เครือซีพีนำ CPPM พัฒนาระบบจัดการซ่อมบำรุงเครื่องจักรใน 84 โรงงานอาหารสัตว์ที่จีน ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุง เพิ่มประสิทธิภาพงาน ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น พัฒนาต่อเนื่องสู่เป้าหมายโรงงานในยุค 4.0

CP Excellence Management System (CPEX) หรือ ระบบบริหาร ซีพีสู่ความเป็นเลิศ คือ แนวทางการดำเนินงานที่จะทำให้การบริหารธุรกิจต่าง ๆ ในเครือซีพีเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน บุคลากรในองค์กรมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน และยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการผนึกกำลังของเครือซีพีทั้งในด้านธุรกิจ และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

การบริหารการจัดการด้วยหลัก CP Excellence เป็นกรอบการบริหารงานที่แต่ละหน่วยธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเองในหลาย ๆ ด้าน  และยังได้มีการการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยสร้างมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุค 4.0

CPPM ช่วยยกระดับมาตรฐานโรงงานอาหารสัตว์ในจีน

ปัจจุบันได้มีการนำระบบ CP Productive Maintenance (CPPM) หรือ หลักการจัดการและซ่อมบำรุงเพื่อรักษาเครื่องจักร เป็นการมุ่งเน้นการปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบบริหาร CP Excellence ไปใช้ในโรงงานอาหารสัตว์ที่ประเทศจีน 84 แห่ง โดยได้นำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ต่าง ๆ เข้าไปบริหารจัดการระบบดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อช่วยป้องกันและลดสภาพการเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในโรงงาน

คุณบุญชัย โชติเรืองประเสริฐ ที่ปรึกษาธุรกิจอาหารสัตว์ประเทศจีน ผู้จุดประกายนำเอาระบบ CPPM เข้าไปใช้ในโรงอาหารสัตว์ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 84 แห่งในประเทศจีน เล่าว่า เมื่อก่อนโรงงานอาหารสัตว์ในจีนยังมีไม่มาก ประกอบกับในยุคนั้นเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โครงสร้างการบริหารงานธุรกิจอาหารสัตว์ก็ยังเป็นแบบเดิม ๆ โดยการดูแลระบบการจัดการเกี่ยวกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในแต่ละโรงงานแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้บริหารของแต่ละโรงงานนั้น ๆ

“ช่วงแรก ๆ ที่เข้าไปดูแลการบริหารโรงงานอาหารสัตว์รวมถึงระบบการดูแลรักษาเครื่องจักรมีการจัดการที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่นโยบายของผู้บริหารโรงงาน จนกระทั่ง 2-3 ปีที่ผ่านมาผมได้นำเอา CPPM  เข้าไปใช้ ทำให้เขาเห็นถึงประโยชน์ และมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แรก ๆ อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้องเปลี่ยน ทำไมต้องทำโน่นทำนี่  แต่เมื่อทำไปเรื่อย ๆ งานของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องจักรอุปกรณ์เสียหายน้อยลง สถานที่ทำงานสะอาดเรียบร้อยขึ้น ผู้ที่ทำงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น จึงก็จะเกิดการยอมรับ ปัจจุบันนำระบบนี้ไปใช้ดูแลรักษาเครื่องจักรในโรงงานอาหารสัตว์กว่า 84 แห่งในจีน ซึ่งจุดเด่นของ CPPM ก็คือ มีคู่มือการปฏิบัติงานในแต่ละส่วนงานที่ได้มีการทดลองปฏิบัติจริง และเมื่อได้ทดลองปฏิบัติแล้วทำให้เห็นความเหมาะสมและไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้น และได้มีการนำไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”

การบำรุงรักษาทวีผล คือ หัวใจสำคัญ

คุณบุญชัยยังได้บอกอีกว่า หลังจากการนำ CPPM เข้าไปใช้ในโรงงงานอาหารสัตว์ สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และทำให้การทำงานของผู้เกี่ยวข้องทุก ๆ ฝ่าย สะอาดเรียบร้อยน่าทำงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก CPPM มีหลักการที่สำคัญคือ การบำรุงรักษาทวีผล พร้อมทั้งสร้างนวัตกรรมปรับปรุงการทำงานให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้น เป็นเชิงอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญ โดยการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพปลอดภัยและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังเป็นการช่วยลดอัตราการเกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย

นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หรือเครื่องทุนแรงเข้ามาช่วยในการดูแลรักษาเครื่องจักร ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายของท่านประธานอาวุโส คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ต้องการผลักดันให้องค์กรสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ใหม่ๆ กระตุ้นจิตสำนึกให้พนักงานพอใจเพียงวันเดียวและให้พนักงานไม่หยุดที่จะมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนับว่าเป็น 1 ใน 6 ค่านิยมของเครือฯ อีกด้วย

CPPM จัดได้ว่าเป็นระบบการจัดการที่เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการดูแลรักษาเครื่องจักร และยังก่อให้เกิดผลสำเร็จโดยช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุงได้ถึง 6% และลดปัญหาความขัดข้องของเครื่องจักรเพราะได้มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรและชิ้นส่วนต่าง ๆ อยู่เสมอ

CPPM ช่วยลดความสูญเสีย เพิ่มความพึงพอใจลูกค้า

การนำระบบ CPPM เช้าไปใช้ แน่นอนในช่วงแรก ๆ หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ ทำไมต้องทำและมองว่าเป็นภาระ คุณ Li Dong, President of Feed Mill Business  ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการนำระบบดังกล่าวเข้าไปใช้ โดยเขาได้เล่าถึงการปรับตัวในช่วงแรก ๆ เมื่อมีการนำ CPPM เข้าไปปรับใช้ในโรงงานอาหารสัตว์ที่ประเทศจีน

“ CPPM เขามาตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2562 เรียกได้ว่าเป็นการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องเน้นการสร้างความรู้และความเข้าใจกับพนักงานซึ่งถือเป็นด่านแรกของการปรับตัวในครั้งนี้ โดยการสื่อสารที่ดีถือเป็นหัวใจหลักที่จะสามารถเข้าถึงพนักงานทุกระดับได้”

คุณ Li Dong ให้ความเห็นว่า การยอมรับความเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งใหม่ ๆ และการปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีในโลกยุคปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาธุรกิจในทุก ๆ ด้าน

เราต้องทำให้พนักงานทุกคนยอมรับและเข้าใจในระบบ CPPM ก่อน เริ่มจากการจัดอบรม ตลอดจนจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยน Mindset ของพนักงานให้ยอมรับต่อสิ่งใหม่ ๆ ”

อย่างไรก็ตาม การนำ CPPM เข้าไปใช้ในโรงงานอาหารสัตว์ที่ประเทศจีน ส่งผลในด้านบวกต่อธุรกิจที่เห็นได้ชัดเจนคือ สภาพแวดล้อมการทำงานของโรงงานต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วยการทำ 5ส กำหนดตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องคุณภาพและการดูแลรักษาเครื่องจักรก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการดูแลรักษาเชิงป้องกันช่วยลดความเสียหายและสามารถยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้ยาวนานมากขึ้น ประกอบกับการหมั่นตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ จะนำไปสู่ความปลอดภัยของพนักงานที่ปฏิบัติงานหน้างานได้อีกด้วยด้วย

คุณ Li Dong, ยังบอกอีกว่า การจัดการโรงงานด้วยระบบ CPPM ช่วยให้สร้างงผลผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้คุณภาพของสินค้าดีขึ้น สามารถสร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้ามากขึ้นด้วย อีกทั้ง ยังพบว่าค่าใช้จ่ายของธุรกิจโรงงานอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งปีแรกซึ่งถือเป็นตัวแปรสำคัญลดลงถึง 2.48 ล้านหยวน หรือราว ๆ 12 ล้านบาท และจากผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง คาดว่าภายในสิ้นปีนี้โรงงานอาหารสัตว์ในประเทศจีนจะใช้ระบบ CPPM เพื่อกำกับและดูแลรักษาเครื่องจักรอย่างเต็มรูปแบบ 100%

จะเห็นได้ว่าการนำระบบ CPPM เข้ามาปรับใช้ในธุรกิจอาหารสัตว์ที่ประเทศจีนถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ทั้งต่อตัวธุรกิจคือส่งผลให้มีผลกำไรมากขึ้น พนักงานทำงานสะดวกสบายมากขึ้น และต่อลูกค้าที่ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่ง CPPM ยังเป็นระบบบริหารจัดการที่ช่วยผนึกกำลังของคนในองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ CPPMยังเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้โรงงานอาหารสัตว์ของจีนทั้ง 84 แห่ง เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมต่อไป