Physical Activity Calorie Equivalent (PACE) labels

The UK Royal Society for Public Health เรียกร้องให้อังกฤษใช้ฉลากแจ้งกิจกรรมเพื่อขจัดพลังงานที่ได้รับจากอาหาร (Physical activity calorie equivalent (PACE) label) เพื่อต่อต้านปัญหาโรคอ้วน เนื่องจากในอังกฤษมีผู้ใหญ่กว่า 2 ใน 3 เป็นโรคอ้วน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการได้รับพลังงานจากอาหารมากกว่าการเผาพลาญพลังงาน
(ดูรายละเอียดที่ https://www.rsph.org.uk/ )

ทั้งนี้ โดยปกติผู้ชายต้องการพลังงานราว 2,500 กิโลแคลอรี่/วัน และราว 2,000 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้หญิง แต่หากเราทานอาหารมากเกินไปก็จะเกิดพลังงานส่วนเกินและสะสมเป็นโรคอ้วนซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ก่อนหน้านี้ นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Loughborough ในอังกฤษได้เสนอให้อาหารและเครื่องดื่มติดฉลากแจ้งปริมาณพลังงาน (แคลอรี่) ที่จะได้รับ และกิจกรรม (การเดินและการวิ่งเป็นจำนวนชั่วโมงและนาที) เพื่อขจัดพลังงานเหล่านั้นไป (PACE Label) เพื่อลดปัญหาโรคอ้วน เช่น
• ไอศครีม 1 ถ้วยที่ให้พลังงาน 1,400 แคลอรี่ จะต้องทำการเดิน 4 ชั่วโมง 40 นาที หรือวิ่ง 2 ชั่วโมง 20 นาที
• ช็อตโกแลตนม 1 แท่งที่ให้พลังงาน 588 แคลอรี่ จะต้องทำการเดิน 1 ชั่วโมง 56 นาที หรือวิ่ง 59 นาที
• ขนมขบเคี้ยว 1 ซองที่ให้พลังงาน 894 แคลอรี่ จะต้องทำการเดิน 3 ชั่วโมง หรือวิ่ง 1 ชั่วโมง 30 นาที
• เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล 1 ขวดที่ให้พลังงาน 420 แคลอรี่ จะต้องทำการเดิน 1 ชั่วโมง 15 นาที หรือวิ่ง 42 นาที

นักวิจัยยังพบว่า ผู้บริโภคจะทานอาหารที่ให้พลังงานลดลง 200 แคลอรี่/วัน หากได้อ่านฉลากดังกล่าวนี้

อนึ่ง จากการสำรวจพบว่า ชาวอังกฤษกว่า 2 ใน 3 สนับสนุนการติดฉลาก PACE นี้ โดยกว่าครึ่ง (53%) จะเปลี่ยนพฤติกรรมหลังได้อ่านฉลากนี้ และยังพบว่าหลังจากอ่านฉลากนี้ ผู้บริโภคจะออกกำลังกายมากกว่าการอ่านฉลากโภชนาการอาหารแบบปัจจุบันถึง 3 เท่า

————————–