นวัตกรรมและเทคโนโลยี กับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หาคำตอบได้ใน CP Symposium 2022

โดย คุณพัชรี คงตระกูลเทียน ประธานการประชุมวิชาการ ด้านความยั่งยืน

การประชุมวิชาการ (CP Symposium) เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2009  ซึ่งเครือซีพี โดยดร.อาชว์ เตาลานนท์ รองประธานอาวุโส เครือฯ เล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรม  ซึ่งในช่วงเวลานั้นเครือฯ กำลังรณรงค์เรื่องการประหยัดพลังงาน และต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเข้ามาช่วย  ซึ่งเครือฯ มีวิศวกรจำนวนมาก จึงมีแนวคิดว่า ทำอย่างไรจะให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีระหว่างกลุ่มธุรกิจ   การประชุมวิชาการ CP Symposium จึงจัดขึ้นครั้งแรกในปีนั้น ที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เป็นการรวมตัวกันของวิศกรของเครือฯ กว่า 1,000 คน ซึ่งครั้งนั้นผลออกมาดีเกินคาด เพราะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานอย่างมาก

จากความสำเร็จในครั้งนั้น จึงได้มีการคุยกันว่าน่าจะจัดต่อเนื่องทุก 2 ปี  ซึ่งนอกจากงานด้านวิศวกรรมแล้วเครือฯ ยังมีอีกหลาย ๆ เรื่องที่ทำอยู่ เช่น  Biotechnology การเลี้ยงสัตว์ สัตว์บก สัตว์น้ำ ไบโอเทคใหม่ ๆ รวมทั้งเรื่องของเทคโนโลยี จึงมีแนวคิดขยายวงการประชุมวิชาการออกไป  โดยเครือฯ จัดงานครั้งที่ 2  ขึ้นใช้ชื่อว่า CP Innovation Exposition เป็นการให้ความสำคัญเรื่องของนวัตกรรมเพิ่มขึ้นมา และได้มีการการจัดประชุมทางวิชาการ ( Symposium) คู่ไปกับการนำเสนอผลงาน CP Innovation  โดยเริ่มต้นผลงานจากประเทศไทยก่อน

นอกจากนี้ เครือฯ ได้ขับเคลื่อนและมีเป้าหมายด้านความยั่งยืน ซึ่งในการทำงานทั้งด้าน  Engineering, IT, การตลาด ล้วนแต่สร้างความยั่งยืนให้องค์กร  อีกทั้ง เครือฯ ยังได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โดย คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอเครือฯ เน้นย้ำเสมอว่า นอกจากจะทำให้ตัวเองอยู่รอด แล้วเรายังมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่ต้องดูแล โดยในการดำเนินงานนั้นและต้องมองภาพรวมทั้งในทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ซีพีเป็นองค์กรที่สามารถปรับตัวให้แข่งขันในทางธุรกิจ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่เฉพาะในประเทศไทย แต่ทุก ๆ ประเทศที่เราไปลงทุน ยิ่งเราเป็น Global Company ที่มีผู้มีส่วนได้เสียระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น UN หรือองค์กรชั้นนำทั้งหลาย  เขาคาดหวังว่า   เราในฐานะองค์กรที่มีความตั้งใจดีจะให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวที่มีทั้งความซับซ้อนและความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเครือฯ ให้ความสำคัญด้านความยั่งยืน  มุ่งเน้นการเป็นคนดีของประชาคมโลก และของประเทศที่เราไปลงทุน ส่วนในนวัตกรรมก็จะเน้นในเรื่องความเก่งขององค์กร  และการที่เครือฯ จะทำธุรกิจได้อย่างยั่งยืนไม่ใช่ความเก่งในธุรกิจเท่านั้น แต่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

ดังนั้น แนวคิดของการจัดงานนอกจากในเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว เครือฯ ยังมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืน เพื่อที่จะเป็นการกระตุ้นและให้ความสำคัญในสิ่งที่เครือฯ ทำมาอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการสนับสนุนนโยบายของซีอีโอเครือซี  คุณศุภชัย  เจียรวนนท์  ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม  และได้นำโครงการด้านความยั่งยืนมาอยู่ในงาน  CP Symposium ในครั้งนี้ด้วย

จุดเด่นของโครงการด้านความยั่งยืน

เมื่อพูดถึงงานด้านความยั่งยืน  เครือฯ ให้ความสำคัญทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก โดยมีหลายโครงการที่พวกเราชาวซีพีคิดค้น และช่วยกันทำ สามารถช่วยแก้ปัญหาสังคม ยกตัวอย่าง โครงการของทีมสุกร ที่คุณสมควร  และสามารถช่วยแก้ปัญหาคนงานที่ติดหนี้นอกระบบ ด้วยการส่งเสริมในเรื่องการออม และการบริหารจัดการด้านการเงิน จนสามารถารถลดเงินกู้นอกระบบ  และสามารถออมเงินได้ เป็นตัวอย่าง ที่ดีมาก ถึงแม้จะอยู่แค่ในระดับองค์กรก็ตาม อีกตัวอย่าง คือ กรณีของเจียไต๋ ซึ่งเป็นองค์กรเก่าแก่ของเครือฯ   มีความโดดเด่นเรื่องความซื่อตรงต่อลูกค้า เช่น การระบุวันหมดอายุของเมล็ดพันธุ์ สิ่งเหล่านี้ฝังอยู่ใน DNA ของพนักงาน ในเรื่องการคุณธรรมที่เป็นค่านิยมองค์กร ที่เข้าไปอยู่ในวิถีการทำงานของพนักงานทุกคน

ด้านการสร้างงาน สร้างอาชีพ  มีตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ ที่ประเทศจีน ซึ่งมีการเลี้ยงหมู 45 ล้านตัว และได้ทำโครงการที่เรียกว่า 4 ประสาน ได้แก่ ธนาคาร ราชการ คนในท้องถิ่น และซีพี ด้วยแนวคิดที่ว่า ทำอย่างไรจะประสานสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน และทำให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ โดยได้นำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเพื่อสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยส่งเสริมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอีกตัวอย่างที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ เมื่อหลายปีก่อนท่านประธานอาวุโสธนินท์ เจียรวนท์ ได้พูดเรื่องตอบแทนคุณแผ่นดิน ตอบแทนคุณพ่อแม่ ซึ่งโดยโลตัสใต้ ของประเทศจีน ได้นำแนวคิดเรื่องของความกตัญญูไปขับเคลื่อน ผ่านโครงการคิดถึงแม่ผู้ให้กำเนิด ทั้งนี้เนื่องจาก ในนครกวางเจาซึ่งเป็นศูนย์กลางของโลตัสใต้ มีผู้หญิงที่ไม่มีเงินไปตรวจร่างกายโดยเฉพาะตรวจโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งมดลูกมากถึง 90%  ซึ่งใน 1 ปีมีคนเสียชีวิตจากโรคร้ายนี้จำนวนมาก โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้คิดถึงบุญคุณของผู้เป็นแม่

ทีมงานของโลตัสให้ศิลปินวาดภาพเส้นโค้งสองเส้น เส้นที่หนึ่งคือ ผู้หญิงตั้งท้อง เส้นที่สองคือ เส้นโค้งหลังค่อม พร้อมเขียนคำกลอนว่า “แม่เป็นผู้ให้ความมีพลังให้แก่ฉัน แลกกับการเสียสละ ความร่วงโรยของร่างกายของท่าน” เป็นสื่อนำเสนอเรื่องราว ซึ่งโครงการนี้ถือว่า Impact อย่างมากนับเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและพนักงาน โดยได้ร่วมกับตัวแทนสตรีแห่งชาติ แพทย์อาสา จัดกิจกรรมตรวจมะเร็งให้ผู้หญิงที่เมืองนั้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้มีกองทุนรักษาผู้หญิงที่ป่วยโรคมะเร็งเหล่านี้ให้หายได้ นี่เป็นตัวอย่างที่มีคุณค่าต่อชีวิตคนมาก และขยายผลจนรัฐบาลกวางตุ้งรับไปดำเนินการต่อ

ความสำคัญของการจัดประชุมวิชาการ

เครือฯ กำลังก้าวสู่ศตวรรษที่สอง ซึ่งโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ถึงแม้ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่ แต่ถ้าปรับตัวไม่ทันก็อาจจะไปต่อไม่ได้ ดังนั้น  CP Symposium จึงจัดขึ้นเพื่อนำความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือเรื่องราวน่าสนใจให้ผู้บริหาร พนักงานระดับปฏิบัติการ ได้ศึกษาเรียนรู้ ได้เห็นทิศทางและแนวโน้มในอนาคตของความเป็นไปในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ เทคโนโลยีการผสมพันธ์ คุณค่าอาหาร เทคโนโลยี AI  รวมทั้ง  Automation  และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ รวมทั้งการดำเนินการด้านความยั่งยืน  ซึ่งเครือซีพี มีเป้า Zero waste, Zero Carbon ที่จะต้องทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ในขณะเดียวกันสังคมโลก สังคมไทย ต่างก็คาดหวังว่า เครือฯ จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เครือฯ จึงได้มีการคัดเลือกโครงการที่โดดเด่นด้านความยั่งยืน มานำเสนอเพื่อให้พนักงานในทุกระดับรวมไปถึง Stakeholders  ได้เห็นแนวคิด และการดำเนินงาน  โดยจะมีการถ่ายทอดไปทั่วโลก เพื่อให้พนักงานทุกคนรวมถึงครอบครัวได้รับชม ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ  และมีความเข้าใจสามารถที่จะได้ปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

911 พ.ย. 65 พลาดไม่ได้ !!! กับงานยิ่งใหญ่แห่งปี

CP Symposium 2022 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 9 11 พ.ย.ที่ศูนย์นิทรรศการไบเทค บางนา โดยวันที่  9 พ.ย. ซึ่งเป็นวันแรกของการจัดงาน เครือฯ ได้เชิญ Key note speaker ทั้งจากภายในและภายนอก ที่มีความโดดเด่นมากในแต่ละด้าน อาทิ Life Science, Biotechnology, การเลี้ยงสัตว์, ด้านพืช, Engineering, Technology Digital และด้านความยั่งยืน มาให้มุมมองแนวคิด และแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคต  อาทิ ดร. Harald Link ประธานของ B.Grimm กรุ๊ป ซึ่งเป็นธุรกิจที่อยู่ในเมืองไทยถึง 140 ปี  พร้อมด้วยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ ท่าน มานำเสนอแนวคิดนวัตกรรมเชิงสังคม รวมทั้งการให้มุมมองและทิศทางของเทคโนโลยีที่จะเดินไปข้างหน้า รวมทั้งมีวิศวกรจากในเครือฯ ที่มีความโดดเด่นสร้างผลงานดี ๆ ให้เครือฯ มาเล่าประสบการณ์ในเชิงวิศวกรรม เป็นต้น โดยจะมีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลกด้วย

ขอเชิญชวนพนักงานทุกคน ไม่อยากให้พลาดโอกาสดี  ๆ แบบนี้ เพราะเป็นงานที่ดี มีประโยชน์ต่อพวกเราอย่างมาก เชื่อว่าจะเป็นการเปิดโลกทัศน์  ทั้งในเรื่องการทำงาน รวมทั้งการให้แนวคิดหรือความตระหนักรู้ในหลาย ๆ เรื่องไปด้วยกันได้ เราก็จะเป็นคนเก่งและคนดีของเครือฯได้จากงานนี้