ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน เครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าร่วมเสวนาบทเวที ”The Cost of Decarbonization” หรือ ต้นทุนการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ซึ่งจัดโดยนิตยสารธุรกิจชั้นนำของโลก The Economist ในงานสัมมนาออนไลน์ Sustainability Week Asia 2022

14 กุมภาพันธ์ 2565 – คุณนพปฎล เดชอุดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน เครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าร่วมเสวนาบทเวที ”The Cost of Decarbonization” หรือ ต้นทุนการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ซึ่งจัดโดยนิตยสารธุรกิจชั้นนำของโลก The Economist ในงานสัมมนาออนไลน์ Sustainability Week Asia  2022 ซึ่งการเสวนานี้หารือถึงการทำงานร่วมกันของประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หารือถึงความท้าทายและโอกาสในการไปถึงเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้เหลือสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 พร้อมกันนี้ มีผู้บริหารจากธุรกิจและองค์กรชั้นนำของโลก ร่วมเสวนา ดำเนินรายการโดยคุณเมลานี โนโรฮา ผู้จัดการอาวุโสงานโยบายและข้อมูล Economist Impact

ในการเสวนาดังกล่าว คุณนพปฎลได้นำเสนอประสบการณ์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และระบบAutomation มาพัฒนากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบ การเพาะปลูก การปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์น้ำ จนถึงการแปรรูปและจัดจำหน่าย เพื่อลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งการเก้ไขและปรับตัวรองรับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Resilience) เป็นหนึ่งในประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ได้ตั้งเป้าหมายในการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี 2030 สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจการของตนเอง (Scope 1) และจากการใช้ไฟฟ้า (Scope 2) และจะขยายขอบเขตรวมถึงก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Scope 3) บรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050

นอกจากคุณนพปฎล ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคธุรกิจไทยแล้ว การเสวนาในครั้งนี้ยังมีคุณคริส สตีเฟน ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของ Carbon Trust สหราชอาณาจักร คุณรีเบกก้า จิงส์ ห้วหน้าเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท Cushman & Wakefield จำกัด และคุณราจัต คุปตะ หุ้นส่วนอาวุโสจากบริษัทที่ปรึกษา McKinsey & Company ร่วมแบ่งปันข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะถึงภาครัฐและภาคธุรกิจ ในการร่วมขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไปสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกให้เหลือสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050

 

C.P. Group’s Chief Sustainability Officer joins The Economist’s panel on “The Cost of Decarbonization” for Sustainability Week Asia 2022, speaking about the challenges and opportunities in the Group’s journey towards carbon neutrality and net zero.

February 14th, 2022 Sustainability Week Asia is an event hosted by the leading business magazine The Economist, which brings together important figures from Asia’s public and private sectors to discuss important issues relating to sustainability, with this year’s event taking place between February 14 to 17.

Mr. Noppadol Dej-Udom, Chareon Pokphand Group’s Chief Sustainability Officer, took part in a panel titled “The Cost of Decarbonization,” highlighting C.P. Group’s progress in leveraging digital and automation technologies in the food & agriculture sector, reducing greenhouse gas emissions building climate resilience throughout the value chain. Mr. Noppadol emphasized C.P. Group’s target to become carbon neutral in Scope 1 emissions (from owned or controlled sources) and Scope 2 emissions (from generation of electricity used) by 2030, and finally expand to include Scope 3 emissions (indirect emissions within the value chain) by 2050 to achieve net zero.

In addition to Mr. Noppadol, the panel also included other figures such as Chris Stephens, the Director of Carbon Trust Asia; Rebecca Jinks, Head of Sustainability and ESG in Asia-Pacific of Cushman & Wakefield; and Rajat Gupta, Senior partner and leader of sustainability in Asia of McKinsey and was moderated by Melanie Noronha of Economist Impact. Together, the panelists contributed their unique perspectives from multiple industries, providing valuable insights into the difficult journey towards the global goal of net zero by 2050.