ขอเชิญเพื่อนพนักงานชมความงดงามของสัตว์ป่าและธรรมชาติและร่วมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ”

1 รางวัลเกียรติยศ ประเภทสัตว์ป่า ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2561

ขื่อภาพ ความรักของโรนัน
ภาพโดย นายธนากิจ สุวรรณยั่งยืน
สถานที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน (เกาะบอน) จ.พังงา

ปลาหายากหน้าตาประหลาด ครึ่งฉลามครึ่งกระเบน นอนเรียงกันถึงสามตัวเพื่อรอที่จะผสมพันธุ์ในแนวปะการังของเกาะบอน โดยปกติพวกมันจะอาศัยอยู่ตามลานทรายในแนวน้ำลึก เป็นโชคดีจริงๆที่มาพบเจอพวกมันถูกที่ถูกเวลา

2. รางวัลดีเลิศ ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทป่าไม้ ภาพ Macro ประจำปี 2562

ชื่อภาพ เห็ดรังแตน
ภาพโดย นายธวัชชัย อ้อยทอง
สถานที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าชะอำ จ.เพชรบุรี
เลนส์มาโครสามารถเปิดมุมมองใหม่ ๆ ที่สายตาของคนทั่วไปไม่เคยเห็นมาก่อน ดังเช่นลวดลาย
อันสวยงามแปลกตาที่อยู่ด้านหลังของเห็ดรังแตนดอกเล็กๆ ดอกนี้

3. รางวัลดีเด่น ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประเภทสัตว์ป่า ประจำปี 2562

ชื่อภาพ อัญมณีในหน้าฝน
โดย นายกานต์ ภคธัญญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สถานที่ถ่ายภาพ :ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า จ.สระบุรี

เม็ดฝนที่ตกลงมาเกาะอยู่บนใยเเมงมุม ทำให้มองดูงดงาม ราวกับอัญมณีไข่มุกที่มีเเมงมุมตัวใหญ่โต คอยอารักขาทรัพย์สมบัติทางธรรมชาติ

4. รางวัลดีเด่น ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทป่าไม้ ภาพ Landscape ประจำปี 2562

ชื่อภาพ โอบกอดของหมอกในยามเช้า
ภาพโดย นายณัฐพล พลบำรุงวงศ์
สถานที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่

หมอกจากก่อตัวขึ้นจากความเย็นและความชื้นอยู่ที่ป่าเชิงเขาใน อ.เชียงดาว หลังพระอาทิตย์ขึ้น ไม่นาน แสงแดดสาดส่องผ่านเงาไม้กระทบกับหมอกเป็นลำ ในช่วงที่ป่าถูกปกคลุมไปด้วยหมอกที่ไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย

5. รางวัลยอดเยี่ยม ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทสัตว์ป่า ภาพ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประจำปี 2561

ชื่อภาพ พยัคฆ์พเนจร
ภาพโดย โดม ประทุมทอง
สถานที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก จ.ตาก

“พยัคฆ์ไพร” ผู้ได้รับสมญานามว่า จ้าวแห่งป่า นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่พวกมันจะสามารถ ครอบครองอาณาเขตกว่า 200 ตารางกิโลเมตรในผืนป่าให้เป็นอาณาจักรของมันได้ เสือโคร่งเพศผู้ทุกตัว เมื่ออายุพ้นสองปี ช่วงชีวิตของมันจะต้องเริ่มต้นกับสถานภาพหนึ่งเสมอๆ นั่นคือ การเป็น “พยัคฆ์พเนจร” ออกร่อนเร่หาแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ สร้างอาณาจักรอันเป็นพื้นที่หากินของตนเองให้ได้ ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายปี กว่าที่มันจะได้เลื่อนสถานภาพขึ้นมาเป็น จ้าวป่า ให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ และแน่นอนว่า บทสุดท้ายของพยัคฆ์พเนจรเหล่านี้ มีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่จะได้กลายเป็น พยัคฆ์ไพร จ้าวแห่งป่าของเมืองไทย