อีก 1 โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน โครงการจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ฝึกซ้อมดับเพลิง อพยพหนีไฟ ให้กับชุมชน กลุ่มเปราะบาง วัด และหน่วยงานราชการ

โครงการนี้เป็นอีก 1 ในโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนที่ส่งเข้ามา โดยมีความมุ่งหวังจะสร้างคุณค่าทางสังคม สร้างสรรค์คุณค่าหรือสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม ต่อสังคมหรือชุมชน ที่ดำเนินงานมาอย่างยาวนานถึง 20 ปีโดยทีมงานซีพีออลล์ ที่มองเห็นปัญหาการเกิดอัคคีภัยที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง เราไม่อาจคาดเดาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ หากโชคดีอาจจะสูญเสียแค่ทรัพย์สิน แต่ก็มีหลายกรณีที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือสูญเสียชีวิต ซึ่งทิ้งไว้ทั้งร่องรอยซากปรักหักพัง และยังสร้างรอยแผลในใจแก่ผู้ประสบเหตุ ตลอดจนครอบครัวที่อยู่ข้างหลัง อีกทั้งยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยทั้งทรัพยากร และเวลาในการฟื้นฟูมหาศาลทีเดียว ดังนั้น การดูแลเรื่องนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศชาติและคนในสังคม

ซีพี ออลล์ เป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสังคมควบคู่ไปกับดำเนินธุรกิจ โดยที่ผ่านมาเล็งเห็นความสำคัญกับการป้องกันและรับมือกับอัคคีภัยอย่างจริงจัง จึงได้จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมา และพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับใบอนุญาต จนสามารถดำเนินการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และการอพยพหนีไฟให้แก่หน่วยงานต่างๆ ภายในของบริษัทได้ตั้งแต่ปี 2541 และต่อยอดถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับพนักงานร้านเซเว่นฯ ได้ดูแลร้าน และชุมชนโดยรอบให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เกือบ 20 ปี ที่ซีพี ออลล์ ร่วมกับภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการดับเพลิง และการอพยพหนีไฟให้กับบุคลากรในหน่วยงานราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน ชุมชน ฯลฯ โดยรวมแล้ว 190 ครั้ง มีผู้ร่วมรับการอบรมกว่า 5.6 หมื่นคน

ทั้งนี้โครงการมุ่งหวังว่ากลุ่มเปราะบางทางสังคม ชุมชน หรือหน่วยงานราชการ มีความรู้ความเข้าใจ สามารถใช้อุปกรณ์ระงับเหตุเบื้องต้นได้ และช่วยเหลือตัวเองได้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ กลุ่มเปราะบาง ชุมชน หรือหน่วยงานราชการ มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย และมีการฝึกซ้อมแผนอพยพหนีไฟ ให้เข้าใจในวิธีปฏิบัติ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ ถือเป็นการตอบโจทย์ 3 ประโยชน์ของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และสร้างความสัมพันธ์และภาพลักษณ์ที่ดีกับ วัด ชุมชน สังคม และประเทศชาติ และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

ทีมงานโครงการนี้เล่าถึงวิธีการทำงาน โดยเริ่มจากการสำรวจหาพื้นที่เป้าหมาย ( กลุ่มเปราะบาง , ชุมชน , หน่วยงานราชการต่าง ) จากนั้นจะประสานงานพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเข้าพูดคุยเสนอโครงการ เมื่อพื้นที่เป้าหมายอนุญาตการจัดกิจกรรม เข้าสำรวจพื้นที่โดยละเอียด (สภาพพื้นที่,อุปกรณ์) และจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย จัดทำงบประมาณในแต่ละพื้นที่ จัดหาอุปกรณ์ในกรณีที่ต้องให้พื้นที่เป้าหมาย(มอบอุปกรณ์ให้เฉพาะกลุ่มเปราะบาง) จากนั้นมีการประชุม ซักซ้อมร่วมกับพื้นที่เป้าหมาย เพื่อจัดทำแผนและซักซ้อมเพื่อให้พื้นที่เป้าหมายเข้าใจถึงขั้นตอนต่างๆ การประสานงาน หน่วยงานราชการในพื้นที่ (สำนักงานเขต , อบต. เป็นต้น) เพื่อให้เข้าร่วมในวันจัดโครงการ ประสานงาน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเข้าร่วมจัดทำโครงการ และเพื่อให้หน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยมีโอกาสได้ทดลองว่าถ้าสถานที่เป้าหมายเกิดเหตุ สภาพพื้นที่ หรือระยะเวลาในการเดินทาง เป็นอย่างไร ประสานงาน สถานพยาบาลหรือกู้ภัย เพื่อเข้าร่วมซักซ้อมในวันจัดกิจกรรม สุดท้ายมีการประเมินผลความพึงพอใจและความเข้าใจในการจัดโครงการ

ทีมงานนี้บอกถึงความภูมิใจที่ กลุ่มเปราะบาง ชุมชน หรือหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ผ่านการฝึกอบรมจากทีมงาน มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย มีความรู้ความเข้าใจในแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย มีระบบรู้ว่าเมื่อเกิดเหตุควรทำอย่างไร สามารถใช้อุปกรณ์ได้และเผชิญเหตุเบื้องต้นได้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่ กลุ่มเปราะบาง ชุมชน หรือหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ผ่านการฝึกอบรมจากทีมงาน สามารถป้องกันการเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ มีการซักซ้อมทบทวนแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยเป็นประจำ และสามารถถ่ายทอดไปยังชุมชนข้างเคียง หรือหน่วยงานต่างๆได้ มีแผนร่วมกันระหว่างสถานที่ต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงได้ และเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างชุมชน บริษัท และหน่วยงานราชการต่างๆ ทำให้เกิดความสูญเสียที่ลดลง

เป็นอย่างไรบ้างค่ะชาวซีพี คงได้รู้จักกับโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนอีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจ