เฟดคงดอกเบี้ยตามคาด ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งปีนี้ / รอยร้าวใหม่จีน-สหรัฐ ปม‘หัวเว่ย ชิป 7 นาโนเมตร / Foodpanda ยืนยันมีแผนขายกิจการบางส่วนในอาเซียนให้ Grab

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

เศรษฐกิจสหรัฐ

เฟดคงดอกเบี้ยตามคาด ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งปีนี้

  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันพุธ(20ก.ย.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี หลังปรับขึ้น11 ครั้งตั้งแต่เดือนมี.ค. 2565
  • เจ้าหน้าที่เฟดคาดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง สู่ระดับ 5.6% ภายในสิ้นปีนี้ และปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งสู่ระดับ 5.1% ในช่วงสิ้นปี 2567 และแตะ 3.9% ในช่วงสิ้นปี 2568 ขณะที่แตะ 2.9% ในช่วงสิ้นปี 2569 ขณะที่คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ระดับ 2.5%
  • นอกจากนี้ เฟดปรับลดคาดการณ์อัตราว่างงานสู่ระดับ 3.8% ในปีนี้ และอยู่ที่ 4.1% ทั้งในปี 2567 และ 2568 ส่วนในปี 2569 อยู่ที่ระดับ 4.0% ขณะที่อัตราว่างงานระยะยาวอยู่ที่ 4.0% (กรุงเทพธุรกิจ)

ความสัมพันธ์สหรัฐและจีน

รอยร้าวใหม่จีน-สหรัฐ ปม‘หัวเว่ย ชิป 7 นาโนเมตร

  • รัฐบาลจีน กล่าวหาสหรัฐเจาะเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทหัวเว่ยอย่างต่อเนื่อง และโจมตีทางไซเบอร์ล้วงข้อมูลสำคัญตั้งแต่ปี 2552 ถือเป็นความขัดแย้งครั้งล่าสุดระหว่างจีนและสหรัฐ
  • ความท้าทายใหญ่เพิ่มขึ้นเมื่อหัวเว่ยพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ ท่ามกลางการถูกสหรัฐคว่ำบาตรทางเทคโนโลยี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่า สหรัฐยังไม่เห็นหลักฐานยืนยันว่าหัวเว่ย สามารถผลิตสมาร์ทโฟนที่ใช้ชิปขั้นสูงระดับ 7 นาโนเมตรได้ในปริมาณมากๆ
  • ตั้งแต่ปี 2562 สหรัฐเริ่มใช้มาตรการกีดกันหัวเว่ยไม่ให้เข้าถึงเครื่องมือผลิตชิปขั้นสูง โดยอ้างว่าบริษัทจีนแห่งนี้เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ แต่หัวเว่ยยืนกรานปฏิเสธมาโดยตลอด (กรุงเทพธุรกิจ)

ธุรกิจ

Foodpanda ยืนยันมีแผนขายกิจการบางส่วนในอาเซียนให้ Grab

  • Delivery Hero บริษัทแม่ Foodpanda ยืนยันการเจรจาเกี่ยวกับการขายธุรกิจในเอเชียบางส่วนเมื่อวันพุธ  โดยมูลค่าอยู่ในระหว่างการเจรจา มองว่าเอเชียเป็นกลุ่มที่บริษัทมองเห็นโอกาสในการลงทุนมากที่สุด
  • Delivery Hero มุ่งเน้นไปที่การทำกำไรในขณะที่ยังคงรักษาการเติบโตไว้ เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนในบริษัทเริ่มลดลงหลังจากการเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด และคู่แข่งในตลาดเดลิเวอรีเติบโตก้าวกระโดด
  • Grab ยินดีที่จะจ่ายเงินมากกว่า 1,000 ล้านยูโร ในการซื้อกิจการบางส่วนในอาเซียนของ Delivery Hero โดย Grab ในสิงคโปร์ประกาศรายได้ครึ่งปีแรกอยู่ที่ 567 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะคุ้มทุนได้ในไตรมาสนี้
  • ข่าวดังกล่าวทำให้มูลค่าหุ้นของ Delivery Hero พุ่ง 13.5% ทันที ส่วน Grab ยังไม่มีการออกมาให้คำตอบใด ๆ กับเรื่องนี้ (รอยเตอร์)