีวิตให้มีแรงผลักดัน เพื่อลูกหลานคนรุ่นหลังได้สืบต่อ ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ทำให้เกษตรตรกร มองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในสังคมอย่างมากมาย การค้าขาย รายได้จากการจ้างงานที่ลดลง

สิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดความ “ กลัว “  และเริ่มกลายเป็นแรกผลักดันให้เกษตรกร เลือกพลิกวิกฤติและตั้งรับโอกาสที่ได้มา สร้างการเปลี่ยนแปลงเกิดการหมุ่นเวียนภายในชุมชน พยายามให้ชุมชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เมื่อสภาพแวดล้อมภายนอกเกิดปัญหา มุ่งหน้าขับเคลื่อนความเป็นไปได้ในชุมชนให้เกิดการต่อยอดของระบบ SE อย่างต่อเนื่องสูงสุด

ทั้งนี้ เพื่อสร้างรายได้ให้องค์กรในชุมชน สามารถเลี้ยงตนเอง ในอนาค สร้างเป้าหมาย โดยเน้นการต่อยอดจากกิจกรรมที่ได้รับส่งเสริมในพื้นที่รู้จักจัดวางแผนบริหารจัดการกลุ่ม การแปรรูป การจัดนำหน่ายและการกระจายสินค้า ศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ ที่ก้าวไปสู่แหล่งตลาดที่หลากหลาย

ภาคภูมิใจที่บ้านของเราเป็นต้นแบบให้คนอื่นได้

กลุ่มเกษตรกรภูมิใจและดีใจเป็นอย่างมากที่ได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือผลักดันไปในทิศทางที่ดีสามารถทำได้ และได้ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามา ร่วมแก้ไขปัญหาและหาทางออกร่วมกันกับชุมชน เกษตรกรมีแค่องค์ความรู้เดิมที่ติดตัวและคุ้นเคยมาตั้งแต่อดีต  เมื่อได้รับการศึกษาในเรื่องใหม่ และเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง เพียงเพราะอยากให้พื้นที่แห่งนี้เกิดการพัฒนาและสร้างความตระหนักให้คนรุ่นหลังเห็นถึงคุณค่าในวิถีเกษตร โมเดลนี้จะเป็นการสืบทอดของคนยุคใหม่