CP ชูโมเดล ธนาคารชุมชน สร้างผู้นำปรับฐานราก เปลี่ยนฐานคิด ฝ่าวิกฤตโควิด -19

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน โดยใช้โมเดลธนาคารชุมชน หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สร้างหลักประกันชีวิตด้านการออมที่ช่วยบรรเทาทุกข์ชุมชนในยามวิกฤต โควิด – 19

 ผู้ริเริ่มโครงการด้านการออม สู่ธนาคารชุมชน

นายรังสรร พุทธวงค์ ผู้จัดการทั่วไป หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ สำนักบริหารความยั่งยืนธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผู้ริเริ่มโครงการ ธนาคารชุมชน เนื่องจากเล็งเห็นถึงปัญหาหลักของเกษตรกร คือ เรื่องการลุงทุน เพราะเงินทุน คือ ปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต ส่งผลให้เกิดกู้ยืมสร้างภาระเกินรายจ่าย ซึ่งในแต่ละชุนชน ต่างมีการบริหารจัดการเงินทุนที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้บางชุมชนเกิดผลกระทบน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ตนจึงมองเห็นโอกาส ที่เกษตรกรสามารถบริหารจัดการเงินทุน ช่วยขจัดปัญหาวงจรหนี้สินภายใน โดยได้นำเครื่องมือและองค์ความรู้ถ่ายทอดเรื่องกองทุน การจัดการบัญชีรายรับรายจ่ายพร้อมกฎระเบียบหลักการให้สมาชิก อีกทั้งจัดตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ จากการประชาคมในชุมชน ซึ่งนายรังสรร กล่าวว่า ตนได้เข้ามามีบทบาทดำเนินการโครงการธนาคารชุมชน ตั้งแต่ปี 2548 จากการเรียนรู้สู่ความชำนาญจนกระทั่งในปัจจุบัน ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และร่วมสร้างธนาคาร มากว่า 100 ธนาคาร อาทิ ธนาคารชุมชนบ้านทุ่งโป่ง จ.ขอนแก่น ธนาคารชุมชนบ้านสบขุ่น จ.น่าน ธนาคารชุมชนธนบุรี จ.กาฬสินธุ์ และในพื้นที่อื่น ๆ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น กว่า 7,920 ราย ในทุกพื้นที่ เกิดรายได้และมีเงินกองทุนหมุนเวียนในชุมชน มูลค่ากว่าหลักล้านบาท ซึ่งเงินทั้งหมด ถูกนำไปฝากไว้กับสถาบันการเงินเพื่อความโปร่งใส ทำให้โครงการสามารถขับเคลื่อนมาถึงในปัจจุบัน และขยายผลในวงกว้าง

ประโยชน์จากการต่อยอดเมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการธนาคารชุมชน

ชุมชนมองเห็นโอกาสมีการจัดทำแผนระบบพัฒนาเงินทุนและส่งเสริมการการออมให้แก่สมาชิก พึ่งพาตนเองและพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน ตลอดจนสร้างเป็นแหล่งเงินทุนประกอบอาชีพหลักแก่สมาชิก นอกจากนี้ยังจัดสรรสวัสดิการระยะยาวให้แก่ชุมชน โดยมีข้อกำหนดร่วมกันภายใน เช่น การแบ่งปันผลกำไร เพื่อเป็นทุน สวัสดิการด้านการศึกษา ตลอดจนในทุกช่วงเวลาสำคัญของชีวิต ซึ่งการทำงาน เช่นนี้ ก่อเกิดเป็นการสร้างผู้นำการบริหารจัดการ จากเกษตรกรธรรมดา ให้กลายเป็น “นายธนาคาร” ที่บริหารจัดการเงินทุนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ธนาคารชุมชน หนึ่งใจปัจจัยสำคัญในยามวิกฤต โรคระบาดโควิด 19  ส่งผลกระทบการดำรงชีวิตและหลักประกันของเกษตรกร

อาชีพเกษตรกร ถือเป็นหนึ่งอาชีพทางเลือก ที่เป็น“ทางรอด” เพราะช่วยสร้างรายได้ที่ดีในระยะยาว โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทุกชุมชน ต่างประสบกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดการเรียนรู้ และปรับตัวจากสถานการณ์ โดยสร้างหลักประกันชีวิตผ่าน โครงการธนาคารชุมชนจึงมีความสำคัญต่อเกษตรกร เปรียบเสมือนที่พึ่งในยามวิกฤต

CP เคียงข้างและพร้อมพัฒนาชุมชน

“ธนาคารชุมชน” คือ การสร้างผู้นำชุมชน ช่วยพัฒนาธุรกิจชุมชนให้เติบโต ด้วยการสนับสนุนเงินลงทุน แก่กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน เช่น สนับสนุนทุนการศึกษา แก่ลูกหลานเกษตร ,การทำประมง , ปลูกพืชไร่หมุ่นเวียน  โดยการมีรากฐานสวัสดิการทรัพย์สินที่ดี ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ เรียนรู้พัฒนาเพื่อเกิดความยั่งยืน