เทคโนโลยีผนวก ‘วิทยาศาสตร์ชีวภาพ’ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เปิดโลกองค์ความรู้ใหม่ในการประชุมวิชาการเครือเจริญโภคภัณฑ์ 2022

โดย คุณภัทนีย์ เล็กศรีสมพงษ์ ประธานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

การประชุมวิชาการ รวมพลนักวิทยาศาสตร์เครือฯ

การประชุมวิชาการเครือเจริญโภคภัณฑ์ 2022  หรือ  CP Symposium ปี 2022  จะเป็นเวทีของนักวิทยาศาสตร์ชองเครือฯ ที่จะได้มีโอกาสพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และนำเสนอผลงานเพื่อให้เห็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เครือฯ ในการขับเคลื่อนงานของแต่ละองค์กร

การทำธุรกิจของเครือฯ ในหลาย ๆ กลุ่มธุรกิตเราใช้วิทยาศาสตร์ขับเคลื่อนเพื่อให้งานก้าวสู่ความสำเร็จ เรามีผลงานอยู่เป็นจำนวนมาก และต้องการที่จะเผยแพร่ให้พนักงานในเครือฯ ได้รับรู้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

วิทยาศาสตร์ชีวภาพผสมผสานเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เครือฯ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับสายพันธุ์พืช สายพันธุ์สัตว์ และรวมไปถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งการพัฒนาพันธุ์พืชกว่าจะได้สายพันธุ์ที่มีความแข็งแรง ต้านทานโรคได้ ต้องมีการทดลองปลูก  และในขณะเดียวกันต้องดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย วันนี้เทคโนโลยีด้านของวิทยาศาสตร์ ที่เราเรียกว่า Genomics  ทำให้รู้ได้ว่า พืชที่มีความคงทนต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เป็นอย่างไร โดยใช้ดีเอ็นเอของพันธุ์พืชมาตรวจสอบ สามารถเปรียบเทียบได้ว่า พืชที่มีความคงทน หรือความคงทนน้อย มียีนหรือดีเอ็นเอต่างกันอย่างไร

ส่วนด้านการพัฒนาสายพันธุ์สัตว์ เราใช้วิทยาศาสตร์ทางด้าน Molecular Technology เพราะการเลี้ยงหรือปรับปรุงให้สัตว์เจริญเติบโตที่ดี หรือการคงทนของสิ่งแวดล้อม ถ้าใช้หลักการทดลองแบบดั้งเดิม ต้องใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี แต่ถ้านำเทคโนโลยีเข้าช่วย จะทำให้การคัดสายพันธุ์ทำได้รวดเร็วขึ้น

เครือฯ มีธุรกิจหลักคือ อาหารสัตว์  ปัจจุบันผู้บริโภคไม่ต้องการให้มีการยาปฏิชีวนะ  ดังนั้นในอาหารสัตว์ จึงได้มีการนำโพรไบโอติก ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ เข้ามาใช้ โดยได้คัดเลือกโพรไบโอติกสายพันธ์ที่มี่ประโยชน์ต่อสัตว์ เช่น   ช่วยเรื่องของการเจริญเติบโต เป็นต้น

นอกจากนี้ ในการพัฒนาสายพันธุ์ วันนี้เรามามองมองถึงเรื่องจุลินทรีย์ในสัตว์  หรือที่เราเรียกว่า   Gut Health Microbiome เพื่อดูว่าจะต้องใช้โพรไบโอติกอะไรเข้ามาช่วยเรื่อง Gut Health  และจะต้องทำอย่างไรให้ Gut Microbiome หรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในตัวสัตว์มีความสุข  จุลินทรีย์เหล่านี้ จะต้องใช้โพรไบโอติก หรือ Additive ตัวอื่น เช่น พรีไบโอติก หรือสมุนไพรต่าง ๆ อีกหรือไม่ ซึ่งการที่จะรู้ว่า Additive หรือสิ่งที่ใส่เข้าไปมีผลมากน้อยแค่ไหน ต้องใช้ Biotechnology เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในการประชุมวิชาการครั้งนี้จะได้เรียนรู้เรื่อง Genetic Improvement ในสุกร ในไก่พื้นเมืองของไทย การใช้เทคโนโลยี Biotechnology เพื่อดูว่า Gut Microbiome ในตัวสัตว์เป็นอย่างไร

มาร่วมเรียนรู้ไปกับ CP Symposium 2022 !

เครือฯ ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมาหนึ่งศตวรรษ ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และกำลังจะก้าวสู่ศตวรรษที่สอง อยากให้ทุกคนได้มาร่วมเรียนรู้ ในการประชุมวิชาการของเครือฯ ในครั้งนี้ จาก Keynote Speaker ที่จะมาแบ่งปันองค์ความรู้พร้อมด้วยประสบการณ์ พร้อมทั้งรับฟังผลงานวิชาการที่พนักงานในเครือฯ สร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งพนักงานจะได้รับประโยชน์มากมายจากงานนี้

นอกจากนี้  ในเครือฯ ของเรามีผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย อาจจะไม่เคยรู้จักกัน  การได้มารวมตัวกัน ได้พบปะพูดคุยในงาน สร้างเครือข่ายเพื่อต่อยอดงานในด้านต่าง ๆ   และการที่เรามีการจัดประชุมในรูปแบบออนไลน์ด้วย จะทำให้นักวิชาการ นักวิจัยของเครือฯ ได้ประโยชน์มากขึ้น เพราะไม่ว่าจะอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ  ก็สามารถรับชมได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ และสามารถชมย้อนหลังได้อีกด้วย

CP Symposium 2022 จะจัดขึ้นในวันที่ 9-11 พ.ย. นี้ ณ ไบเทคบางนา สามารถลงทะเบียนได้แล้วผ่าน CP Connect หรือ https://www.cpinno.net/th/symposium

และสามารถรับชม Live Session วันที่ 9 พ.ย. 2565 ได้ทางเพจ Facebook : We are CP