องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ชี้อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มร้อนเกิน 1.5 องศา และทำลายสถิติในอีก 5 ปี


ที่มาภาพ: https://public.wmo.int/en/media/press-release/global-temperatures-set-reach-new-records-next-five-years

อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บความร้อนและปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จากข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization – WMO)

มีความเป็นไปได้ 66% ที่อุณหภูมิเฉลี่ยใกล้พื้นผิวโลกระหว่างปี 2566 ถึง 2570 จะสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี และมีความเป็นไปได้ 98% ที่อย่างน้อย 1 ใน 5 ปีข้างหน้าและตลอดระยะเวลา 5 ปีจะร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

“รายงานนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีอุณหภูมิเกินระดับ 1.5 องศาเซลเซียสถาวร ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงปารีส ซึ่งหมายถึงภาวะโลกร้อนในระยะยาวเป็นเวลาหลายปี อย่างไรก็ตาม WMO กำลังส่งสัญญาณเตือนว่าเราจะทะลุระดับ 1.5 องศาเซลเซียสเป็นชั่วครั้งชั่วคราว และเกิดบ่อยขึ้น” ศาตราจารย์เพตเทอริ ทาลาส (Petteri Taalas) เลขาธิการใหญ่ประจำองค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกกล่าว

“ปรากฏการณ์เอลนีโญที่มีผลให้ร้อนขึ้นคาดว่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และเมื่อรวมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ก็จะผลักดันอุณหภูมิโลกให้เข้าสู่สภาวะที่ไม่มีใครบอกได้” ศาตราจารย์ทาลาสกล่าว “ซึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสุขภาพ ความมั่นคงทางอาหาร การจัดการน้ำ และสิ่งแวดล้อม เราต้องเตรียมพร้อม”

รายงาน Global Annual to Decadal Climate Update ที่จัดทำโดย Met Office ของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นศูนย์นำของ WMO ระบุว่า มีโอกาสเพียง 32% ที่ค่าเฉลี่ย 5 ปีจะเกินเกณฑ์ 1.5 องศาเซลเซียส

โอกาสที่อุณหภูมิจะเกิน 1.5 องศาเซลซียสเป็นบางครั้งบางคราวนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งตอนนั้นโอกาสแทบจะเป็นศูนย์ และช่วงระหว่างปี 2560 ถึง 2564 มีโอกาสเกิน 10%

ดร. ลีออน เฮอร์แมนสัน นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจาก Met Office ซึ่งเป็นผู้เขียนนำในรายงานกล่าวว่า “อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราขยับออกจากสภาพอากาศที่เราคุ้นเคยมากขึ้นและยิ่งห่างออกไป”

ประเด็นสำคัญในรายงาน

  • อุณหภูมิโลกเฉลี่ยในปี 2565 สูงกว่าค่าเฉลี่ยปี 2393-2443 ประมาณ 1.15 องศาเซลเซียส ความเย็นจากปรากฎการณ์ลานีญาในช่วงสามปีที่ผ่านมากดแนวโน้มที่อากาศร้อนขึ้นในระยะยาวไว้ชั่วคราว แต่ลานีญาได้ผ่านพ้นไปแล้วในเดือนมีนาคม 2566 และคาดว่าปรากฏการณ์เอลนีโญจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยปกติแล้ว เอลนีโญจะเพิ่มอุณหภูมิโลกในปีหลังจากที่เกิดขึ้น ในกรณีนี้คือปี 2567
  • อุณหภูมิเฉลี่ยใกล้พื้นผิวโลกในแต่ละปีระหว่างปี 2566 ถึง 2570 คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 1.1 องศาเซลเซียส ถึง 1.8 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าเฉลี่ยปีค.ศ. 1850-1900 ที่ใช้เป็นฐานเนื่องจากเป็นช่วงก่อนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์และอุตสาหกรรม
  • มีโอกาส 98% อย่างน้อย 1 ใน 5 ปีข้างหน้าที่จะทำลายสถิติอุณหภูมิในปี 2559 เมื่อมีปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรงเป็นพิเศษ
  • โอกาสที่ค่าเฉลี่ย 5 ปีในปี 2566-2570 จะสูงกว่า 5 ปีที่ผ่านมาคือ 98% เช่นกัน
  • อากาศร้อนในอาร์กติกสูงเกินไป เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยปีค.ศ. 1991-2020 คาดการณ์ว่าอุณหภูมิผิดปกติจะมีขนาดใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 เท่า เมื่อเฉลี่ย 5 ฤดูหนาวที่กินเวลานานขึ้นในซีกโลกเหนือ
  • รูปแบบปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์ไว้สำหรับค่าเฉลี่ยของเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2566-2570 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของปี ค.ศ. 1991-2020 บ่งชี้ถึงปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นใน Sahel(ขตรอยต่อ บริเวณกึ่งทะเลทราย บริเวณทะเลทรายสะฮารา แบ่งทวีปแอฟริกาเป็นเหนือและใต้) ทางตอนเหนือของยุโรป อลาสกา และไซบีเรียตอนเหนือและปริมาณฝนที่ลดลงในฤดูกาลเดียวกันนี้ในแอมะซอน(Amazon) และบางส่วนของออสเตรเลีย

    ข้อตกลงปารีส

    นอกเหนือจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นแล้ว ก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้นยังทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้นและเป็นกรดมากขึ้น น้ำแข็งในทะเลและธารน้ำแข็งละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น

    ข้อตกลงปารีสกำหนดเป้าหมายระยะยาวเพื่อเป็นแนวทางให้ทุกประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้มาก เพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกในศตวรรษนี้ไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส ในขณะที่พยายามจำกัดไม่ให้เพิ่มขึ้นอีกเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลด ผลกระทบในทางลบ ลดความสูญเสียและความเสียหายที่เกี่ยวข้อง

    คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Intergovernmental Panel on Climate Change-IPPCC)กล่าวว่า ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศสำหรับระบบธรรมชาติและมนุษย์นั้นสูงขึ้นสำหรับภาวะโลกร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าในปัจจุบัน 1.5 องศาเซลเซียส แต่ไม่เท่ากับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส

    ที่มาภาพ: https://public.wmo.int/en/media/press-release/global-temperatures-set-reach-new-records-next-five-years

    รายงานฉบับใหม่เผยแพร่ก่อนการประชุม World Meteorological Congress (22 พฤษภาคมถึง 2 มิถุนายน) ซึ่งจะหารือถึงวิธีการเสริมสร้างบริการด้านสภาพอากาศและสภาพภูมิอากาศ เพื่อรองรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นสำคัญที่จะหารือในที่ประชุม ได้แก่ ความริเริ่มคำเตือนล่วงหน้าสำหรับทุกคนที่ยังคงใช้อยู่ เพื่อปกป้องผู้คนจากสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น และโครงสร้างพื้นฐานการตรวจสอบก๊าซเรือนกระจก(Greenhouse Gas Monitoring Infrastructure )ใหม่เพื่อแจ้งการบรรเทาสภาพภูมิอากาศ

    Global Annual to Decadal Update เป็นหนึ่งในชุดของรายงานด้านสภาพภูมิอากาศของ WMO ซึ่งรวมถึง State of the Global Climate ซึ่งเป็นเรือธงที่พยายามที่ให้ข้อมูลต่อผู้กำหนดนโยบายท WMO จะเผยแพร่แถลงการณ์ชั่วคราวเกี่ยวกับ State of the Global Climate 2023 ในการประชุม COP28 ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในเดือนธันวาคม

    สำนักงาน Met ของสหราชอาณาจักรทำหน้าที่เป็นศูนย์นำของ WMO สำหรับการทำนายสภาพอากาศประจำปีจนถึงทศวรรษ ในปีนี้มีสมาชิกทั้งหมด 145 คนมาร่วมกัน โดยได้รับการสนับสนุนจาก 11 สถาบัน ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อสิ้นปี 2565

ที่มา ไทยพับลิก้า