สหรัฐเปิดเวทีเอเปคสานต่อเป้ากรุงเทพ BCG สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน / หอการค้าฯ มอง MOU 8 พรรคสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกฝ่าย / ยานยนต์ไฟฟ้าโลกแข่งดุเดือด ปักหมุดอาเซียนพัฒนาแบต

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

เศรษฐกิจโลก

สหรัฐเปิดเวทีเอเปคสานต่อเป้ากรุงเทพ BCG สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

  • เอเปคเป็นกรอบความร่วมมือของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วยสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ โดยไทยนำเข้าจากกลุ่มเอเปค มูลค่า 7.2 ล้านล้านบาท
  • หลายประเด็นที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคเมื่อปีที่ผ่านมาจะถูกสานต่อโดยสหรัฐเจ้าภาพในปีนี้ ตามเป้าหมายกรุงเทพฯ ในด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG)
  • โดยในปีนี้ สหรัฐ ได้จัดทำ “วาระ มาโนอา” เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจเอเปคมีการดำเนินงานตามเป้าหมายกรุงเทพฯ อย่างเป็นรูปแบบโดยเฉพาะความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของโลก รวมถึงสนับสนุนการจัดเก็บขยะในทะเลของเอเปค (กรุงเทพธุรกิจ)

การเมืองไทย

หอการค้าฯ มอง MOU 8 พรรคสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกฝ่าย

  • หอการค้าฯ มอง 8 พรรคการเมือง ลงนาม MOUจัดตั้งรัฐบาลเป็นสัญญาณบวกในการขับเคลื่อนประเทศ เชื่อช่วยโน้มน้าวให้ ส.ส. และ ส.ว. บางส่วนให้การสนับสนุนเพิ่มเติมจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้
  • สิ่งสำคัญที่ภาคเอกชนจับตามองจากนี้คือการจัดตั้งรัฐบาลที่ไม่ยืดเยื้อขับเคลื่อนในเชิงนโยบายและการปฏิบัติได้จริงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเร่งจัดทำงบประมาณประจำปี ผ่าน 3 มิติ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
  • หอการค้าฯ มองว่า 313 เสียง จาก 8 พรรค ตอนนี้จุดแข็งคือมีเสียงข้างมากในสภา ขณะเดียวกันจุดอ่อนก็คงยังเป็นความไม่แน่นอนว่าจะจัดตั้งรัฐบาล
  • 5 แนวทางบริหารประเทศ เชื่อว่าส่วนนี้จะเป็นการวางกรอบการทำงานของแต่ละพรรคการเมืองผ่านฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (เดอะแสตนดาร์ด)

เทคโนโลยี

ยานยนต์ไฟฟ้าโลกแข่งดุเดือด ปักหมุดอาเซียนพัฒนาแบต

  • ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำต่างเร่งพัฒนาความเชี่ยวชาญภายในบริษัทด้วยชุดไมโครชิป แทนที่จะพึ่งพาซัพพลายเออร์
  • ปัจจัยท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมอีวีสูงสุดคือเทคโนโลยี โดย ในปี้ยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนของความต้องการรวมถึง AI คลาวด์คอมพิวติ้ง และ 5G 6G ที่มาแย่งการใช้ชิปทำให้โรงงานชิปผลิตจนถึงความจุสูงสุด
  • ราคาวัตถุดิบแบตเตอรี่ดีดตัวขึ้น อย่างราคานิเกิลที่สูงขึ้น ดันให้อินโดนีเซียเร่งหาแหล่งแร่ให้มากขึ้น จนทำให้อินโดนีเซียเลื่อนชั้นมาเป็นซัพพลายแร่หายากแทนจีนแล้ว
  • ปัจจุบันมี 188 โรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ครอบคลุมทั่วโลก โดยมี 131 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 107 ในจีน (กรุงเทพธุรกิจ)