“ตราฉัตร” ชี้ปีนี้ไทยส่งออกข้าวได้ ไม่เกิน 9 ล้านตัน เหตุเสียตลาดข้าวนึ่งให้ คู่แข่ง ราคาต่ำกว่าไทยเท่าตัว แนะรัฐปรับปรุงพันธุ์พื้นนุ่มแข่งควบคู่การสร้างแบรนประกอบโปรโมทอาหารไทย

คุณสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี. เปิดเผยว่า การส่งออกข้าวของไทยในปี2562 คาดว่าจะทำได้ 8.5-9 ล้านตัน ต่ำกว่าเป้าหมายทั้งปีที่คณะกรรมการข้าวครบวงจรกำหนดไว้จะทำได้ 10 ล้านตันทั้งนี้เป็นเพราะไทยถูกแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดียมีผลผลิตมาก สามารถส่งออกข้างนึ่งได้มากขึ้น ปากีสถาน เมียนมา ส่งออกปลายข้าวขาวได้มากขึ้น และเวียดนามส่งออกข้าวหอมมะลิในราคา 400-500 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งต่ำกว่าไทยจากราคาข้าวหอมมะลิที่มีราคา 1,100-1,200 ดอลลาร์ต่อตัน ทำให้เวียดนามขณะนี้เข้าไปเจาะตลาดข้าวหอมมะลิในแอฟริกาและตะวันออกกลางอย่างสมบูรณ์แบบไปแล้ว

ดังนั้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขันของไทย รัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นนุ่มให้มากขึ้น เพื่อใช้ปลูกแทนข้าวขาว ที่ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มไม่ต้องการแล้ว โดยเรื่องนี้เวียดนามได้เตรียมพร้อมมานานกว่าไทย มีการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์และส่งเสริมให้ปลูกแทนข้าวขาวไปแล้วกว่า 50 % ตั้งเป้าจะส่งออกปี 2563 ให้ได้ 3 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่จะส่งออกได้ 2.5 ล้านตัน

ปรับปรุง อย่างกข. 79 มีความเหมาะสมที่จะนำมาปลูกในพื้นที่ภาคกลาง แต่ขณะนี้เมล็ดพันธุ์ยังมีจำกัด ซึ่งมั่นใจว่าศักยภาพของไทยที่มีความเชี่ยวชาญด้านข้าว ยังพอจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ทันประเทศคู่แข่ง

“ข้าวเวียดนาม และกัมพูชา เป็นข้าวหอมมะลิปานกลาง อร่อยสู้ของไทยไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถเจาะตลาดสหรัฐได้ ดังนั้นไทยต้องทำแบรนดิ้ง ใช้ข้าวหอมมะลิเป็นตัวผลักดันคู่กับการโปรโมทอาหารไทย หรือไทยฟู้ด ไทยไรซ์ เป็นการสร้างภาพลักษ์ที่ดี วิธีการนี้จะทำให้ผู้บริโภครู้จัก และเชื่อมั่นในข้าวไทยมากขึ้น”

สำหรับมูลค่าการส่งออกข้าว ยังไม่สามารถประเมินได้ แต่ในเบื้องต้นพบว่าได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า ที่จะปรับลดลง ขณะที่ผลผลิตข้าวของไทยในปี 2562/63 ในส่วนของข้าวหอมมะลิคาดว่าจะมีประมาณ 8.4-8.5 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงเล็กน้อยจากน้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่นาข้าวภาคเหนือและอีสาน เสียหาย 1 ล้านไร่ โดยเฉพาะในพื้นที่อุบลราชธานีพบว่ามีความเสียหายโดยสิ้นเชิง

จำนวนมาก มีแผนเจาะตลาดข้าวนึ่ง ข้าวขาวยังต้องต่อสู้ปากีสถานและเมียนมา และข้าวหอมยังมีคู่แข่งที่สำคัญอย่างเวียดนาม ดังนั้นสถานการณ์โดยรวมจึงน่าเป็นห่วง

ในส่วนของข้าวตราฉัตร ในปี2562 มีการส่งออก 1 ล้านตัน อยู่ในอันดับที่ 4-5 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงเล็กน้อยจากอัตราแลกเปลี่ยน ในปี 2563 คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น 10-15 % โดยจะเพิ่มจากการทำตลาดข้าวหอมมะลิให้มากขึ้นตามความต้องการของตลาด

สำหรับตลาดในประเทศข้าวตราฉัตร มีมูลค่าประมาณ8,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20 % เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นผลจากแผนเชิงรุก เน้นข้าวสุขภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม กระบวนการผลิตข้าวในอนาคตไทยต้องเตรียมพร้อมในมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ด้านความยั่งยืน ที่คาดว่าต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐจะหยิบมาใช้ในอีก 5 ปีข้างหน้ากรณีการทำนาของไทยยังปล่อยก๊าชมีเทนในปริมาณ 2.9 กิโลกรัมต่อข้าว1 กิโลกรัม สูงกว่าเมื่อเทียบกับญี่ปุ่นที่ปล่อยก๊าซมีเทน 1.1 -1.2 กิโลกรัมต่อข้าว1 กิโลกรัม ดังนั้นไทยต้องปรับวิธีการทำนาใหม่ โดยไม่ปล่อยน้ำขัง ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดก๊าซ หากสหรัฐหยิบประกาศใช้เป็นมาตรการคาดว่าประเทศอื่นๆจะดำเนินการตามไปด้วย

Cr:กรุงเทพธุรกิจ