หมูเถื่อนทะลัก 135 บาท/กก. ร้านอาหาร-หมูกระทะแห่ซื้อ / สถิติ BOI ครึ่งปีแรกลงทุน 2.19 แสนล้าน หดตัว 42% เพิ่ม 4 กิจการใหม่

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

เศรษฐกิจในประเทศ

หมูเถื่อนทะลัก 135 บาท/กก. ร้านอาหาร-หมูกระทะแห่ซื้อ

  • ช่วงที่ผ่านมาราคาหมูชำแหละได้ลดต่ำลงอย่างไม่มีสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่การเลี้ยงหมูยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ASF จนพบว่า ปัจจุบันเกิดกระบวนการ “ลักลอบ” นำเข้าหมูชำแหละและเครื่องในเถื่อนจากต่างประเทศ ราคาต่ำประมาณ กก.ละ 135-145 บาท พบเข้ามาทางท่าเรือแหลมฉบัง เรือประมงและด่านชายแดนในภาคใต้
  • ตอนนี้เกษตรกรขายหมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม 104-110 บาท/กก. เมื่อซื้อหมูมาเข้าโรงเชือด จะมีต้นทุนค่าเชือดประมาณ 200-210 บาท ซึ่งในหมู 1 ตัว มีเนื้อแดงเพียง 50-55% ที่เหลือเป็นเครื่องใน ขณะที่ราคาหมูเนื้อแดงในตลาดขายเฉลี่ยประมาณ 170-230 บาท/กก. ดังนั้นการที่โรงเชือดซื้อหมูเนื้อแดงเถื่อนมาสวมใบอนุญาตจึงได้กำไรดีกว่า ไม่ต้องถัวเฉลี่ยราคาเครื่องในที่ขายได้ในราคาต่ำ(ข่าว : กรุงเทพธุรกิจ)

ธุรกิจเทคโนโลยีและเอนเตอร์เทนเม้น

สถิติ BOI ครึ่งปีแรกลงทุน 2.19 แสนล้าน หดตัว 42% เพิ่ม 4 กิจการใหม่

  • สถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย. 2565) มีโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุน 784 โครงการ มูลค่ารวม 219,710 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 42% ส่วนคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) มีจำนวน 358 โครงการ คิดเป็น 46% ของโครงการทั้งหมด และมีมูลค่า คิดเป็น 70% ของทั้งหมด
  • บอร์ด BOI ให้เพิ่มการผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 4 ประเภท1.กิจการผลิตเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง 2.กิจการซ่อมแซมเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง 3.กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (Additive Manufacturing) 4.กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไมโครเทคโนโลยีในการผลิต (ข่าว :ประชาชาติธุรกิจ)

ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า

CPN-ปตท.-อีโวลท์” ลงทุนกว่า 200 ล้าน ขยายที่ชาร์จรถอีวีในศูนย์เซ็นทรัล

  • เซ็นทรัลพัฒนาจับมือกลุ่ม ปตท.ภายใต้แบรนด์ ออน-ไอออน (on-ion) ลงทุนกว่า 200 ล้านบาท ขยายบริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (on-ion EV Charging Station) ในศูนย์การค้าของเซ็นทรัลพัฒนากว่า 350 ช่องจอด ใน 37 สาขา นอกจากนี้ยังเสริมทัพด้วย บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด ขยายสถานีกว่า 50 ช่องจอด รวม 400 ช่องจอด ภายในสิ้นปี 2565 นี้ (ข่าว: บางกอกโพสต์ )