โลกหลังโควิด-19 ผู้บริโภคทั่วโลก หันมาสนใจสุขภาพทำให้ความต้องการอาหารเสริมและวิตามินเพิ่มขึ้น

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย (Immune System)  แนวโน้มการบริโภคอาหารเสริมและวิตามินทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น และเติบโตอย่างต่อเนื่อง

บริษัท Mintel เปิดเผยผลวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ระบุว่า ผู้บริโภคในทวีปยุโรป ให้ความสำคัญกับการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมังสวิรัติ (Vegan) และมีส่วนผสมของน้ำตาลน้อย (Low Lactose)

  • ผู้บริโภคในทวีปอเมริกาเหนือ เน้นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สารตกแต่งพันธุกรรม (GMO Free)
  • ผู้บริโภคในทวีปเอเชียนิยมผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและปราศจากสารปรุงแต่ง
  • ผู้บริโภคทั่วโลกยังคงนิยมรับประทานอาหารเสริมและวิตามินในรูปแบบเม็ดแคปซูลมากที่สุด

รองลงมา คือ แบบเม็ด แบบผง และแบบน้ำ โดยให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ มีฉลากชัดเจน โปร่งใสตรวจสอบที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ได้  อาหารเสริมและวิตามินที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติมากกว่าที่ใส่สารปรุงแต่ง

  • ผู้บริโภคชาวอเมริกัน ร้อยละ 27 ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น หากสินค้านั้นเป็นอาหารเสริมที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง (whole food ingredients) ร้อยละ 35 ต้องการทราบที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์

แนวโน้มการบริโภคอาหารเสริมและวิตามินในอนาคต ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญมี 5 ปัจจัย

 1.การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Health) ผู้บริโภคทั่วโลกกว่าร้อยละ 70 ต้องการอาหารเสริมที่ช่วยปรับสมดุล ช่วยให้นอนหลับและลดความเครียด เน้นสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ โดยเฉพาะการรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหาร เพื่อป้องกันโรคภูมิแพ้ โรคภายในช่องปาก และช่วยรักษาผิวพรรณ

2.ความกังวลกับโรคอุบัติใหม่และปัญหาสุขภาพ (New and emerging health concerns)

  • ผู้บริโภคชาวอเมริกันร้อยละ 35 จะเลือกซื้อสินค้าที่สร้างภูมิคุ้มกัน
  • ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 47 ต้องการอาหารเสริมและวิตามินเพิ่มเติม โดยหาซื้อในรูปแบบอาหารและเครื่องดื่ม และร้อยละ 63 นิยมเครื่องดื่มบำรุงสายตา
  • ผู้บริโภคชาวเยอรมัน อายุระหว่าง 55-64 ปี ร้อยละ 41 นิยมรับประทานในรูปแบบของโยเกิร์ต

3.การผสมผสานกับอาหารและเครื่องดื่ม (Align with food and drink) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามินที่มาจากพืชและโปรตีนทางเลือกจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

  • ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียร้อยละ 24 ให้ความสำคัญในการเลือกอาหารที่คำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ผู้บริโภคในยุโรปร้อยละ 45 เชื่อว่าการรับประทานอาหารจากพืช (plant-base) ส่งผลดีต่อร่างกาย และผู้บริโภคชาวโปแลนด์และฝรั่งเศส ร้อยละ 34 และ 35 นิยมรับประทานเครื่องดื่มจากพืช เช่น น้ำนมถั่วเหลืองและโยเกิร์ตที่มาจากพืชมากกว่าสัตว์

4.การผสมผสานกับความสวยความงาม (Beauty Benefit) กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) ได้รับความนิยมสูงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยลดเลือนริ้วรอยและให้ความชุ่มชื้นต่อผิว

  • ผู้บริโภคชาวไทยกว่าร้อยละ 51 สนใจอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้ผิวพรรณดีขึ้น
  • ผู้บริโภคชาวจีนสนใจผลิตภัณฑ์ที่ใส่อาหารเสริมและวิตามินในน้ำผลไม้ โดยผู้ผลิตสินค้าในจีนเริ่มนำกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) มาผลิตเป็นอาหารเสริมในรูปแบบเยลลี่และเครื่องดื่ม

5.การมีฉลากที่ชัดเจนและความโปร่งใสที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ (Clean label and transparency) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และฉลากที่บ่งบอกลักษณะสินค้าที่สำคัญ เช่น วัตถุดิบทำจากพืช (plant-based ingredient) สินค้าออแกนิก (Organic) ปราศจากการตัดแต่งพันธุกรรม (GMO-free) ไม่มีสารก่อภูมิแพ้ (Allergy free) หรือไม่ใส่สารกันบูด (no preservatives) เป็นต้น

ปัจจุบันไทยเป็นแหล่งสมุนไพรและวัตถุดิบธรรมชาติที่หลากหลาย

  • ในปี 2563 มีสถิติการส่งออกอาหารเสริมและวิตามิน (พิกัดศุลกากร 2936) ปริมาณ 1,616.88 ตัน คิดเป็นมูลค่า 27 ล้านบาท ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศเวียดนามและเมียนมา
  • รวมสองประเทศคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของการส่งออกอาหารเสริมและวิตามินทั้งหมด
  • การนำเข้าอาหารเสริมและวิตามินปริมาณ 11,942.02 ตัน มูลค่า 5,504.93 ล้านบาท
  • นำเข้าจากจีนถึงร้อยละ 40 รองลงมา ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และเยอรมนี ร้อยละ 9 15.4 และ 15.3 ตามลำดับ

ทีมา : https://www.prachachat.net