คุณศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอล คอมแพ็กประเทศไทย ปลุกทุกภาคส่วนเดินหน้าสู่ “ทศวรรษแห่งการลงมือทําอย่างจริงจัง” ประกาศเชิญชวนบิ๊กธุรกิจไทยเข้าสู่สนามแข่งขันสร้างความยั่งยืนระดับโลก เปลี่ยนประวัติศาสตร์หน้าใหม่เข้าสู่ยุค Zero Waste, Zero Carbon

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ GCNT ซึ่งเป็นเครือข่ายความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้จัดเวทีระดมความคิดผู้นำธุรกิจเพื่อสร้างความยั่งยืน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างรากฐานความยั่งยืน หลังโควิด-19 “Thailand Business Leadership for SDGs 2020” โดย คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอล คอมแพ็กประเทศไทย ได้ประกาศเชิญชวนภาคธุรกิจไทยร่วมสร้างความยั่งยืน ขอให้ผู้นำองค์กรภาคธุรกิจร่วมกันแข่งขัน แต่ไม่ใช่การแข่งขันในเชิงธุรกิจ การแข่งขันในวันนี้ คือ การแข่งขันเพื่อเอาชนะความท้าทายของมนุษยชาติที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่

@เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กฯ รวมพลังบิ๊กธุรกิจสร้างความยั่งยืน
คุณศุภชัย เจียรวนนท์ กล่าวว่า งาน “GCNT FORUM 2020: Thailand Business Leadership for SDGs” เป็นการระดมสรรพกําลังของภาคเอกชนเพื่อน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติจริงในการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน สนับสนุนรัฐบาล และภาคส่วนอื่น ๆ ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17ข้อ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมให้ความมุ่งมั่นของสมาคมฯ ที่จะร่วมมือกับสํานักงาน สหประชาชาติประจําประเทศไทย เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

ในการนี้ คุณศุภชัย กล่าวต่อว่า เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งสหประชาชาติเป็นเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยสมาชิกกว่า12,000 องค์กรใน 156 ประเทศ ก่อตั้งขึ้นครอบ 20 ปี ตามวิสัยทัศน์ของนายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อระดมพลังของภาคเอกชนในการทําธุรกิจที่คํานึงถึงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หรือเรียกว่า “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” ภายใต้หลักการสากล 10 ประการ ครอบคลุมเนื้อหา4 ด้าน ได้แก่ สิทธิมนุษยชน สิทธิของแรงงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยจึงได้นําเจตนารมณ์ ในระดับโลกนี้มาขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในไทย ปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาชิกเกือบ 60 องค์กร และเติบโตขึ้น เรื่อยๆ หากมองในเชิงศักยภาพของสมาคมฯ แล้วมูลค่าของบริษัท ที่เป็นสมาชิกในปัจจุบันสูงถึงประมาณ4.2 ล้านล้านบาท ตัวเลขนี้แสดงถึงศักยภาพของสมาคมฯ ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนที่แท้จริงทั้งในไทย และในทุกประเทศที่บริษัทสมาชิกเราลงทุน

@ปลุกทุกภาคส่วนเดินหน้าสู่ “ทศวรรษแห่งการลงมือทําอย่างจริงจัง”
คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ได้กล่าวถึง สถานการณ์โควิด-19 โดยในช่วงก่อนวิกฤติโควิด-19 ทั่วโลกต้องพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือSDGs ทั้ง17 ข้อให้ทันในปี คศ.2030 และเมื่อมีวิกฤติโควิด-19 นี้ ซ้ำเติมเข้ามาก็ยิ่งก่อให้เกิดความท้าทายยิ่งขึ้นอีก ด้วยเหตุนี้ เลขาธิการ สหประชาชาติจึงเรียกร้องให้ทุกคนทุ่มเทสรรพกําลัง เรียกช่วงเวลาสิบปีข้างหน้าจนถึง คศ.2030 ว่า“ทศวรรษแห่งการลงมือทําอย่างจริงจัง” หรือ Decade“ of Action” ต่างไปจากเดิมที่เราเคยปฏิบัติ ก่อนวิกฤติ โควิด-19 ทั้งนี้ เพื่อให้โลกเราสามารถ“ฟื้นตัวได้ดีกว่าเดิม” หรือ “Recover Better”

ในปีนี้เป็นที่น่าภูมิใจว่า ไทยได้รับ74.5 จาก 100 คะแนน จากการจัดอันดับความคืบหน้าในการบรรลุSDGs ตาม Sustainability Development Report ล่าสุดในปีค.ศ. 2020 นี้ นับเป็นอันดับที่ 1 ในอาเซียนจึงเป็นสัญญาณที่ดีว่า ไทยสามารถเป็นผู้นําในการร่วมมือ กับสหประชาชาติอย่างจริงจังให้โลกฟื้นตัวได้ดีกว่าเดิม นอกจากนั้นการที่ไทยสามารถรับมือกับการระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้สําเร็จพิสูจน์ให้เห็นศักยภาพของคนไทยที่สามารถฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ร่วมกัน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ประเทศเรา ไม่เคยต้องการความร่วมแรงร่วมใจของคนทั้งชาติระดับนี้มาก่อน นับตั้งแต่สงครามโลกเป็นต้นมาสมาคมฯ ขอชื่นชมทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเหล่าแพทย์พยาบาล ตลอดจนบุคลากร ทางการแพทย์ที่ได้เสี่ยงชีวิตและเสียสละอย่างไม่ย่อท้อ

ทั้งนี้ ความมุ่งมั่นกล้าตัดสินใจด้วยนโยบายที่เด็ดขาดชัดเจน ของท่านนายกรัฐมนตรีเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าได้ช่วยให้ประเทศสามารถ ก้าวพ้นความท้าทายนานัปการมาได้สําเร็จ และเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่ท่านเองก็ต้องเสียสละ ทั้งในฐานะหัวหน้าครอบครัว และผู้นําประเทศ จึงนับว่าเป็นเกียรติของพวกเราอย่างยิ่งที่จะได้รับฟัง ปาฐกถาพิเศษจากท่านนายกรัฐมนตรีในวันนี้เพื่อเราสามารถ ถอดบทเรียนจากความเป็นผู้นําของท่านมาปรับใช้กับองค์กร ไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

@ชู 4 M การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
คุณศุภชัย เน้นย้ำว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนถือเป็นหน้าที่ของทุกคนและควรพัฒนาไปพร้อมกับการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ในลักษณะ4 M กล่าวคือ 1. Multi-species หรือการคํานึงถึง ความหลากหลายทางชีวภาพและการรักษาระบบนิเวศและความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ 2.Multi-stakeholders หรือการส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.Multi-cultural หรือการเข้าใจถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากนานาประเทศ เพราะเป้าหมายSDGs นั้นเป็นเป้าหมายร่วมกันระดับโลกและ 4. Multi-generation หรือจากรุ่นสู่เราทุกคนมีความรับผิดชอบในการรักษาโลกนี้ไว้สําหรับคนรุ่นต่อไป ทั้งนี้ประเด็นสุดท้าย ถือเป็นเรื่องสําคัญการเปิดโอกาสและพื้นที่ให้แก่คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมเป็นผู้นำทั้งในระดับชุมชนและประเทศชาติตั้งแต่ต้นพร้อมการเปิดรับฟังความคิดเห็น ซึ่งกันและกันระหว่างรุ่น มีความจําเป็นอย่างยิ่งอันจะช่วยให้ไทย สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ภายในปี ค.ศ.2030

นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลฯ กล่าวต่อไปว่า สมาคมฯ จะจัดกิจกรรมที่จะสร้างเวทีให้เยาวชนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาระดับโลกเช่นนี้ อาทิ การจัดกิจกรรมเพื่อนําเสนอผลงานที่เกี่ยวกับSDGs ประจําทุกสัปดาห์ การส่งเสริมแนวคิดเชิงนวัตกรรมแก่ผู้นํารุ่นใหม่ซึ่งไม่ได้จํากัดแต่เพียง เทคโนโลยีแต่หมายรวมถึงนวัตกรรมทางความคิดและการใช้ชีวิต อย่างรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วยเพราะต่อไปในอนาคต คนรุ่นใหม่ ก็สามารถนํานวัตกรรมเหล่านี้ไปสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กรต่อไป

@เหนือวิกฤติโควิด-19 คือการเผชิญกับภาวะโลกร้อน
คุณศุภชัย กล่าวต่อว่า แม้ว่าวิกฤติโควิด-19ที่เราเผชิญอยู่จะเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่เราก็ยังต้องเตือนตัวเองว่ายังมีวิกฤติอื่นอีกที่ยังคุกคามมนุษยชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกระทําที่ขาดความสมดุลของเราเองเช่นปัญหา ความเหลื่อมล้ำาทางสังคมที่นําไปสู่ความอ่อนแอของสังคม และความรุนเเรง ปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสาเหตุของสภาวะเรือนกระจก ทั้งนี้ ปัญหาทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของมนุษย์และด้วยเหตุการณ์ โควิด-19 ที่ทับถมและรุมเร้ามนุษยชาติอยู่ในขณะนี้ปัญหาที่เราได้เผชิญมาก่อนโควิดเหล่านี้นับจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบัน มลพิษทางอากาศนําไปสู่การเสียชีวิตกว่า7ล้านคน ต่อปีประมาณ 1 ล้านสายพันธุ์ของพืชและสัตว์กําลังสูญพันธุ์ขณะนี้ และอีกจํานวนมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยกว่าร้อยละ50 ของสายพันธุ์ หรือspecies ทั่วโลกอาจจะสูญไปภายในปี ค.ศ.2100 หรืออีกเพียง 80 ปีเท่านั้น และอาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย หากจะบอกว่ามนุษย์เรา อาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด

@ชวนทุกภาคส่วนสู่สนามแข่งขันสร้างความยั่งยืน
คุณศุภชัย ได้เน้นย้ำว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกคน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ต้องเร่งปรับตัว พัฒนารูปแบบการจัดหาวัตถุดิบการผลิตการใช้พลังงาน การขนส่งและ การบริโภคให้มีความรับผิดชอบมากขึ้นตลอดจนการปรับและเสริมทักษะแก่พนักงาน ส่งเสริมการศึกษาที่เน้นทักษะสมัยใหม่เพราะระบบ หุ่นยนต์อาจจะทดแทนตําแหน่งงานในสายการผลิตกว่า 20ล้านตําแหน่งทั่วโลกภายในปี ค.ศ.2030

คุณศุภชัย กล่าวเชิญชวนให้ทุกท่านมาแข่งขัน โดยกล่าวว่า การแข่งขันในวันนี้ ไม่ใช่การแข่งขันในเชิงธุรกิจอีกต่อไป แต่การแข่งขันในวันนี้ คือการแข่งขันเพื่อเอาชนะความท้าทาย ของมนุษยชาติที่ทุกคนเผชิญอยู่ การแข่งขันในวันนี้คือการแข่งขันกับเวลาที่น้อยลงไปทุกที การแข่งขันในวันนี้คือการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด ความอยู่รอดของรุ่นลูก รุ่นหลานความอยู่รอดของสัตว์ป่า และพันธุ์พืช การแข่งขันที่ผ่านมาเรามักคุ้นในเชิงธุรกิจกับการแข่งขัน เชิงปริมาณให้สูงขึ้น เรื่อยๆ ทั้งผลประกอบการๆ กําไร ผลตอบแทนต่อ ผู้ถือหุ้นสร้เร่งางมูลค่าหลักทรัพย์ให้สูงขึ้น แต่การแข่งขันในวันนี้กลับเป็นการแข่งขันให้ถึงศูนย์

“การแข่งขันที่ผมได้เชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมในวันนี้ เราแข่งกับเวลาแข่งกับตัวเองเพื่อไปถึง Zero Carbon ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุดแข่งกันเข้าสู่ยุค Zero Waste พลิกโฉม การผลิตและการบริโภคแข่งกันสร้าง Zero Hunger และZero Poverty ให้เป็นความจริงที่ทุกคนมีความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร การศึกษา บริการสาธารณสุขโอกาส ในการทํางาน ลดความเหลื่อมล้ำ เรายังต้องแข่งเพื่อเอาชนะภัยพิบัติภัยธรรมชาติ โรคระบาด ไปพร้อมกัน”

คุณศุภชัย กล่าวต่อว่า การแข่งขันดังกล่าวได้เริ่มขึ้นแล้วในสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก แห่งประเทศไทยโดยสมาชิกสมาคมฯทั้งภาคธุรกิจ สมาคม มูลนิธิและ องค์กรไม่แสวงหากําไรจํานวน 21 องค์กรได้แสดงความพร้อที่จะเข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าวการวางแผนที่จะลงทุนในด้วย 998 โครงการ ตั่งแต่ปีนีจนถึงปี ค.ศ2030 โดยมูลค่าบางส่วนของ โครงการเหล่านี้ คิดเป็น1.262 ล้านล้านบาทซึ่งโครงการเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้ไทยบรรลุเป้าหมายSDGs ภายใน Decade of Action นี้ อันนับเป็นการแข่งขันเพื่อไทยและโลกอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รวมทั้งเป็นการช่วยขับเคลื่อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศด้วย

@“ผู้นํา” คือผู้สร้าง ความเปลี่ยนแปลงผู้นําที่ดี
ท้ายนี้ คุณศุภชัยได้ย้ำถึงความสําคัญของภาวการณ์เป็นผู้นำ กล่าวว่า “ผู้นํา” คือผู้สร้าง ความเปลี่ยนแปลงผู้นําที่ดีคือ ผู้นําที่สร้างความเปลี่ยนแปลงซึ่งยังประโยชน์สุขต่อคนหมู่มาก ดังนั้น ความตระหนักรู้ถึงปัญหาของผู้นําในทุกภาคฝ่ายจึงเป็นภารกิจสําคัญของเรา

การประกาศเจตนารมณ์ในวันนี้ จะเป็นการแสดงพลังของการตระหนักรู้ของผู้นําของภาคเอกชนไทย และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตระหนักรู้ ถึงปัญหาตระหนักรู้ถึง ความท้าทายและที่สําคัญที่สุดตระหนักรู้ ถึงศักยภาพของการผนึกกําลัง ร่วมกันสู่ความเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่เราจะสามารถรับมือเเละผ่านพ้นวิกฤติที่กล่าวมานีได้ก็ด้วย ความกล้าหาญ ความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อและที่สําคัญคือความร่วมมือ อย่างเป็นปึกเเผ่นของทุกภาคฝ่าย

“เราทุกคนในที่นี้จะร่วมจุดประกายการเปลี่ยนแปลงในตัวเราและในองค์กร ยืนหยัดเคียงข้างกับพันธมิตรจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง17 ข้อได้อย่างแท้จริง น้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัตินําไปสู่การฟืนตัว ของเศรษฐกิจและสังคม เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติประชาชน และ ลูกหลานของเราสืบไป”

อ่านเพิ่มเติม: สรุปประเด็นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “วิถีคิดผู้นำในสถานการณ์วิกฤติ ประสบการณ์จากสถานการณ์ COVID-19” ในพิธีเปิดงาน งาน “GCNT FORUM 2020: Thailand Business Leadership for SDGs” http://www.cp-enews.com/news/details/cpnews/4641

Cr: PR CPG