เครือซีพี พร้อมกลุ่มธุรกิจในเครือฯ ร่วมแสดงพลังประกาศจุดยืนต้านโกงทุกรูปแบบ ในวันต่อต้านคอร์รัปชัน ประจำปี 2566 จับมือภาครัฐ-ประชาสังคม กระตุ้นทุกภาคส่วนร่วมขจัดคอร์รัปชันภัยร้ายแรงของประเทศไทย

เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และกลุ่มธุรกิจของเครือฯ เข้าร่วมแสดงพลังประกาศจุดยืนร่วมต้านการทุจริตในทุกรูปแบบเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันแห่งชาติ ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “WHAT THE FACT?” ค้นหาความจริง-ใจในการต่อต้านคอร์รัปชัน จัดโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT เพื่อแสดงพลังคนไทยต่อต้านคอร์รัปชัน พร้อมส่งเสียงถึงรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของ คุณเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โดยมี คุณวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเวทีข้อเสนอจาก ACT ถึงรัฐบาลใหม่  ซึ่งในปีนี้มีผู้บริหารและพนักงานจากกลุ่มธุรกิจในเครือฯ เข้าร่วมแสดงพลังเชิงสัญลักษณ์ต้านคอร์รัปชันกว่า 300 คน ประกอบด้วย  เครือเจริญโภคภัณฑ์  เจียไต๋  ซีพีเอฟ ซีพี ออลล์ กลุ่มทรู ซีพี แอ็กซ์ตร้า กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ ซีพีพีซี (กลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์) บมจ.ซีพีแลนด์ เอเชีย เอรา วัน สถาบันพัฒนาผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ออลล์ นาว โลจิสติกส์ ซีพี โฟตอน ทรูมันนี่ เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม สยามแลนด์ ฟลายอิ้ง และซีพีเอฟซี เพื่อหวังกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเกิดความตื่นตัว และไม่ยอมรับการโกงทุกรูปแบบร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมและสถาบันการศึกษา ที่มาร่วมแสดงพลังเชิงสัญลักษณ์ประกาศจุดยืนต้านโกงกันอย่างคับคั่ง  ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์  หรือ สถานีกลางบางซื่อ รวมถึง

คุณรงค์รุจา สายเชื้อ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านธรรมาภิบาล สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์  กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มบริษัทในเครือฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งมีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ ผู้บริหารและพนักงานในทุกกลุ่มธุรกิจจึงต้องตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินธุรกิจด้วยการยึดมั่นในหลักคุณธรรมและความซื่อสัตย์ รวมถึงค่านิยม 3 ประโยชน์ ซึ่งการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันเป็นการสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ค่านิยมองค์กรทั้ง 2 ข้อนี้ เครือซีพี ถือปฏิบัติมาตลอดกว่าหนึ่งศตวรรษ โดยเครือซีพีภายใต้การนำของซีอีโอศุภชัย เจียรวนนนท์ จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำธุรกิจที่ต้องเป็นธรรมและโปร่งใส่ พร้อมต่อต้านคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ (Zero Tolerance) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และมีความตั้งใจที่จะยกระดับแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความไว้วางใจและประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า

คุณรงค์รุจา กล่าวต่ออีกว่า เครือซีพีได้มีการจัดทำและเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านการทุจริต เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายว่าเครือฯ มีมาตรการในการป้องกันและคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ นอกจากนี้ได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร เพื่อให้สามารถนำแนวทางไปลงมือปฏิบัติงานได้จริง โดยในปีที่ผ่านมาพนักงานของเครือฯ 100% ผ่านการอบรมด้านจรรยาบรรณธุรกิจ ในขณะเดียวกันยังได้มีการทำการประเมิน ติดตาม ตรวจสอบ พร้อมทั้งจัดทำช่องทางในการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสหากมีเรื่องทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นในองค์กร เพื่อส่งเสริมให้เครือซีพีมีวัฒนธรรมองค์กรที่ปลอดคอร์รัปชันอย่างแท้จริง

“ปัญหาคอร์รัปชันถือเป็นภัยร้ายแรงและกำลังลุกลามหยั่งรากลึกในสังคมไทย แต่ใช่ว่าจะไม่สามารถแก้ได้ ดังนั้นผู้บริหารและพนักงานในเครือซีพีและบริษัทในเครือฯ มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมแก้ปัญหาคอร์รัปชันและได้ร่วมประกาศจุดยืนต่อต้านการทุจริตในวันต่อต้านคอร์รัปชันมาอย่างต่อเนื่อง เราพร้อมที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนสร้างความตระหนักรู้ กระตุ้นให้คนในสังคมเกิดพลังที่เข้มแข็งในการร่วมกันขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นให้หมดไปจากประเทศไทยโดยเร็วที่สุด” คุณรงค์รุจา กล่าว

โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้มีโครงการรวมพลังผู้บริหารและพนักงานทุกกลุ่มธุรกิจร้อยเรียงความดีสู่สังคมแสดงจุดยืนในฐานะเอกชนไทยร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในทุกรูปแบบผ่านกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ อาทิ กิจกรรม“คบเด็กสร้างชาติ” กิจกรรมนำเสนอแนวคิดและความรู้ ความสามารถจากคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับการนำ Data และ Digitalization มาออกแบบแพลตฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลแนวโน้มทุจริต การตรวจสอบ การประเมินความโปร่งใส รวมถึงการต่อต้านและแก้ไขลดปัญหาคอร์รัปชันผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือมูลนิธิต่อต้านการทุจริตที่ทาง เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ กลุ่มทรู พร้อมด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล เปิด “ค่ายเยาวชนช่อสะอาดต้านทุจริต” และโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย

การจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กำหนดให้วันที่ 6 กันยายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชัน และจัดงานต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา เพื่อสร้างการรับรู้ กระตุ้นให้คนในสังคมเล็งเห็นถึงปัญหาคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเพื่อสร้างความร่วมมือในหลากหลายรูปแบบ ที่จะช่วยขจัดปัญหาคอร์รัปชันให้หมดไป

#ACTDAY2566 #ACTDAY2023 #WHATTHEFACT #แค่สงสัยก็เสิร์ชACTAiเลย #ค้นหาความจริงใจในการต่อต้านคอร์รัปชัน