เสียงสะท้อนชุมชนบางหญ้าแพรก… ขอบคุณ CPF ร่วมขับเคลื่อนการอนุรักษ์ป่าชายเลนยั่งยืน

คุณ”ชัชวาล ชาวสมุทร” หรือ น้าหนุ่ย ชาวบ้าน ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร อาชีพต่อเรือประมงจำลอง หนึ่งในคณะกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลน ในโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ให้สัมภาษณ์ในรายการสภาชาวบ้าน วิทยุรัฐสภา
คลื่น FM 87.5 ประเด็นการมีส่วนร่วมของชุมชน อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน โดยมี ผศ.ดร.ธีรภัทร์ ลอยวิรัตน์อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ร่วมพูดคุย
น้าหนุ่ย เล่าว่า ชุมชนบางหญ้าแพรกมีความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนมาหลายปีแล้ว เพื่อปกป้องความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน แก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิกฤตน้ำท่วมปี 2554 ทำให้ป่าชายเลนได้รับผลกระทบชัดเจน แนวชายป่าถูกทำลาย จนกระทั่งปี 2557 ภาครัฐ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ภาคเอกชน คือ CPF ทำโครงการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ เป็นจังหวะที่ดีที่ชุมชนได้ใช้ประสบการณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน โดยมี CPF สนับสนุนงบประมาณ ภาครัฐเป็นตัวประสานกำหนดพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟู ทั้ง 3 ฝ่าย บูรณาการการทำงานปลูกป่าให้ได้ผลยั่งยืนและเกิดสัมฤทธิ์ผล ภายใต้โครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ซึ่ง CPF ได้ต่อยอดจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วย
น้าหนุ่ย ถ่ายทอดประสบการณ์และขั้นตอนการทำงานร่วมกัน 3 ประสาน ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าจนเกิดผลสัมฤทธิ์ สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าที่ปลูกใหม่ ในพื้นที่ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาครได้ 104 ไร่ ในช่วง 5 ปี (ปี 2557-2561) ว่า ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ทำแผนร่วมกัน ต้องขอบคุณ CPF ที่เป็นแม่งาน นำประสบการณ์การบริหารจัดการเรื่องต่างๆ มาใช้ ชาวบ้านเองก็มีประสบการณ์ในการปลูกป่า ภาครัฐมีองค์ความรู้ทางวิชาการ แม้ว่าในช่วง 2 ปีแรก (ปี 2557-2558) ของโครงการ ยังไม่สัมฤทธิ์เท่าไหร่นัก ตอนหลังพอมีเครือข่ายมากขึ้น นำองค์ความรู้ของชาวบ้านมาใช้เต็มที่ เช่น การกั้นอวน ป้องกันกล้าไม้ที่ปลูกป่า ซ่อมแซม ดูแลรักษา ทำให้ในปีที่ 3-5 (ปี 2559-2561) เห็นผลชัดเจน ในปีที่ 3 อัตรารอดของต้นไม้ที่ปลูกอยู่ที่ 80% และจากเป้าหมายปลูกป่า 5 ปี ได้พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มเติมตามเป้าหมาย 104 ไร่ จากการที่เราร่วมมือกันทำจริงจัง ได้ป่าเพิ่มมากขึ้น สัตว์น้ำวัยอ่อน กุ้ง หอย ปู ปลา มีที่อยู่อาศัย กลายเป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน
ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด มีหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาทำกิจกรรมปลูกป่าในพื้นที่เดือนละหลายครั้ง เพราะชุมชนเราเป็นชุมชนท่องเที่ยว ซึ่งต่อยอดมาจากการปลูกป่า เรามีแนวคิดว่าถ้าให้ชาวบ้านปลูกป่าอย่างเดียวอาจไม่มีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง เรามีของดีเยอะแยะ จึงขอให้ CPF พาไปศึกษาดูงานหลายที่ เพื่อกลับมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของชุมชน ทำฐานการเรียนรู้ 5-6 ฐาน อาทิ ฐานป่าชายเลน ฐานเกลือสปา สถานีพัฒนาอาชีพ ฐานประดิษฐ์เรือประมงจำลองบาง
หญ้าแพรก ฯลฯ เพื่อต่อยอด ในแต่ละฐานเราสร้างเครือข่ายชุมชนให้มีส่วนร่วมว่าเรามีป่าแล้วได้ประโยชน์อะไรเพิ่มเติมนอกจากได้ป่า
“อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์โควิด แม้ว่ากิจกรรมปลูกป่าโดยหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่จะหยุด การท่องเที่ยวที่ชะงักลง แต่ชาวบ้านไม่ได้หยุดปลูกป่า อย่างไรก็ตาม การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ต้องใช้ทุนในการเพาะกล้าไม้ เสริมรั้วเพื่อกันคลื่นและขยะ ซึ่งในแต่ละปีใช้เงินจำนวนมาก ต้องขอบคุณ CPF ที่เป็นตัวจักรประคองให้การอนุรักษ์ป่าของเราอยู่รอดอย่างยั่งยืน” น้าหนุ่ย กล่าว
ความร่วมมือ 3 ประสาน โดยชุมชนบางหญ้าแพรก ภาครัฐ และ CPF ในการดำเนินโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ระยะที่หนึ่ง (ปี 2557-2561) สามารถอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน พื้นที่ ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร รวม 604 ไร่ และในระยะที่สอง (ปี 2562-2566) ปลูกป่าเพิ่มเติมไปแล้ว 100 ไร่ จากเป้าหมายปลูกป่าใหม่ 266 ไร่
Cr.PR CPF