Leadership 5.0 ผู้นำยุคใหม่ในมุมมอง “พิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล”

คุณพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล เครือ CP-CPF ร่วมแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับผู้นำยุคใหม่ ภายในงานสัมมนา ‘Thailand HR Day 2021’ โดยร่วมบรรยายในหัวข้อ Leading to Reset in your Workplace
ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค NEW ERA หรือ Industry 5.0 ซึ่งบทบาทของ “ผู้นำ” มีส่วนสำคัญยิ่งในการนำพาองค์กรเดินหน้าสู่ยุคใหม่ ภายใต้สมดุลของเทคโนโลยีและบุคลากร (Go Digital but Think Human)
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สร้างความท้าทายในหลายมิติ อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญที่เป็นตัวเร่งให้องค์กรต้องกลับมาทบทวนและจัดลำดับความสำคัญต่างๆ ใหม่
การ Lockdown เป็นตัวเร่งให้เกิดการกระจายอำนาจบริหาร และ Digitization มาถึงเร็วกว่ากำหนด ซึ่งมาพร้อมกับชีวิตวิถีใหม่ แบบ Work life Integration เมื่อเส้นแบ่งระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวจางมากขึ้น จากการที่คนทำงานในยุคนี้สามารถทำได้ทุกที่และทำได้ตลอดเวลา
ในอีกมุมหนึ่งการ Work from Home ก็แฝงความท้าทายในเชิงการบริหารความสัมพันธ์ภายในทีมงาน ในฐานะผู้นำ เราจึงมีหน้าที่ต้องเน้นการสื่อสารที่สม่ำเสมอและให้คำติชมบ่อยเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างความชัดเจน และเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
ในขณะที่ความไม่แน่นอนต่างๆ ยังมีเข้ามาแบบต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำจึงต้องมีรับมือด้วยความรวดเร็วและโปร่งใส เพื่อตรียมองค์กรให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆ
คุณพิมลรัตน์ ยังสะท้อนให้เห็นถึงการปรับโครงสร้างองค์กรที่ต้องเป็น Modular Organization หรือ 360 องศา ทดแทนแบบเดิมในรูปแบบปิรามิด โดยใช้จุดแข็งของแต่ละคนในแต่ละทีม กระจายอำนาจตัดสินใจเพื่อให้ทีมสามารถปฏิบัติภารกิจสำเร็จได้ ไม่ต้องรอ Top Management เพียงคนเดียว โดยโครงสร้างแบบใหม่นี้จะช่วยผลิตผู้นำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการเปลี่ยนผู้นำจากแบบปิรามิดไปเป็นแบบ 360 องศานี้ ต้องใช้ Soft Skill ที่เปลี่ยนไป
สำหรับบทบาทความเป็นผู้นำยุค 5.0 หรือ Leadership 5.0 นั้น ควรประกอบด้วย 5S ได้แก่
❇️ Speed & Scale : ในยุคปลาเร็วกินปลาช้า ผู้นำต้องสร้างทั้งความเร็วและผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ ภายใต้ความเชื่อที่ว่าทุกคนเป็นผู้นำได้
❇️ Simplify : เริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ในการทำงานต้องเข้าใจง่ายและชัดเจน สามารถปฏิบัติได้และมีความยืดหยุ่น เช่น โครงสร้างองค์กรที่ไม่ซับซ้อน ไม่เป็นไซโล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการสื่อสาร รวมถึงการนำแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างๆ มาใช้ให้กระบวนการทำงานง่ายและไวขึ้น เช่น Smart Farm, Smart Factory และ Smart Crop
❇️ Skills : ผู้นำต้องต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาทักษะด้านดิจิตอลของทีม โดยทีม HR ในหลายๆ องค์กร ต้องมีส่วนร่วมสร้าง Digital Skill ในองค์กรให้เป็น Common future skills และพิจารณาการนำแพลทฟอร์มดิจิทอลมาเป็นอีกช่องทางที่สำคัญในการสร้างการเรียนรู้
❇️ Sympathy (Sense of Empathy) : Well being ของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ ผู้นำยุคใหม่ต้องมี Empathy เพราะความสุขของพนักงานจะสะท้อนออกมาเป็นผลงานขององค์กร
❇️ Sustain : ผู้นำรุ่นใหม่ต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ซึ่งไม่ใช่แค่ความยั่งยืนขององค์กร แต่หมายถึงความยั่งยืนของสังคม และGlobal Impact เป็นเรื่องสำคัญด้วย โดยมองใน 3 มุมตามหลักความยั่งยืน ได้แก่
❇️ Heart (ความยั่งยืนด้านธุรกิจ)
❇️ Health (ความยั่งยืนด้านสังคม)
❇️ Home (ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม)
สุดท้ายนี้ คุณพิมลรัตน์ฝากข้อคิดให้กับผู้นำทุกท่าน เรื่องการสร้างสมดุลระหว่าง Technology และ Human ผ่านการสร้างองค์กรแบบ Human-centered organization ที่เหมาะกับยุคของการ Transformation after the great reset
เพราะทุกๆ สิ่งใน Ecosystem นั้น เชื่อมต่อกันอย่างลึกซึ้ง (Everything we do is profoundly connected) ดังนั้น ในฐานะผู้นำ เราต้องหาจุดสมดุลในการบริหารจัดการให้ทุกองค์ประกอบของธุรกิจยังคงอยู่อย่างเหมาะสมและทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
Cr.PR CPF