“CPF ชูกลยุทธ์ความยั่งยืน 3 เสาหลัก” ขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

CPF ร่วมกับภาคีเครือข่ายความยั่งยืน จัดงาน Thailand Sustainability Expo 2021 ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด Shaping in Action โดยจะจัดงานในเดือนตุลาคมนี้ หนึ่งในกิจกรรมสำคัญของงาน คือ Waste Hero Award Class#4 การประกวดผลงานในการจัดการของเสีย เพื่อสร้างธุรกิจที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ SMEs
คุณศิรภัสสร สกุลวิวรรธน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หน่วยงานความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน CPF เป็นผู้แทนบริษัทฯ เสนอแนวคิดการต่อยอดนวัตกรรมและการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในหัวข้อ “CPF การขับเคลื่อนความมั่นคงในระบบอาหารที่ยั่งยืน” เน้นย้ำการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและใส่ใจสมดุลสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืนใหม่ 3 เสาหลัก ประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดิน น้ำ ป่า คงอยู่ เพราะการผลิตอาหารมั่นคงมาจากความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม
CPF ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Loss and Food Waste) ในขบวนการผลิต การขนส่ง และธุรกิจค้าปลีกของบริษัทฯ ตั้งแต่ต้นทางการผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มปศุสัตว์และการผลิตอาหาร ตลอดจนคำนึงถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์อาหาร โดยเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์พลาสติกของ CPF เป็นพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ และย่อยสลายได้สูงถึง 99.5% เพื่อลดผลกระทบของขยะพลาสติกต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขยะพลาสติกในทะเล โดย 10% เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร เช่น หลอด ขวดน้ำ และกล่องใส่อาหาร เป็นต้น
คุณศิรภัสสร กล่าวว่า บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารสู่หลุมฝังกลบเหลือศูนย์ ในปี 2573 ดังนี้
✅ ”ลด” ปริมาณการสูญเสียในกระบวนการผลิต และขยะอาหารในธุรกิจค้าปลีกและส่งเสริมการบริโภคอย่างรู้ค่า
✅ “เพิ่ม” มูลค่าให้กับกับอาหารส่วนเกิน ด้วยการนำไปปรุงเป็นอาหารมื้อพิเศษสร้างคุณค่าให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคม เช่น โครงการ Circular Meal…มื้อนี้เปลี่ยนโลก
✅ “เริ่ม” คิดค้นนวัตกรรม เช่น การนำเทคโนโลยีฟังเสียงกุ้งกินอาหารมาใช้ เพื่อให้อาหารกุ้งแต่เพียงพอไม่เหลือเป็นขยะอาหารในบ่อ ซึ่งมีผลต่อต้นทุนและช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่
✅ “สร้าง” ภาคีเครือข่ายความร่วมมือตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อลด food waste
CPF ยังส่งเสริมให้มีการสร้างแหล่งอาหารในชุมชน เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ผ่านโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ให้นักเรียนมีไข่ไก่เป็นอาหารกลางวัน ส่วนที่เหลือขายให้กับชุมชน ซึ่งนักเรียนสามารถนำทักษะนี้ไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 โครงการนี้ กลายเป็นแหล่งอาหารให้ชุมชนบริโภคได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่ยั่งยืน’
Cr.PR CPF