ส.อ.ท. จับมือ กทม.ดึงชุมชนคลองเตย ต้นแบบบีซีจี นำพื้นที่เปล่ามาใช้ประโยชน์-สร้างรายคืนชาวบ้าน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท)เปิดเผยว่า ได้ประชุมกับนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครว่า ในการหารือดังกล่าวผ่านคณะทำงานกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนของกรุงเทพมหานคร (กรอ.กทม.) ได้มีการพูดคุยเรื่องของแนวทางการขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร โดยจะนำเรื่องของเศรษฐกิจ BCG เป็นตัวนำร่องเช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียวจะนำสมาชิกทั้งหมดมามีส่วนนร่วมและช่วยกันลดคาร์บอน การผลักดันโครงการ SAI หรือการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ

ทั้งนี้จะเลือกพื้นที่นำร่องคือชุมชนคลองเตย และพื้นที่เอกชนโดยใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นแรงจูงใจ ซึ่งหากเอกชนยินยอมให้นำพื้นที่มาพัฒนาตามโครงการ SAI จะสามารถลดอัตราการเสียภาษีให้น้อยลงได้ และในภาคประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานในกรุงเทพมหานครสามารถใช้ผลผลิตที่ได้จากในพื้นที่มาบริโภค และสามารถสร้างรายให้กับชุมชน และมีแผนที่พัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาและลำคลองที่เชื่อมต่อ ให้เป็นแซนด์บ็อกซ์ของ กทม. โดยเลือกคลองหัวลำโพง ระยะทาง 1 กม. ที่ปัจจุบันมีปัญหาความไม่สะอาดและมีกลิ่นเน่าเหม็นอย่างรุนแรง ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยจะดึงสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ส.อ.ท. เพื่อมีเป้าหมายให้เป็นเวนิสตะวันออก จากทั้งหมด 1,126 คลองทั่วทั้งกรุงเทพฯ

ขณะเดียวกันพร้อมทั้งให้โรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งในเขตกรุงเทพมหานครที่มีทั้งหมดกว่า 5,000 โรง ต้องมีความโปร่งใส มีมาตรฐานและดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ให้กระทบต่อชุมชนโดยรอบ รวมไปถึงการลดขั้นตอนการออกใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับ กทม. ให้เป็นแบบ One Stop Service นอกจากนี้ กทม. ยกให้ภาคเอกชนมีบทบาทดึงนักท่องเที่ยวเข้าสู่กรุงเทพมหานครหลังการฟื้นตัวของโควิด เช่น อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นตัวสร้างรายได้ ซึ่งการหารือทั้งหมดภายใต้โครงการที่ทำงานร่วมกันจะเห็นผลภายใน 1-2 เดือน

นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า แผนที่พัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาและลำคลองที่เชื่อมต่อให้เป็นแซนบ็อคของ กทม. โดยเลือกคลองหัวลำโพง ระยะทาง 1 กม. ที่ปัจจุบันมีปัญหาความไม่สะอาดและมีกลิ่นเน่าเหม็นอย่างรุนแรง ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยจะดึงสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ส.อ.ท.มีเป้าหมายพัฒนาคลองหัวลำโพง ให้เป็นเวนิสตะวันออก จากทั้งหมด 1,126 คลองทั่วกรุงเทพฯ

นอกจากนี้พร้อมทั้งให้โรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งในเขตกรุงเทพมหานครที่มีทั้งหมดกว่า 5,000 โรง ต้องมีความโปร่งใส มีมาตรฐานและดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ให้กระทบต่อชุมชนโดยรอบ รวมไปถึงการลดขั้นตอนการออกใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับ กทม. ให้เป็นแบบวัน สตอป เซอร์วิส โดยกทม.ยกให้ภาคเอกชนมีบทบาทดึงนักท่องเที่ยวเข้าสู่กรุงเทพมหานครหลังการฟื้นตัวของโควิด เช่น อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นตัวสรน้าวงรายได้ ซึ่งการหารือทั้งหมดภายใต้โครงการที่ทำงานร่วมกันจะเห็นผลภายใน 1-2 เดือน

ที่มา สยามรัฐ