ซีพี 4 ต้นน้ำ ปิง วัง ยม น่าน ร่วมกับกรมป่าไม้ มุ่งมั่นจัดการก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน ด้วยกลไก T-VER

ตามนโยบายเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญงานพัฒนาสิ่งเเวดล้อมเพื่อนำไปสู้เป้าหมายการเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutral ภายในปี 2573 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ จึงได้มีการผนึกกำลัง ขอความร่วมมือจากกรมป่าไม้ เร่งขับเคลื่อนพัฒนาชุมชน เเละยกระดับงานสิ่งเเวดล้อมสู่ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย Thailand Voluntary Emission Reduction (T- VER)

ผู้แทนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ นำโดย คุณพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านปฏิบัติการความยั่งยืนและกิจการเพื่อสังคม พร้อมด้วยหัวหน้าทีมปฏิบัติการ จาก 4 พื้นที่ต้นน้ำ ปิง วัง ยมน่าน หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าพบ นายพฤกษ์ โสโน ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการปลูกป่า นายไชยา แดนโพธิ์ ผู้อำนวยการส่วนฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ นายอดิศร สารวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนภาคีเครือข่ายฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว และคณะ ณ กรมป่าไม้ เพื่อขอทราบแนวทางการร่วมโครงการ CSR ตามรูปแบบของกรมป่าไม้ และ ขอคำแนะนำเรื่องพื้นที่ สำหรับการพัฒนาไปสู่โครงการ T-VER

โดยทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมนำเสนอผลการดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ 4 ต้นน้ำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนต่อยอดและขยายแผนการดำเนินงานสู่ชุมชน ภายในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ โครงการสบขุ่นโมเดล โครงการจัดการป่าอเนกประโยชน์เพื่อการพัฒนาพื้นที่ยั่งยืน ด้วยศาสตร์พระราชาบ้านกองกาย พร้อมเป้าหมายการดำเนินงานมุ่งสู่ Carbon Neutral ในอนาคต ซึ่งกรมป่าไม้ถือเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate Change) ปกป้องโลกของเรา และบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาจส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศมุ่งสู่การขับเคลื่อนพื้นที่ ยกระดับชุมชนสังคมสิ่งแวดล้อมให้ตอบโจทย์ในทุกมิติความยั่งยืน

ทั้งนี้ ทางสำนักส่งเสริมฯ เป็นหน่วยงานที่ดูแลโครงการ CSR กับกรมป่าไม้ แจ้งถึงข้อบังคับเฉพาะพื้นที่ โดยสามารถให้หน่วยงานเอกชนเลือกจับจองเข้าทำโครงการ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาว่าเป็นพื้นที่เหมาะสมและได้มีการทำประชาคมกับชุมชนคนในพื้นที่ ซึ่งพร้อมดำเนินโครงการภายในปี 2565 แต่ต้องดำเนินการต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปี และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเครือข่ายด้านความยั่งยืน เพื่อเพิ่มแนวทางการฟื้นฟูป่า ต่อยอดพัฒนาโครงการไปสู่ T-Ver ในอนาคตต่อไป