ซีพีเอฟ ประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนศักยภาพทุนมนุษย์ เปลี่ยนผ่านยุคเศรษฐกิจสังคม 5.0 ปลุกศักยภาพคนตลอดห่วงโซ่อุปทาน บนเวทีประชุมผู้นำความยั่งยืน GCNT Forum 2023

นางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ
คุณกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ

ซีพีเอฟ ในฐานะหนึ่งในสมาชิกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand) ร่วมประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือในการขับเคลื่อนศักยภาพทุนมนุษย์ เปลี่ยนผ่านยุคเศรษฐกิจสังคม 5.0 ในงานประชุมผู้นำความยั่งยืนประจำปี GCNT Forum 2023 “Partnership for Human capital 5.0 towards Sustainable Intelligence-Based Society” เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อแสวงหาวิธีการที่จะช่วยให้ผู้นำธุรกิจสามารถช่วยกันพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจและประเทศ สร้างสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

คุณกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ เป็นตัวแทนซีพีเอฟ เข้าร่วมงาน พร้อมทั้งร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ “ปลุกศักยภาพคนรับการเปลี่ยนแปลงตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Building Supply Chain Resilience)” กล่าวว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนตลอดห่วงโซ่อุปทาน เราดำเนินธุรกิจอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ผลิตอาหารให้กับผู้บริโภคทั่วโลก มีความเกี่ยวข้องกับคนที่เป็นฐานรากที่สำคัญของประเทศ

ปัจจุบันบริษัทมีการลงทุนใน 15 ประเทศ และร่วมลงทุนในอีก 2 ประเทศ ทั้งหมด 17 ประเทศ คนเกี่ยวข้องมีทั้งภายในและทั่วโลก เรามีพนักงานมากกว่า 1.3 แสนคน และซัพพลายเชน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้เพาะปลูกพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ในหลายประเทศ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ รวมไปถึงการจัดซื้อซึ่งเรามีซัพพลายเออร์ที่เป็นเอสเอ็มอี ดังนั้น สิ่งที่จะเกิดความยั่งยืนได้ ต้องมองทุกมุมและในทุกมิติของคนที่เกี่ยวข้องว่าเราจะเดินหน้าไปด้วยกันอย่างไร บนเป้าหมายเดียวกัน

สิ่งหนึ่งที่เห็นคือ พัฒนาการด้านความยั่งยืนที่ไปไกล เราต้องทำให้คนใน เข้าใจมิติความยั่งยืนในทิศทางเดียวกัน เช่น เป้าหมาย Net-Zero คืออะไร จะเข้าสู่ Net-Zero อย่างไร และมีความเข้าใจเส้นทางที่จะเดินไปด้วยกัน เช่น เราจะทำรีไซเคิลอย่างไร การสร้างคุณค่าจากวัสดุเหลือใช้ (Waste to value) ฯลฯ เพื่อขับเคลื่อนอย่างมีพลังร่วมกัน และทำความเข้าใจกับซัพพลายเชนในทุกจุดที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะก้าวเดินไปพร้อมๆกัน

นางกอบบุญกล่าวต่อว่า ภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน (Value Chain) ของซีพีเอฟ เริ่มจากธุรกิจอาหารสัตว์ นอกจากการขายอาหารสัตว์ให้เกษตรกรแล้ว ยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงสัตว์ที่ให้ความรู้กับเกษตรกรด้วยว่าจะเลี้ยงส้ตว์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ เพื่อที่จะเติบโตไปพร้อม ๆ กัน เกษตรกรใช้อาหารสัตว์ของเรา ได้ความรู้เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ได้ผลผลิตที่ดี ได้กำไรที่ดี ในกระบวนการเลี้ยงสัตว์

เรามีโครงการคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง เกษตรกรเป็น Partnership ในการเติบโต โดยที่เราถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร เพื่อไปสู่การเป็นเกษตรอัจฉริยะ สมาร์ทฟาร์ม กรีนฟาร์ม การทำระบบไบโอแมส (Biomass) จากมูลสุกร ที่ซีพีเอฟทำมานานเกือบ 20 ปีแล้ว ลองผิด ลองถูกจนประสบความสำเร็จ ช่วยประหยัดการใช้ไฟฟ้าในฟาร์ม ช่วยลดโลกร้อนก่อนที่จะมี Net-Zero รวมไปถึงในขั้นตอนของการจัดซื้อ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เรายึดแนวทาง “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” ร่วมพัฒนาเกษตรกรในห่วงโซ่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เติบโตไปด้วยกัน

“เราใช้เวลามากกว่า 10 ปี เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชั่น ฟ.ฟาร์ม (For Farm) ขึ้นช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรไทยในการลงทะเบียนยืนยันตัวตนและพื้นที่ปลูก เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดในประเทศไทย ใช้แอปพลิเคชั่น่ ฟ.ฟาร์มของเรา มีการให้ความรู้แก่เกษตรกร มีผู้เชี่ยวชาญไปให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดโลกร้อนไปด้วยกัน และเราพัฒนาระบบที่ใช้ตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถตรวจสอบถึงแหล่งปลูกที่มีเอกสารสิทธิได้ 100% นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ สะท้อนความโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่น”

อย่างไรก็ตามการมุ่งสู่เป้าหมายความยั่งยืนเราพยายามสร้างการมีส่วนร่วมของคนในและคนรอบตัว เพื่อเห็นว่าทุกสิ่งที่เราทำเพื่อไปสู่ความยั่งยืน ถ้าลดโลกร้อนได้ ทุกคนก็จะมีชีวิตที่สุขสบายขึ้น

ที่มา PR CPF