ไมโครซอฟท์ กำลังพัฒนา ‘ชิป AI’ เอง หวังลดพึ่งพา Nvidia ราคาแพง / เวียดนามขึ้นแท่น ‘โรงงานโลก’ โตแรงแซงไทย เหตุผลที่ทั่วโลกปักธงฐานการผลิต / ส่งออกไทย มี.ค. 2566 หดตัว 4.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

เทคโนโลยี

ไมโครซอฟท์ กำลังพัฒนา ‘ชิป AI’ เอง หวังลดพึ่งพา Nvidia ราคาแพง

  • เว็บไซต์ข่าว The Information รายงานว่า ไมโครซอฟท์กำลังทดสอบและพัฒนา ชิปเอไอ เพื่อใช้ฝึกฝนโมเดลภาษาขนาดใหญ่ในเซิร์ฟเวอร์ของตนเอง
  • โดยต้องการลดต้นทุน ลดพึ่งพาชิปเซิร์ฟเวอร์จาก Nvidia ที่มีราคาสูงถึง 40,000 ดอลลาร์บนอีเบย์ โดยชิปตัวใหม่นี้จะใช้ชื่อว่า “อาเธน่า (Athena)”
  • ไมโครซอฟท์ริเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2019 แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าลูกค้าทั่วไปที่ใช้บริการอาชัวร์ คลาวด์ (Azure Cloud) สามารถเข้าถึงชิปตัวใหม่นี้ได้หรือไม่ และจะเริ่มใช้ชิปใหม่นี้กับผลิตภัณฑ์ใด
  • ด้วยต้นทุนที่สูงจึงไม่น่าแปลกใจ หากไมโครซอฟท์และบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่น Amazon , Meta และ Google หันมาผลิตชิปและพัฒนาฮาร์ดแวร์เองเป็นของตนเอง (กรุงเทพธุรกิจ)

ไมโครซอฟท์ กำลังพัฒนา ‘ชิป AI’ เอง หวังลดพึ่งพา Nvidia ราคาแพง

เศรษฐกิจเวียดนาม

เวียดนามขึ้นแท่น ‘โรงงานโลก’ โตแรงแซงไทย เหตุผลที่ทั่วโลกปักธงฐานการผลิต

  • หลังสำนักข่าวนิเคอิ เอเชีย รายงานว่า มีความเป็นไปได้ที่ “แอปเปิล” จะเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่แทนจีน แต่สุดท้าย บลูมเบิร์ก สรุปออกมาว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วน “MacBook” ของแอปเปิล ตัดสินใจตั้งโรงงานมูลค่า 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเมืองนามดินห์ ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม
  • เหตุผลที่บริษัทต่างๆ ตัดสินใจเลือกเวียดนามเพราะ เหตุผลเรื่องมาตรการจูงใจด้านภาษี และข้อตกลงการค้าเสรี  ต้นทุนแรงงานราคาถูกที่ 240 บาทต่อวัน แต่ทรัพยากรคุณภาพและประเทศมีผู้สูงอายุเพียง 10 %
  • อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องปรับปรุงแก้ไข อย่างข้อตกลงการค้าของเวียดนามตอนนี้ เอื้อให้การลงทุนจากต่างชาติอย่างเต็มที่ โดยไม่มีชาวเวียดนามเป็นซัพพลายเออร์ในห่วงโซ่อุปทาน  (กรุงเทพธุรกิจ)

เศรษฐกิจไทย

ส่งออกไทย มี.ค. 2566 หดตัว 4.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

  • การส่งออกไทยเดือนมีนาคม 2566 มีมูลค่า 27,651.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 4.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565
  • แต่การส่งออกของไทยในเดือนนี้ หากเทียบกับหลายประเทศก็ถือว่าการส่งออกไทยยังดี โดยญี่ปุ่นส่งออกหดตัว 8.0% เกาหลีใต้หดตัว 12.6% สิงคโปร์หดตัว 5.1% ไต้หวันหดตัว 19.2% เวียดนามหดตัว 11.7%
  • การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 4.2% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น น้ำตาลทราย ขยายตัว 73.9% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 5.7%
  • ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 5.9% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน มีสินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัว 14.2% หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน
  • ด้านพาณิชย์เร่งรื้อฟื้นความสัมพันธ์และการเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และการทำความตกลงทางการค้ากับตลาดศักยภาพในจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย หวังช่วยประคองส่งออกไทย (ประชาชาติธุรกิจ)