นายกพบ”คิชิดะ”บูมร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น EV – แลนด์บริดจ์ – ซอฟต์พาวเวอร์ / ตลาดหุ้นอินเดียแซงหน้าฮ่องกงขึ้นเป็นตลาดใหญ่อันดับ 7 ของโลก หลังดัชนีพุ่ง 16% ในปีนี้ / ตลาดหุ้นอินเดียแซงหน้าฮ่องกงขึ้นเป็นตลาดใหญ่อันดับ 7 ของโลก หลังดัชนีพุ่ง 16% ในปีนี้

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

เศรษฐกิจไทย

นายกพบ”คิชิดะ”บูมร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น EV – แลนด์บริดจ์ – ซอฟต์พาวเวอร์

  • “เศรษฐา” โรดโชว์ญี่ปุ่น เตรียมพบฯนายกญี่ปุ่น ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ Golden Friendship, Golden Opportunities”  ฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น
  • หารือความร่วมมือ 3 ประเด็น การเปลี่ยนผ่านของรถยนต์สู่ EV โครงการแลนด์บริดจ์ และการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ ระหว่างวันที่ 14-18 ธันวาคม 2566
  • นายกมีแผนเชิญชวนญี่ปุ่นให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคและไทย โดยเฉพาะการเติบโต สีเขียว การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและดิจิทัล และร่วมหารือกับบริษัทเอกชนสำคัญระดับโลกของญี่ปุ่น โดยแบ่งเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลการเกษตร ธุรกิจการค้า (กรุงเทพธุรกิจ)

เศรษฐกิจเอเชีย

ตลาดหุ้นอินเดียแซงหน้าฮ่องกงขึ้นเป็นตลาดใหญ่อันดับ 7 ของโลก หลังดัชนีพุ่ง 16% ในปีนี้

  • ดัชนี Nifty 50 ของอินเดีย แตะระดับสูงสุดใหม่อีกครั้งเมื่อ 12 สิงหาคม ทำให้ดัชนีพุ่งขึ้นถึง 16% แล้วในปีนี้ และเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ในทางกลับกันดัชนี Hang Seng ของฮ่องกง ดิ่งลงถึง 17% ในปีนี้
  • ในปีนี้อินเดียกลายเป็นดาวเด่นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยสภาพคล่องในตลาดที่เพิ่มขึ้น การมีส่วนร่วมบนเวทีโลก และการปรับตัวตามสภาพตลาดโลกที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ต่ำลง
  • ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวลงเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน และกลายเป็นดัชนีที่ให้ผลตอบแทนย่ำแย่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Moody’s ปรับลดมุมมองต่อตลาดฮ่องกงจากคงที่เป็นลบ
  • รัฐบาลฮ่องกงคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตเพียง 3.2% ในปีนี้ หลังจากที่เคยปรับลดแนวโน้มการเติบโตของ GDP จาก 5% เหลือ 4% เมื่อเดือนสิงหาคม (ซีเอ็นบีซี)

เศรษฐกิจโลก

เฟดคงดอกเบี้ยตามคาด ส่งสัญญาณหั่นดอกเบี้ย 3 ครั้งปีหน้า

  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันพุธ (13ธ.ค.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 22 ปี
  • เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้งในปี 2567 โดยปรับลดครั้งละ 0.25% รวม 0.75% จากเดิมที่ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้งในการประชุมเดือนก.ย. นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 4 ครั้งในปี 2568 โดยปรับลดครั้งละ 0.25% รวม 1.00%
  • เฟดปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสู่ระดับ 3.2% ในปีนี้ จากเดิมที่ระดับ 3.7% และปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวสู่ระดับ 2.6% ในปีนี้ จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.1% และคาดว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัว 1.4%, 1.8% และ 1.9% ในปี 2567, 2568 และ 2569 (กรุงเทพธุรกิจ)