“ซีพี” เหมาโบกี้รถไฟ นำทีมที่ปรึกษาสำรวจเส้นทาง 220 กม. ดึงการมีส่วนร่วมทุกระดับจากท้องถิ่น

ซีพีและบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินเหมาโบกี้รถไฟสายตะวันออกนำคณะที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนสำรวจเส้นทางรถไฟแห่งอนาคต 220 กิโลเมตรระดมไอเดียพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติตั้งเป้าพัฒนาเมืองต้นแบบศูนย์กลางอีอีซีท่องเที่ยว+อุตสาหกรรมดึงการมีส่วนร่วมทุกระดับจากท้องถิ่น ด้านซีอีโอเครือซีพีมั่นใจรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินคือหัวใจของอีอีซีขับเคลื่อนไทยสู่ 4.0 เชื่อมภาคตะวันออกให้เป็นหนึ่งเดียวกับกรุงเทพฯและปริมณฑลสร้างผลตอบแทนทางสังคมมหาศาลพร้อมเดินหน้าโครงการหลัง รฟท. ส่งมอบที่ดิน

เมื่อเร็วๆนี้ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารซีพีคณะผู้บริหารบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินจำกัด ได้จัดประชุมสัญจรคณะที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินบนรถไฟขบวนพิเศษเส้นทางรถไฟสายตะวันออก 220 กิโลเมตรจากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟพลูตาหลวงจ.ชลบุรีซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟแห่งอนาคตภายใต้การร่วมมือของภาครัฐและเอกชนครั้งแรกของประเทศไทยโดยรถไฟขบวนพิเศษนี้ได้แวะจอดที่สถานีลาดกระบังฉะเชิงเทราศรีราชาและพลูตาหลวงและมีการระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้บริหารและคณะที่ปรึกษากันอย่างกว้างขวางตลอดการเดินทางเพื่อที่จะพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสายนี้ให้มีความยั่งยืนในทุกมิติและเป็นเส้นทางแห่งโอกาสและความภูมิใจของประเทศไทย

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินคือหัวใจของอีอีซีถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของระบบเศรษฐกิจที่จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4.0 และจะเชื่อมโยงและเพิ่มศักยภาพให้ฉะเชิงเทราศรีราชาพัทยาระยองให้เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯและปริมณฑลซึ่งจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองแห่งอนาคตหรือSmart Cityอีกด้วย

“รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินแม้จะกล่าวได้ว่าเป็นโครงการที่เกิดขึ้นก่อนเวลามากแต่เมื่อสร้างเสร็จจะเป็นที่น่าภาคภูมิใจเพราะเป็นความท้าทายที่โดยปกติโครงการขนาดใหญ่ลักษณะนี้จะเป็นการสร้างเพื่อเชื่อมเมืองใหญ่ต่อเมืองใหญ่ตามหลักการสากลแต่สิ่งที่ทำวันนี้คือการมองถึงวิสัยทัศน์ที่เชื่อมกับอีอีซีให้เห็นผลในอนาคตซึ่งผลที่ออกมาอาจต้องใช้เวลานาน 10-15 ปีหากสำเร็จจะเป็นตัวอย่างการพัฒนาที่ดีของประเทศว่านอกจากการมีผลตอบแทนจากการลงทุนหรือReturn of Investmentที่เหมาะสมแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่วัดไม่ได้แต่มีมูลค่ามหาศาลคือReturn of Societyดังนั้นถ้าวางแผนควบคู่กันไปจะมีผลตอบแทนต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมมหาศาล”คุณศุภชัยกล่าว

ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ 1 ในที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน กล่าวโดยสรุปว่าโครงการนี้ต้องมองการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติควบคู่กันไปซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสการเติบโตในพื้นที่อีอีซีและที่สำคัญต้องสร้างความสมดุลระหว่างโลกสองโลกเข้าด้วยกันคือโลกของการเติบโตทางเศรษฐกิจและโลกการเติบโตในเชิงวัฒนธรรมที่มีคนในชุมชนเป็นศูนย์กลางอย่างไรก็ตามต้องตระหนักว่าเมื่อโครงการนี้มาก่อนเวลาการทำแผนโครงการนี้จึงต้องมองระยะยาวไปอีก 15-20 ปีข้างหน้าให้ทันต่อสถานการณ์อนาคตด้วยรวมทั้งต้องดำเนินการใน 2 มิติคือ 1.Inclusive Economic ในพื้นที่อีอีซีทำให้โครงการส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในพื้นที่ 2.Inclusive Designโดยการออกแบบรถไฟความเร็วสูงฯต้องคำนึงถึงเรื่องCircular Economyหรือเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วย

“เป็นโจทย์ที่ท้าทายพอสมควรสิ่งสำคัญต้องไม่ใช่ให้รถไฟฯนำความเจริญวิ่งผ่านไปโดยที่ชาวบ้านได้แต่มองแต่จะต้องทำให้รถไฟฯพาความเจริญกระจายไปทุกส่วนทุกพื้นที่ที่รถไฟฯวิ่งผ่าน”ม.ล.ดิศปนัดดากล่าว

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนอีกคนหนึ่งในฐานะเป็นคนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่าจ.ฉะเชิงเทราเปรียบเหมือนเมืองลูกหลวงของอีอีซีที่เหมาะสมจะเป็นแหล่งผลิตอาหารป้อนอีอีซีที่จะมีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามารถไฟความเร็วสูงฯจะช่วยเสริมส่งอีอีซีและมีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจช่วยให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวในจ.ฉะเชิงเทราซึ่งเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโอกาสเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สามารถรองรับประชากรในอนาคตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 15-20 ล้านคนเมื่อเมืองขยายตัวจากรถไฟความเร็วสูงฯ

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าศรีราชาถือเป็นอีกเมืองที่มีศักยภาพในการเติบโตเป็นจุดที่เริ่มต้นของภูเขาในภาคตะวันออกและยังมีทะเลมีธรรมชาติที่สวยงามเช่นเกาะสีชังทั้งยังควบคู่ไปกับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนจำนวนมากจนเรียกว่าเป็นLittle Osakaแนวการพัฒนาศรีราชาจึงต้องใช้ประโยชน์แบบผสมผสานคือเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงความยั่งยืนและความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติคู่ขนานกับการสร้างจุดเด่นการท่องเที่ยวสีเขียวและการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ดังนั้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวต่างๆ

คุณธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี กล่าวว่าจ.ชลบุรีมีความพร้อมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวอุตสาหกรรมท่าเรือภาคเกษตรรวมทั้งยังมีศรีราชาที่เป็นแหล่งพื้นที่การจ้างงานและการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นแต่หลังสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจในพื้นที่อาทิธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลงแต่มั่นใจว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงฯจะเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้จ.ชลบุรีและศรีราชากลับมาพลิกฟื้นใหม่ส่งผลดีต่อการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนเล็กๆในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง

ผศ.ดร.อนุรัตน์ อนันทนาธร อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่าเป้าหมายการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงฯไม่ได้มองความยั่งยืนในมิติเชิงเศรษฐกิจหรือพาณิชย์เพียงเท่านั้นแต่ต้องมองความยั่งยืนในมิติชุมชนและสังคมด้วยอาทิสนับสนุนให้ความรู้การบริหารวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่และต่อยอดธุรกิจของชุมชนเชื่อมโยงกับโครงการฯเพื่อกระตุ้นรายได้ในพื้นที่

ด้าน ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นเส้นทางแห่งอนาคตจึงสำคัญมากที่เส้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงฯต้องมองทั้งเรื่องการเชื่อมโยงและการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเพื่อให้ประชาชนให้รับประโยชน์โดยหากมองด้านของการพัฒนาที่ยั่งยืนโครงการนี้จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตผู้คนและสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตหากประเทศใดมีรถไฟความเร็วสูงฯจะเป็นความภาคภูมิใจของคนในชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคตะวันออกที่เชื่อมถึงEEC ซึ่งจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเคลื่อนคนการกระจายการลงทุนออกไปยังEEC เพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้ได้เสนอให้พิจารณาตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงที่สถานีพระจอมเกล้าลาดกระบังซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนโรงงานอุตสาหกรรมโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเพื่อให้ชุมชนสังคมในพื้นที่ลาดกระบังได้รับประโยชน์สูงสุดจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ทั้งนี้ คุณธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินจำกัด กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการว่าในภาพรวมทางภาครัฐคาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนปี 2564 โดยอย่างช้าไม่เกินเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งยังคงเป็นไปตามสัญญาส่วนการย้ายสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน่วยงานกว่า 20 แห่งและตามแผนเกือบทุกหน่วยงานจะรื้อย้ายให้เสร็จได้ภายในเดือนมีนาคม 2564 ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงช่วงแรกได้ภายในปี 2569

Cr:Pr CPG