ซื้อรถตอนนี้หรือรอปีหน้า? ไขข้อสงสัย สัญญาเช่าซื้อรถ-มอเตอร์ไซค์ ปี 65

ภาพโดย Hands off my tags! Michael Gaida จาก Pixabay

คงไม่มีใครปฏิเสธ ว่าการมีรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ส่วนตัวช่วยให้ชีวิตสะดวกมากขึ้น แม้แต่ในช่วงโรคระบาดที่ทุกอุตสาหกรรมตกฮวบ แต่การเติบโตของตลาดออนไลน์และไลฟ์สไตล์แบบพ่อค้าแม่ค้าที่พึ่งพาการขนส่ง ทั้งแพ็คของ ส่งของ ก็ทำให้ความต้องการซื้อรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นหลังจากการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะตลาดรถยนต์มือสองที่โตขึ้นอย่างชัดเจน

จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายๆ คนตอนนี้ก็กำลังมองหารถยนต์หรือจักรยานยนต์คันใหม่ที่มาซัพพอร์ตการใช้ชีวิตและการทำงาน อย่างไรก็ดีเมื่อไม่นานมานี้ได้มีประกาศใหม่สัญญาเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ฉบับใหม่ 2565 ที่จะเริ่มบังคับใช้ในปีหน้าก็ทำให้หลายคนสับสนและชะงักการถอยรถใหม่ไว้ก่อน เนื่องจากมีการใช้คำว่า ‘ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก’ เข้ามาในประกาศที่สร้างความงงๆ ให้กับรถยนต์ที่โดยทั่วไปมีการเก็บดอกเบี้ยแบบคงที่

เพื่อไขกระจ่างความสับสนด้านดอกเบี้ย เราได้ไปเจอข้อมูลดีๆ จาก Krungsri The COACH ที่อธิบายความแตกต่างของประกาศฉบับใหม่ในฉบับเข้าใจง่าย เพื่อตอบคำถามว่าถ้าหากอยากซื้อรถใหม่ตอนนี้ “ควรรอไหม” เราสรุปข้อมูลจาก Krungsri The COACH มาให้อ่านกัน

ดอกเบี้ยคงที่ VS ลดต้นลดดอก

ปกติแล้วในการกู้สินเชื่อของธนาคารจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Interest Rate) และแบบ ลดต้นลดดอกเบี้ย (Effective Interest Rate) ซึ่งจะมีวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน คือ

แบบที่ 1 อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ต่อปี

ใช้การคำนวณค่างวดจากเงินเต็มจำนวนครั้งเดียวในวันที่ทำสัญญา โดยจากจ่ายจะต้องนำเงินต้นและดอกเบี้ยมารวมและแบ่งจ่ายในจำนวนเท่าๆ กันทุกงวดจากอัตราที่คิดในวันทำสัญญาไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณและผ่อนชำระ รวมถึงมีรายละเอียดค่างวดที่ชัดเจนในสัญญาเช่าซื้อ

แบบที่ 2 อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกเบี้ย หรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี

คือการคำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนเงินต้นที่คงเหลือในแต่ละงวด เช่น ในงวดแรกเมื่อจ่ายแล้วจะไปลดจำนวนเงินต้นลง ในงวดที่ 2 ก็จะทำการคำนวณอัตราดอกเบี้ยใหม่จากเงินต้นคงเหลือ ไม่ใช้จำนวนเงินต้นในวันที่ทำสัญญา และจะคำนวณรูปแบบนี้ไปจนครบกำหนดผ่อนชำระในงวดสุดท้าย

โดยทั่วไปในการกู้ยืมเพื่อซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์จะใช้การคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่ ซึ่งมีความชัดเจนในค่างวดในสัญญาตั้งแต่ตอนกู้ยืม ส่วนอัตราดอกเบี้ยแบบลดตั้งลดดอกจะใช้ในการกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านหรือสินเชื่อส่วนบุคคล

ประกาศฉบับใหม่ แต่ดอกเบี้ย ‘คงที่’ เหมือนเดิม

สำหรับประกาศฉบับใหม่ เรื่องให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2565 ที่จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 10 มกราคม 2566 ก็ทำให้หลายคนยังสับสน เนื่องจากมีการระบุว่าจะใช้การคำนวณดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกหรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง แต่ความจริงแล้วสำหรับผู้กู้ยืมไปซื้อรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ยังเป็นการคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่ ‘เหมือนเดิม’

เพียงแต่ในฉบับใหม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ยึดโยงกับอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกต่อปี คือ ใช้การคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่แต่การคำนวณต้องไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกรายปีที่กำหนดไว้ และผู้ทำสินเชื่อต้องสามารถตรวจสอบได้จากตารางชำระหนี้ตามสัญญาเพื่อไม่ให้เกินเพดานกำหนด ซึ่งเพดานใหม่กำหนดไว้ว่า

– กรณีรถยนต์ใหม่ ต้องไม่เกินอัตรา 10% ต่อปี

– กรณีรถยนต์ใช้แล้ว ต้องไม่เกินอัตรา 15% ต่อปี

– กรณีรถจักรยานยนต์ ต้องไม่เกินอัตรา 23% ต่อปี

อยากมีรถใช้ ควรรอต่อไปหรือซื้อเลยตอนนี้?

แม้ว่าประกาศฉบับใหม่ที่บังคับใช้ปีหน้าจะมีการกำหนดเพดานดอกเบี้ยใหม่ที่ยึดโยงกับดอกเบี้ยลดต้นลดดอก แต่เมื่อเราเทียบกับดอกเบี้ยเฉลี่ยในปัจจุบันในแต่ละธนาคารก็มีความใกล้เคียง คืออยู่ที่ประมาณ 1.99-5.25% ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนต์ และดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.79-8.00% สำหรับรถยนต์ที่ใช้แล้ว

เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกของ รถใหม่ที่ประมาณ 3.81%-9.78% และรถยนต์ใช้แล้วที่ 5.30%-14.68% เราจะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ภายใต้เพดานอัตราดอกเบี้ยของประกาศฉบับใหม่อยู่แล้ว

ดังนั้นในทางปฏิบัติดอกเบี้ยในการซื้อรถปีนี้และปีหน้าก็ไม่แตกต่างกัน ใครที่พร้อมและกำลังมองหารถยนต์หรือมอร์ไซค์คันใหม่แต่ยังคงลังเลว่าควรรอหรือไม่ คำตอบคือไม่จำเป็นเพราะแม้รายละเอียดในประกาศฉบับใหม่จะแตกต่างจากเดินแต่ในทางปฏิบัติแล้วการคิดอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่แตกต่างกัน

ส่วนใครที่อยากเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับประกาศฉบับใหม่และการคิดคำนวณดอกเบี้ยการเช่าซื้อรถยนต์แบบเข้าใจง่ายๆ แนะนำคลิป Krungsri The COACH Ep.57 ไขข้อข้องใจ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ฉบับใหม่ ที่

https://youtu.be/SYAU5RjcvAg

นอกจากนี้ Krungsri The COACH ยังมีคอนเทนท์เกี่ยวกับการเงินที่ย่อยง่าย เข้าใจเร็ว และข้อมูลน่าสนใจอีกเพียบ โดยที่แต่ละเรื่องจะมีโค้ชผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้ามาตอบคำถามและให้ความรู้กันแบบไม่กั๊ก ใครที่อยากเพิ่มความรู้หรือมีข้อสงสัยทางการเงินลองแวะไปดูได้ที่ช่อง YouTube Krungsri Simple http://bit.ly/3F4zKiP เลย

ที่มา Krungsri The COACH