อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว กระทบอะไรกับคนที่กำลังผ่อนบ้าน

ใครที่กำลังผ่อนบ้าน หรือกำลังตัดสินใจขอสินเชื่อบ้านอยู่ เรื่องสำคัญที่ทำให้เราต้องคิดให้ดีคงหนีไม่พ้นเรื่องของดอกเบี้ย เพราะที่เรากำลังผ่อนบ้านอยู่ในทุก ๆ เดือน เราก็กำลังจ่ายดอกเบี้ยไปด้วยเช่นกัน ยิ่งการผ่อนบ้านเป็นเรื่องที่เราต้องใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร การวางแผนรับมือกับดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

krungsri
ภาพจาก Shutterstock

โดยปกติแล้วหากเราตัดสินใจขอสินเชื่อบ้านจะมีอัตราดอกเบี้ยหลัก ๆ ให้เราเลือกอยู่ 2 รูปแบบ

แบบที่ 1 : อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) คืออัตราดอกเบี้ยที่ถูกกำหนดไว้โดยเฉพาะไม่มีการปรับขึ้นลงในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งหรืออาจจะตลอดอายุสัญญาสินเชื่อ

แบบที่ 2 : อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) คืออัตราดอกเบี้ยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารพาณิชย์ ณ เวลานั้น ซึ่งสามารถขึ้น-ลง ได้ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งสถาบันการเงินจะประกาศออกมาเป็นระยะ

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากสินเชื่อของเราอยู่ในอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ในขณะที่เรากำลังผ่อนบ้านอยู่เราคงได้รับผลกระทบแน่ ๆ

เพราะฉะนั้นเรามาทำความรู้จักเจ้าอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวให้มากขึ้น เริ่มจากอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว คืออะไรคนที่กำลังผ่อนบ้านจะได้ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวอย่างไรบ้างวิธีแก้ปัญหาอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวควรเริ่มอย่างไรหาคำตอบได้ผ่านบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย

krungsri
ภาพจาก Shutterstock

อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว กระทบอะไรกับคนที่กำลังผ่อนบ้าน

อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนดไว้เฉพาะเจาะจงว่าจะเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ไปตลอด ซึ่งจะสามารถขึ้นลงได้ตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับเงินให้สินเชื่อที่แต่ละธนาคารพาณิชย์ประกาศใช้ในขณะนั้น โดยอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ดังนั้น เราจะขอแทรกความหมายของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไว้สักเล็กน้อยเพื่อให้ทุก ๆ ท่านได้เข้าใจง่ายมากขึ้น

อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง คือ อัตราดอกเบี้ยที่ใช้อ้างอิงถึงในสัญญาทางการเงินประเภทอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เช่น สินเชื่อบ้าน โดยอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะตลาดการเงิน ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนเงินดอกเบี้ยที่จ่ายเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ใช้สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีที่เห็นกันอยู่บ่อย ๆ ก็คือ MRR (Minimum Retail Rate) นั่นเอง

หากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมีการปรับเพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยที่เรากำลังใช้อยู่เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวแล้วล่ะก็ เราจะต้องเสียดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่ายอดค่าผ่อนบ้านในแต่ละเดือนของเราจะไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ก็จะตัดชำระส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้น ทำให้ตัดส่วนของเงินต้นน้อยลงอีกด้วย

หากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงปรับลดลง ผู้ที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ก็จะเสียดอกเบี้ยลดลงโดยในยอดผ่อนชำระรายเดือนที่เราจ่ายเท่าเดิม ก็จะสามารถตัดชำระส่วนของเงินต้นได้มากขึ้นนั่นเอง ก็จะทำให้เราผ่อนบ้านหมดไวมากขึ้น แต่ทั้งนี้เราจะไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อ้างอิงจะปรับขึ้นหรือลงเมื่อไหร่ ซึ่งเราสามารถดูได้จากประกาศของธนาคารพาณิชย์

อ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนคงรู้จักว่าอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวคืออะไรกันไปแล้ว คงมีใครสงสัยเหมือนกันแน่ ๆ เลย แล้วผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวจะส่งผลอะไรกับตัวเราเองบ้าง?

สำหรับใครที่อาจจะยังไม่เห็นภาพชัดมากนัก ดังนั้น เราจะมาใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อให้ทุกคนเห็นผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวกันง่ายขึ้น

krungsri

อัตราดอกเบี้ยลอยตัวส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

โดยการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยนั้น จะเริ่มจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายก่อน และหลังจากนั้นธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ จะพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อของตัวเองต่อ โดยผู้กู้จำเป็นจะต้องติดตามข่าวสารได้จากธนาคารพาณิชย์ที่เราใช้บริการอยู่ ซึ่งถ้าหากดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น เราอาจจะต้องเตรียมวางแผนการผ่อนบ้านของเราให้ดีเพราะจะกระทบกับเราแน่นอน

หากใครกำลังผ่อนบ้านอยู่ลองนึกภาพตามไปพร้อม ๆ กัน เมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อปรับขึ้น จากเดิมที่เราเคยผ่อนมาแล้วกว่า 10 ปี เหลือเวลาผ่อน 18 ปี แต่ด้วยดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น เงินผ่อนเราเท่าเดิม แต่ตัดเงินต้นน้อยลง ซึ่งอาจจะทำให้ระยะเวลาผ่อนบ้านของเราเพิ่มมากขึ้น โดยจะส่งผลให้เราอาจจะต้องผ่อนบ้านหลังเดิมยาว ๆ ไปเป็น 20 ปีแทน การเป็นเจ้าของบ้านจริง ๆ หลังนี้ของเราก็จะมาถึงช้าขึ้น

จะเห็นได้ว่านี่ก็เป็นผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่หากเราไม่วางแผนรับมือให้ดีก็จะส่งผลต่อการบริหารจัดการเงินของเราในอนาคตแน่ ๆ แต่ไม่ต้องกังวลไปนะ เราเตรียมวิธีรับมือไว้แล้ว

และผู้ช่วยที่ดีที่สุดในวินาทีนี้ก็คือ “สินเชื่อบ้านซุปเปอร์เซฟวิ่ง” : ไม่ต้องโปะ เงินกู้หมดเร็ว

สิทธิประโยชน์สำหรับลูกค้าที่ขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์บ้าน โดยคุณสามารถขอเข้าร่วมโครงการสินเชื่อบ้านซุปเปอร์เซฟวิ่งได้เพียงมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จัดให้ที่ร่วมรายการกับธนาคารกรุงศรีทั้งนี้โปรดศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของสินเชื่อบ้านซุปเปอร์เซฟวิ่งได้จากสื่อต่าง ๆ ของธนาคารได้

สินเชื่อบ้านซุปเปอร์เซฟวิ่ง คือ สินเชื่อบ้านที่มีวิธีการคำนวณดอกเบี้ยบ้านแบบพิเศษ โดยยอดเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จัดให้ของผู้กู้ ตัวช่วยให้คุณผ่อนบ้านหมดเร็ว เสียดอกเบี้ยลดลง เหมาะกับในยุคดอกเบี้ยลอยตัว

  • ช่วยให้ดอกเบี้ยต่ำตลอดสัญญา โดยที่เราไม่จำเป็นต้องจ่ายโปะ ไม่มีความจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์บ่อย ๆ
  • ยอดหนี้บ้านก็หมดไวขึ้น ยอดเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์จัดให้ของธนาคารกรุงศรีช่วยลดภาระดอกเบี้ยบ้านสูงสุด 40% ตลอดอายุสัญญา โดยทางธนาคารจะนำยอดเงินฝากมาคำนวณลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ได้สูงสุดถึง 40% ของยอดเงินต้นคงค้าง ณ สิ้นวัน
  • เงินฝากได้ดอกเบี้ยเงินฝากปกติ

ดังนั้น ถ้าหากเรายิ่งมีเงินฝากเยอะเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง เท่ากับว่าเดิมเราได้ดอกเบี้ยที่ต่ำแล้วยังคงต่ำได้อีก ซึ่งเราย่อมรู้ดีว่าถ้าหากสามารถตัดดอกเบี้ยได้เยอะมากเท่าไหร่ เงินต้นของเราจะหมดไวเท่านั้น ฝันการเป็นเจ้าของบ้านจริง ๆ สำหรับเราก็จะง่ายยิ่งขึ้น และด้วยสิทธิประโยชน์ที่ให้เราจ่ายดอกเบี้ยต่ำตลอดอายุสัญญาขนาดนี้ เราเองจึงไม่มีความจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์บ่อย ๆ อีกต่อไป

นอกจากนี้ เงินฝากของเราที่นำมาใช้ลดภาระดอกเบี้ย ก็ไม่ได้หายไปไหน ยังได้ดอกเบี้ยตามปกติ และสามารถเบิก-ถอนได้ เพียงเท่านี้เราก็สามารถรับมือกับอัตราดอกเบี้ยลอยตัวกันได้แล้ว ซึ่งดีกว่าการจ่ายโปะบ้าน ที่โปะแล้วโปะเลย ไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ได้อีก

และนี่ก็เป็นเรื่องราวของอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่เราหยิบมาฝากทุก ๆ ท่าน ท้ายที่สุดแล้วเราจะเห็นได้ว่าเรื่องของดอกเบี้ยก็เป็นเรื่องใกล้ ๆ ตัวสำหรับเราทุกคน แม้ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวจะส่งผลกับเราโดยตรง แต่ถ้าหากทุกคนเรียนรู้วิธีรับมือเอาไว้ ยอดผ่อนบ้านที่เรากำลังผ่อนอยู่ก็จะหมดไวขึ้นตามเป้าหมายนั่นเอง

ที่มา Brand Inside