เครือเจริญโภคภัณฑ์ เดินหน้าร้อยเรียงความดี มอบเครื่องอุปโภค บริโภค และอุปกรณ์สื่อสาร ให้โรงพยายาลสนาม นครพนมแห่งที่ 2 ฝ่าวิกฤตโควิด-19

จากสถานการณ์ช่วงวิกฤตโควิด-19 เครือเคริญโภคภัณฑ์ (CP) ยังคงยืนหยัดเคียงข้างบุคคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทัพหน้าเริ่มเหนื่อยล้า จากการต่อสู้กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน การเติมสิ่งอำนวยสะดวกนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเติมแรงให้กับบุคลากร สู้ไปด้วยกัน

ด้าน นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า เครือซีพียังคงมุ่งมั่นเดินหน้าสนับสนุนภารกิจโรงพยาบาลสนามอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ “ซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” ให้กับโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีจิตอาสาในการดูแลให้กับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย ด้วยการส่งมอบ เครื่องอุปโภค บริโภค รวมทั้งเครือข่ายและอุปกรณ์การสื่อสาร จากเครือเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัทในเครือฯ ได้เเก่ บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน), รวมไปถึงโลตัส เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอำนวยความสะดวกให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

โดยเครือฯมีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมในการให้ความช่วยเหลือบุคลากรอย่างเต็มกำลังสามารถ และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งนี้ไปได้อย่างปลอดภัย

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว สมาชิกวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานวุฒิสภา ในฐานะ สมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้ส่งมอบโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยนครพนม แห่งที่ 2 ให้กับจังหวัดนครพนม โดยมี นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายแพทย์มานพ ฉลาดธัญญกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม นายแพทย์สมโภชน์ ธีระตระกูลสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม พร้อมด้วย ผู้แทนหน่วยงานราชการและภาคเอกชน เป็นผู้แทนประชาชนชาวนครพนมรับมอบ ณ โรงยิม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม เขตพื้นที่มรุกขนคร (เนินสะอาด)

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว กล่าวว่า ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ระรอก เดือนเมษายน 2564 ของจังหวัดนครพนม พบว่า ก่อนมีมาตรการล็อคดาวน์ มีผู้ติดเชื้อที่ยังรักษาตัวอยู่เพียง 1 คน แต่หลังจากที่มีการล็อคดาวน์ ทำให้แรงงานเดินทางกลับบ้าน ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยเมื่อ 24 กรกฎาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อสะสม 1,344 ราย ในขณะที่มีสถานพยาบาลเพียง 30 แห่ง แยกเป็น โรงพยาบาลของรัฐ 12 แห่ง โรงพยาบาลสนาม 6 แห่ง และศูนย์พักคอย 12 แห่ง ซึ่งมีเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยทั้งหมด 1,279 เตียง ใช้ไปแล้ว 862 เตียง คิดเป็นเกือบ 70% ของจำนวนเตียงที่มี

โดยโรงพยาบาลสนาม ณ มหาวิทยาลัยนครพนมขึ้น ได้สร้างโรงพยาบาลสนามสำหรับคนนครพนม รวมทั้งสิ้น 2 แห่ง รวมจำนวน 580 เตียงและบริจาคเงินและสิ่งของสมทบในการสร้าง ทั้งสิ้น 4,476,466 บาท เป็นการร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วน ที่ได้ส่งมอบให้คนนครพนมผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน