เงินหยวนอ่อนค่าใกล้ระดับต่ำสุดของปี / ‘นักธุรกิจต่างชาติ’ แตะเบรกลงทุนไทย สุญญากาศการเมืองฉุดความเชื่อมั่น / กฟผ. รุกไฮโดรเจน ทางเลือกผลิตไฟฟ้าสะอาดรับอนาคตประเทศที่มั่นคง

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

เศรษฐกิจจีน

เงินหยวนอ่อนค่าใกล้ระดับต่ำสุดของปี

  • ตั้งแต่ต้นปี (YTD) หยวนอ่อนค่าลงแล้วประมาณ 5% นับเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่ามากที่สุดในเอเชียรองจากเยนของญี่ปุ่น อยู่ที่ราว 7.2785 หยวนต่อดอลลาร์
  • ยอดสินเชื่อในประเทศที่ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี การลดลงของเงินเฟ้อผู้ผลิตและผู้บริโภคพร้อมๆ กัน และการส่งออกที่หดตัวหนักสุดในรอบกว่า 3 ปี หากภาคส่วนอื่นๆ อาทิ รัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งมีหนี้สูง พ่ายแพ้ต่อความพยายามในการลดภาระหนี้ เศรษฐกิจจีนแผ่นดินใหญ่อาจได้รับผลกระทบมากขึ้นและยาวนานขึ้น
  • หลังเศรษฐกิจจีนเผชิญข่าวร้ายไม่หยุด ด้าน HSBC มองแง่ดีว่า การอ่อนค่าของหยวนเร็วๆ นี้อาจช่วยหนุนเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวได้ (บลูมเบิร์ก)

เศรษฐกิจไทย

‘นักธุรกิจต่างชาติ’ แตะเบรกลงทุนไทย สุญญากาศการเมืองฉุดความเชื่อมั่น

  • นักธุรกิจต่างชาติจับตาดูการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังจากเลือกตั้งมา 3 เดือนแต่ยังคงไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ส่งผลบริษัทต่างชาติรายใหม่เริ่มแตะเบรกรอดูสัญญาการตั้งรัฐบาลก่อนตัดสินใจมาลงทุนไทย
  • “หอการค้าต่างประเทศ” ห่วงเจรจารัฐบาลรักษาการทำไทยเสียโอกาสดึงต่างชาติลงทุน ดังนั้นยิ่งตั้งได้เร็วเท่าไรยิ่งเป็นผลดีต่อประเทศและเศรษฐกิจไทย ดึงความชัดเจนด้านนโยบายการลงทุนและด้านเศรษฐกิจ
  • สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลใหม่มาช่วยเหลือนักธุรกิจต่างชาติ คือ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
  • หากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าออกไปจากเดือน ส.ค.2566 ซึ่งจะทำให้สิทธิประโยชน์หรือมาตรการส่งเสริมลงทุนและการลงทุนภาครัฐที่ยังรอเสนอรัฐบาลใหม่ ขาดความต่อเนื่องและจะทำให้ไทยเสียโอกาส (กรุงเทพธุรกิจ)

พลังงานสะอาด

กฟผ. รุกไฮโดรเจน ทางเลือกผลิตไฟฟ้าสะอาดรับอนาคตประเทศที่มั่นคง

  • ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยหลังศึกษาดูงานแหล่งผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจน Latrobe Valley Hydrogen Facility ณ ประเทศออสเตรเลีย ที่นำร่องผลิตไฮโดรเจนจากถ่านหินและสารชีวมวล โดยสอดคล้องกับ กฟผ. ที่สามารถผลิตไฮโดรเจนสีเขียวสำเร็จและใช้งานได้จริงตั้งแต่ปี 2559
  • กฟผ. มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวจากโครงการโรงไฟฟ้ากังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง ระยะที่ 2 พร้อมอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนผสมกับก๊าซธรรมชาติ
  • ประเมินว่าปี 2050 ความต้องการใช้ไฮโดรเจนจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอีก 8 เท่าอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องบิน จะใช้พลังงานจากไฮโดรเจนซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์เกือบทั้งหมด
  • ปัจจุบันโตโยต้าพัฒนาเครื่องยนต์ไฮโดรเจนเครื่องบินและรถยนต์คาดเป็นพลังงานหลักต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ)