ซีพีออลล์กับโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม

ปัญหาสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญระดับโลกเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นปัญหาสามารถส่งผลกระทบต่อพวกเราได้ในระยะยาว แต่ในปัจจุบันก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากจะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมนั้นดีขึ้น

ซีพี ออลล์ จึงพยายามที่จะทำให้ระบบการขนส่งและการกระจายสินค้านั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการจัดการพลังงานเพื่อที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงในการขนส่งและลดการใช้ก๊าซเรือนกระจก

โดยจัดตั้ง 4 โครงการภายใต้กลยุทธ์โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อเริ่มต้นการใช้พลังงานหมุนเวียนและสร้างความยั่งยืนให้แก่สิ่งแวดล้อม

1.โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ solar cell คือ สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ซีพี ออลล์ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของแผง solar cell ในการผลิตไฟฟ้าทดแทนโดยไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอก จึงได้ติดตั้งแผง solar cell และผลิตไฟฟ้าใช้เอง ภายศูนย์ในศูนย์การกระจายสินค้า

ในปัจจุบันมีการผลิตไฟฟ้าใช้เองใน 3 พื้นที่ คือ ศูนย์กระจายสินค้าควบคมอุณหภูมิขอนแก่น ศูนย์กระจายสินค้าควบคมอุณหภูมิบางบัวทอง และศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิลำพูน โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 192,780 กิโลวัตต์ชั่วโมง

2.โครงการเดลีรันเนอร์
บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ จำกัด ทดลองติดตั้งแผง Solar Cell ไว้บนหลังคารถ ภายใต้ชื่อ เดลี รันเนอร์ (Daily Runner) เพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้าสำาหรับอุปกรณ์ทำความเย็นภายในรถที่พร้อมบริการจัดส่งสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง ปัจจุบันมีรถขนส่งที่ติดตั้งแล้ว รวมทั้งสิ้น 28 คัน ประกอบไปด้วย รถขนส่ง 15 คัน รถขายกาแฟ 3 คัน รถช่างซ่อม 10 คัน

3.โครงการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นพลังงานตามธรรมชาติที่อยู่ใต้ชั้นผิวโลก ซึ่งสามารถนำความร้อนอุณหภูมิที่อยู่ชั้นใต้ดินนั้นมาผลิตไฟฟ้าได้ โดยโครงการใช้พลังความร้อนใต้พิภพ เป็นโครงการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยการใช้น้ำร้อนจากใต้ดิน ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 50 องศาเซียลเซียส มาใช้ล้างอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต

ซึ่งสามารถใช้ทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าในขั้นตอนของการอุ่นน้ำได้ ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าไปได้ถึง 309,370 กิโลวัตต์ชั่วโมง นอกจากนี้ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 180 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าได้อีกด้วย

4.โครงการพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์
หรือSolar Tube เป็นอุปกรณ์ดูดซึมพลังงานแสงอาทิตย์ จะมีลักษณะเป็นแผงหลอดแก้ว คอยรับและดูดซึมรังสีความร้อน โดยโครงการพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ก็ได้ใช้เจ้าอุปกรณ์ดูดซึมพลังงานแสงอาทิตย์นี้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการการผลิต

ในปีที่ผ่านมา โครงการนี้สามารถลดการใช้ก๊าซธรรมชาติได้ถึง 27,703 กิโลกรัมต่อปีด้วยกัน จะเห็นว่าโครงการพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์นี้ สามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและช่วยสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง

 

Cr:Pr CPALL