ปุ๋ยอินทรีย์นาโนสู่การท่องเที่ยว “บ้านธรรมชาติล่างโมเดล”อีก 1 ตัวอย่างโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน

ปีนี้โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนไม่เพียงมีจำนวนโครงการที่ส่งเข้ามาจำนวนมาก แต่ในแง่ของตัวผลงานมีโครงการที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน เช่นเดียวกับโครงการปุ๋ยอินทรีย์นาโนสู่การท่องเที่ยว”บ้านธรรมชาติล่างโมเดลของทีมงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซีพีเอฟที่จังหวัดตราด ที่ทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ : ส่งเสริมการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและพัฒนาตนเองได้ โดยได้ดำเนินงานมาราว 1 ปี มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้นำชุมชน และเกษตรกรบ้านธรรมชาติล่าง เนื่องจากทางบริษัทได้ตั้งอยู่ใจกลางของหมู่บ้าน จากการสำรวจพบว่าทางชุมชนบ้านธรรมชาติล่างมีอาชีพ-เริ่มตั้งแต่ปี 2557 ทางทีม CSR ได้เข้าร่วมประชุมกับทีมชุมชน และได้เพิ่มทักษะการเรียนรู้ โดยเชิญ อาจารย์ สมัคร เชยชอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพอเพียง จากกองร้อยลาดตระเวร โปร่งน้ำร้อน มาให้ความรู้และทำการหมักปุ๋ยจากเศษวัชพืช เช่น ใบไม้ เศษหญ้าและมูลสัตว์ ชุมชนสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือน แต่พบว่าระยะเวลาในการทำปุ๋ยนานถึง 3 เดือน กว่าจะได้ปุ๋ยมาใช้ จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน ทางทีม CSR ได้ระดมความคิดกับอาจารย์และชุมชน หาวิธีการทำให้ได้ปุ๋ยที่เร็วขึ้น จึงได้ประสานกับทางอาจารย์กัญญา เจริญวัย ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวเชื้อจุลินทรีย์ จากกลุ่มเกษตรไมโคร จันทบุรี มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ปี 2558 ทางชุมชนบ้านธรรมชาติล่างได้นำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ไมโครฟิลด์มาเป็นส่วนผสม จนกลายมาเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพนาโน ซึ่งปุ๋ยมีประสิทธิภาพดี ใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 สัปดาห์ เป็นที่พึงพอใจ ทั้งในและภายนอกชุมชนและหมู่บ้านได้รับคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในปี 2558 -ปี 2559 ทางชุมชนคิดต่อยอดโดยการเลี้ยงไส้เดือน จึงไปศึกษาดูงานจากกลุ่มหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ ในการเลี้ยงไส้เดือนที่โปร่งน้ำร้อน และทางทีม CSR จัดอบรมให้ความรู้การเลี้ยงไส้เดือนให้กับชุมชน จึงเกิดการสร้างอาชีพเสริม จากนั้นชุมชนได้พัฒนาปุ๋ยโดยการนำมูลไส้เดือนมาเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ย จนกลายมาเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพนาโน+ไส้เดือน (ปุ๋ยมีชีวิต) สร้างรายได้ ลดการใช้เคมี บางรายไม่มีการใช้สารเคมีไปเลย เป็นที่ต้องการของชุมชนอื่นๆ ทางทีม CSR ร่วมกับชุมชน ได้เข้าร่วมนำเสนอโครงการซีพีเอฟเพื่อความยั่งยืน และชุมชนเป็นตัวแทนจังหวัดตราดนำเสนอผลงานโครงการที่ทำเนียบรัฐบาล เป็นที่ภาคภูมิใจของชุมชน งบประมาณจากภาครัฐเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ชุมชนดำเนินงานโครงการอย่างยั่งยืนประสบผลสำเร็จ

ต่อมา ปี2560 มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมากขึ้น ความต้องการของปุ๋ยเพิ่มขึ้น ทางหน่วยงานภาครัฐ ชุมชน โรงเรียน ให้ความสนใจเข้ามาศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้ยกระดับเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการท่องเที่ยว ปี2561 จึงต่อยอดผลผลิตจากปุ๋ยนาโนมาจัดโมเดลการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์โดยชุมชนบ้านธรรมชาติล่างโมเดล และในปี2562 จึงมุ่งสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่ของจังหวัดตราด โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวๆได้ทั้งปีสร้างสรรค์โดยชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม และเกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการผลิตปุ๋ยนาโน

ทีมงานนี้เล่าว่าได้คิดโครงการเพื่อลดรายจ่ายในการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรมในชุมชน โดยเริ่มเปลี่ยนจากปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน โดยเริ่มจากการทำปุ๋ยใบไม้ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยมูลไส้เดือน ก็ได้ผลดีแต่ยังมีปัญหาในการผลิต เช่น มีกลิ่นเหม็น ใช้ระยะเวลาในการผลิตปุ๋ย 3-4 เดือน ซึ่งใช้เวลานาน จึงหาองค์ความรู้จากภายนอกโดย อ.สมัคร เชยชอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นอาจารย์ให้ความรู้ในการผลิตปุ๋ยนาโน โดยใช้ มูลไก่ มูลวัว มูลไส้เดือน รำหยาบ แกลบ และอ.กัญญา เจริญวัย จากกลุ่มเกษตรไมโคร ที่ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ไมโครฟิว มาผสมและใช้เวลาการผลิต 14 วัน ไม่มีกลิ่นเหม็นและได้เริ่มทดลองนำมาใช้ในสวนยางที่มีปัญหาผลผลิตต่ำจากการใช้ปุ๋ยเคมี พบว่ารากยางมีการแตกแขนงเพิ่มขึ้นและต่อมาน้ำยางก็เริ่มให้ผลผลิตดีขึ้น จึงนำไปสู่ศูนย์การเรียนรู้การผลิตปุ๋ยนาโน โดยตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านธรรมชาติล่างและเริ่มผลิตปุ๋ยเพื่อจำหน่ายสู่ภายนอกและใช้ภายในกลุ่มสมาชิกหมู่บ้าน เช่น สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนเงาะ สวนยางพารา เป็นต้น ผลการนำปุ๋ยไปใช้จนถึงปัจจุบันทำให้สวนผลไม้และสวน สร้างสถานีเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 8 สถานี ได้แก่ ปุ๋ยนาโน สวนผลไม้ เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชน ผ้ามัดย้อม สมุนไพร อาหารปริศนา วิถีประมงพื้นบ้าน ล่องเรือ ชมเล ตกปลา หาหอย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว 360 คน/ปี และมีกำลังการผลิตปุ๋ยนาโน 30 ตัน/ปี

จากความร่วมมือของทีมงานกับชุมชนทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน จนเกิดเป็นอัตลักษณ์ภายในชุมชน ที่น่าสนใจ ทีมงานบอกว่าจากความสำเร็จของบ้านธรรมชาติล่างได้กลายเป็นโมเดลที่ทางจังหวัดให้ความสนใจนำไปขยายผลในชุมชนอื่นอีกด้วย

ก็ต้องมาลุ้นกันนะคะว่ากรรมการจะให้โครงการนี้ผ่านเข้ารอบต่อไปหรือไม่อย่างไร