เครือเจริญโภคภัณฑ์จัดการประชุมคณะทำงานสื่อสารองค์กร ร่วมระดมความคิดกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพการสื่อสาร หารือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน พร้อมนำเสนอโครงการ CSR และแนวทางการสื่อสารเรื่องความดี สู่มิติใหม่เพื่อการสื่อสารองค์กรที่ยั่งยืน

เมื่อ วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 – ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรและการพัฒนากลยุทธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือฯ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานสื่อสารองค์กรเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีผู้บริหารระดับสูงด้านการสื่อสารจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในเครือฯ เข้าร่วมการประชุม อาทิ ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร ผู้ช่วยบริหารประธานคณะผู้บริหารและรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและสื่อสารองค์กร เครือฯ คุณศศิเพ็ญ ไตรโสภณ รองกรรมการผู้จัดการ สำนักยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือฯ คุณวีระนนท์ ฟูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร เครือฯ คุณพรรณินี นันทพานิช รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ ซีพีเอฟ คุณศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า ดร.อภิรักษ์ เดชวรสิทธิ ผู้อำนวยการอาวุโส  สายงานกลยุทธ์และสนับสนุนธุรกิจ โลตัส คุณอัมภาพันธุ์ พยัคฆ์แสง ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ซีพี ออลล์ คุณชนกพิมพ์ สุริยจันทร์ ผู้แทนด้านสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์การตลาด ทรู คอร์ปอเรชั่น คุณเทียนชัย จูพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการ สำนักสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ เครือฯ คุณชัญญรัช พีราวัชร ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส ด้านกลยุทธ์และความยั่งยืน ซีพีแรม รวมถึงเพื่อน ๆ พี่น้องที่ทำงานด้านสื่อสารองค์กรจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ร่วมประชุม ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค

ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรและการพัฒนากลยุทธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือฯ กล่าวว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์มียุทธศาสตร์หลักในการสื่อสารคือ 6 ค่านิยมขององค์กร ได้แก่ 3 ประโยชน์, ทำเร็วและมีคุณภาพ, ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย, ยอมรับการเปลี่ยนแปลง, สร้างสรรค์สิ่งใหม่, คุณธรรมและความซื่อสัตย์ โดยเน้นย้ำให้ทุกองค์กรควรนำทั้ง 6 ข้อค่านิยมนี้ไปสื่อสารให้ถึงพนักงานในทุกระดับ และชี้ว่าทุกหน่วยงานต้องมีตัวชี้วัดที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสื่อสารเรื่องความจริงความดีของเครือและกลุ่มธุรกิจได้ดำเนินการออกไปสู่สังคม พร้อมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนออกมาสู่ตลาดเพื่อสร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้แก่สังคม เพื่อเป็นแนวทางสู่อนาคตอีก 100 ปีข้างหน้าของเครือเจริญโภคภัณฑ์

นอกจากนี้ยังมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดียจาก บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้าน SOCIAL MEDIA SPRINGBOARD ทำ Content Marketing อย่างไรให้ถูกจดจำ พร้อมวิธีการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้เพื่อน ๆ พี่น้องที่ทำงานด้านสื่อสารองค์กรจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ได้รับฟังแนวทางการสื่อสารองค์กรของเครือฯ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของงานด้านสื่อสารองค์กรของเครือฯ

ถัดมาในหัวข้อของผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน คุณสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน เครือซีพี ได้นำเสนอประเด็นเพื่อพิจารณาใช้เกณฑ์ประเมิน Product Stewardship ของ DJSI เป็นกรอบการพัฒนา Sustainable Products ของเครือฯ ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่

  • วัตถุดิบ (RAW MATERIALS) : คำนึงถึงที่มาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
  • การประเมินวิเคราะห์วัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LIFE CYCLE ASSESSMENT) : การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การดึงวัตถุดิบ การผลิต การใช้งาน การกำจัด
  • ประโยชน์ด้านประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของผลิตภัณฑ์ (RESOURCE EFFICIENCY BENEFITS OF PRODUCTS) : การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรน้อยลง ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • ความมุ่งมั่นในการลดสารอันตราย (HAZARDOUS SUBSTANCE COMMITMENT) : การลดหรือเลี่ยงการใช้สารอันตรายในกระบวนการผลิต
  • ความรับผิดชอบปลายวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (END OF LIFE CYCLE RESPONSIBILITY) : การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ง่าย
  • ฉลากและประกาศนียบัตรด้านสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENTAL LABELS & DECLARATION) : การแสดงข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์อย่างโปร่งใส

ก่อนจะปิดท้ายที่การนำเสนอโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมจากกลุ่มธุรกิจในเครือฯ ต่างๆ ดังนี้

ซีพีเอฟ ได้นำหลักการ 3 ประโยชน์มาประยุกต์ใช้กับโครงการต่างๆ โดยซีพีเอฟได้จัดทำกิจกรรมเพื่อสังคมหลายอย่าง อาทิ โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน และการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นสาร์ตฟาร์มเพื่อยกระดับเกษตรกรไทย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ซีพีออลล์ นำเสนอโครงการความดี 27 ชั่วโมงเพื่อเป็นสิ่งสะท้อนว่าซีพีออลล์และเซเว่นอีเลฟเว่นเคียงคู่ชุมชน จนเกิดเป็นเคสการทำความดีมากมายจากพนักงานช่วยเหลือประชาชนต่างๆ พร้อมมีการสื่อสารผ่านช่องทางภายในองค์กรและภายนอกไปพร้อมกัน ให้เกิดการรับรู้และสร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงาน และองค์กร

ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ผสานเป้าหมายความยั่งยืนของเครือฯ เข้ากับการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางดิจิทัลและการศึกษา โดยได้นำเสนอผ่านโครงการคอนเน็กซ์อีดี, ทรูปลูกปัญญา, สามเณรปลูกปัญญา และยังทำงานร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทยมา 11 ปี เพื่อยืนยันความเป็นองค์กรโทรคมนาคมที่ยั่งยืนที่สุดในโลก 6 ปีซ้อน

ซีพีแอ็กซ์ตร้า (แม็คโคร – โลตัส) ได้นำเสนอโครงการมิตรแท้โชห่วยที่ดำเนินการมาเป็นเวลานาน พร้อมกับโครงการอื่นๆ อย่างคูณค่า, 60 ยังแจ๋ว, กินได้ไม่ทิ้งกัน และอาหารดีพี่ให้น้อง พร้อมทั้งดึงภาครัฐและหน่วยงานสำคัญต่างๆ มามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเป้าหมายโครงการอีกด้วย

ซีพีแรม ชูการผลักดันคนดีคนเก่งผ่านโครงการ “ความดีคู่ความเก่ง” และยังสนับสนุนเรื่องทุนการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษาปัญญาภิวัฒน์เพื่อผลักดันให้เยาวชนไทยมีการศึกษาที่ดี พร้อมโครงการ “แสนกล้าสู่แสนต้น” เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวให้กับสังคม

ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าวตราฉัตร ได้จัดทำสมุดการสรุปกิจกรรมเพื่อสังคม ประจำปี 2566 ของธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีเนื้อหาถึงการช่วยเหลือสังคมในมิติรอบด้าน และคงไว้ซึ่งความสำนึกในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

โดยตลอดงานเป็นไปด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น ผ่านการการรวมพลังระดมความคิดของคณะทำงานด้านการสื่อสารของทุกกลุ่มธุรกิจที่พร้อมจะก้าวสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรยั่งยืนและนวัตกรรม ซึ่งกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ จะต้องนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน