โรงฟักไข่อินเดียทำตัวเลขส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ / รัฐบาลจีนเข้าถือหุ้นบริษัทเทคโนโลยี ชั้นนำผ่านกลไก Golden Shares / “โนเกีย” จับมือ “ซัมซุง” ลงนามข้อตกลงสิทธิบัตร 5G ฉบับใหม่

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

ธุรกิจอินเดีย

โรงฟักไข่อินเดียทำตัวเลขส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์

  • อินเดียเตรียมส่งออกไข่ไก่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 50 ล้านฟองในเดือนนี้ โดยได้แรงหนุนจากการขายไปยังมาเลเซีย ซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนอย่างรุนแรง เนื่องจากราคาอาหารสัตว์ที่พุ่งสูงขึ้นจากสงครามยูเครนทำให้เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากต้องลดการผลิตลง
  • ประเทศในตะวันออกกลาง รวมถึงโอมานและกาตาร์ เป็นผู้ซื้อไข่หลักจากอินเดีย แต่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โรงฟักไข่ของอินเดียได้รับคำสั่งซื้อจำนวนมาก เนื่องจากผู้ผลิตชั้นนำของโลกบางรายมีผลผลิตลดลง  คำสั่งซื้อที่คาดไม่ถึงครั้งใหญ่ที่สุดมาจากมาเลเซีย ซึ่งเคยส่งออกไข่ไปยังสิงคโปร์และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย
  • ประเทศอย่างสิงคโปร์และศรีลังกาอาจอยู่ในลำดับถัดไปที่จะซื้อจากอินเดียในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า (ซีเอ็นบีซี)

ธุรกิจเทคโนโลยีจีน

รัฐบาลจีนเข้าถือหุ้นบริษัทเทคโนโลยี ชั้นนำผ่านกลไก Golden Shares

  • รัฐบาลจีนได้เข้าถือครองหุ้นของ Alibaba รวมถึง Tencent ผ่านกลไก Golden Shares ซึ่งจะทำให้มีสัดส่วนในการถือหุ้นบริษัทเหล่านี้ราว 1% แต่มีสิทธิ์ในการควบคุมทิศทางของบริษัทเหล่านี้ว่าจะไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางที่รัฐบาลจีนได้วางไว้
  • การปราบปรามที่ว่านี้ได้เป็นการบั่นทอนโอกาสจากการลงทุนของต่างประเทศ และทำให้ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทเทคโนโลยีจากประเทศจีนต้องอ่อนแอลงไป ดังนั้นแล้วการเปลี่ยนแนวทางให้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยรัฐบาลจีนเป็นทางออกที่ดีกว่า
  • รัฐบาลยังได้เข้าถือหุ้นจำนวนเล็กน้อยในบริษัท Weibo และ ByteDance บริษัทแม่ของTikTok เพื่อทำให้รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการธุรกิจของบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีนมากขึ้น (theguardian)

ธุรกิจโทรคมนาคม

“โนเกีย” จับมือ “ซัมซุง” ลงนามข้อตกลงสิทธิบัตร 5G ฉบับใหม่

  • ข้อตกลงฉบับใหม่นี้ มีขึ้นหลังจากที่หมดสัญญาฉบับก่อนเมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อออกใบอนุญาตสิทธิบัตรซึ่งครอบคลุมถึงสิ่งประดิษฐ์พื้นฐานใน 5G และเทคโนโลยีอื่นๆ ให้กับบริษัทซัมซุง
  • สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การออกใบอนุญาตมีความสำคัญมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสำหรับโนเกีย นับตั้งแต่หยุดผลิตโทรศัพท์ และมุ่งเน้นไปที่อุปกรณ์เครือข่าย และทรัพย์สินทางปัญญาแทน
  • นอกจากนี้ในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว โนเกีย ได้ขยายข้อตกลงการอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรกับบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี่ และยังไม่ได้บรรลุข้อตกลงกับผู้ผลิตโทรศัพท์จีนอีกสองราย ได้แก่ ออปโป้ และวีโว่ (กรุงเทพธุรกิจ)