ก๊าซเรือนกระจกลดลงได้ด้วยการปลูกต้นไม้ เรามาช่วยกันดูแลรักษาป่าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

‘ต้นไม้’ กับ ‘ปรากฏการณ์เรือนกระจก’ เป็นคำที่เราได้ยินมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ ปรากฏการณ์เรือนกระจกส่วนหนึ่งมีผลจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ต้นไม้ช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศได้ แต่ทว่าปลูกต้นไม้เท่าไร ก็ยังไม่พอ

วันนี้เราลองมาดูกันว่า ต้นไม้กักเก็บก๊าซเรือนกระจก หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อย่างไร และมาดูกันมาพรรณไม้แต่ละชนิดที่ปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากน้อยแค่ไหน สามารถช่วยโลกของเราได้มากน้อยเพียงใดกัน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกระบวนการสังเคราะห์แสงกันก่อน ซึ่งก็คือ วิธีการที่ต้นไม้ดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามากักเก็บไว้ โดยแบ่งเก็บใน 5 แหล่งหลักๆ ได้แก่ มวลชีวภาพเหนือพื้นดิน (Aboveground Biomass) – ทุกส่วนของต้นไม้ ทั้งลำต้น ใบ ดอกและผล, มวลชีวภาพใต้ดิน (Belowground Biomass) – รากต้นไม้, ไม้ตาย (Dead Wood) – ต้นไม้ที่ล้มหรือยืนต้นตาย, เศษซากพืช (Litter) – ส่วนต่างๆ ของต้นไม้ที่ร่วงหล่นสู่ดิน เช่น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล, และอินทรียวัตถุในดิน (Soil Organic Carbon) ค่าเฉลี่ยการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้หลายชนิดมีค่าเท่ากับ 47%

แล้วต้นไม้ชนิดใดที่ควรปลูกและมีปริมาณการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าค่าเฉลี่ยข้างต้นนี้กันนะ?
จากการสำรวจพบว่า พรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนตนซึ่งต้องใช้เวลาในการเติบโตเป็น 10 ปี อาทิ พะยูง ยูคาลิปตัส กระถินเทพา ยางนา ประดู่ป่า ตะเคียนทอง มะค่าโมง ทุเรียน ขนุน เป็นต้น มีค่าเฉลี่ยการกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่าง 47-49%

ต้นไม้และพืชสีเขียวดูดคาร์บอนไดออกไซด์ไปเก็บไว้เป็นเนื้อไม้ และใบไม้ ส่วนดินในป่าก็ช่วยเก็บคาร์บอนในรูปของรากต้นไม้ที่กาลังเน่าเปื่อยผุพัง และยังรวมถึงใบและเนื้อไม้ที่กำลังเน่าเปื่อยผุพัง ฯลฯ
นอกจากนี้ ดินยังช่วยดูดซับก๊าซมีเทน ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้โลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์หลายเท่า ผลิตภัณฑ์จากต้นไม้ เช่น เสาเรือน กระดาน คาน ประตู เฟอร์นิเจอร์ ล้วนช่วยกักเก็บคาร์บอน
ต้นไม้ทุกต้นมีคุณค่าต่อโลก ไม่ว่าจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากหรือน้อยเท่าใดก็ตาม มาร่วมกันปลูก ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เพื่อโลกของเรา เพื่อคนที่คุณรักและลูกหลานรุ่นต่อไปให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน

ที่มา:
• ทุนธรรมชาติสำหรับวางแผนการจัดการอุทยานแห่งชาติ: กรณีสร้างเขื่อนแม่วงก์, ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมแห่งชาติ จังหวัดเพชรบุรี สำนักอุทยานแห่งชาติ องค์การกองทุนสัตว์ป่า (WWF) ประเทศไทย
• วารสารปลูกต้นไม้…ช่วยลดโลกร้อนได้ยังไงนะ?, องการ์บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
• คู่มือศักยภาพของพรรณไม้สำหรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้