ซีพีในจีนอาลัยต่อการจากไปของ “ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี เจียรวนนท์” พร้อมเชิดชูประวัติเพื่อยกย่องในฐานะหนึ่งในผู้นำซีพี รุ่นที่ 2

ซีพีในจีน โดย สำนักงานประธาน สำนักงานใหญ่ปักกิ่งของซีพี  เผยแพร่ถ้อยความแสดงความอาลัยต่อการจากไปของ “ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี เจียรวนนท์” พร้อมเชิดชูประวัติชีวิตของท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี เพื่อให้เกียรติและยกย่อง  โดยระบุว่า “ท่านประธานกรรมการกิตติมศักดิ์มนตรี เจียรวนนท์” หรือในชื่อจีนคือ “ท่านต้าหมิน”  เป็นหนึ่งในผู้นำรุ่นที่2 ของเครือซีพี

ซีพีในจีน สาขา เซี่ยงไฮ้

ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี  เป็นบุตรชายคนที่สองของ ท่านเจี่ย เอ็กชอว์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มเจียไต๋ โดยท่านฯมนตรีเกิดที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในปี พ.ศ.2475

ต่อมาในปี พ.ศ.2496  ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรีและท่านประธานกิตติมศักดิ์จรัญ เจียรวนนท์ ผู้เป็นพี่ชายคนโต ซึ่งมีชื่อจีน คือ “ท่านเจิ้งหมิน” ได้ก่อตั้ง “เจริญโภคภัณฑ์” และสร้างธุรกิจอาหารสัตว์ของเครือซีพี

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496  –  2512 ดำรงตำแหน่ง ประธานกลุ่มเจียไต๋ (ในจีน)

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 – 2533  ดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการ เครือซีพี

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533   ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ เครือซีพี

ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี เป็นผู้ทุ่มเทให้กับการพัฒนากิจการของเครือซีพี โดยได้มุ่งมั่นและผลักดันให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน

ในวัยหนุ่ม ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี  ได้ศึกษาและอาศัยอยู่ในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 –  2490  ท่านจึงมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งต่อประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมณฑลเสฉวน

ซีพีในจีนยังระบุด้วยว่า ในช่วงวัยหนุ่มของท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี  ท่านฯและพี่ชายคนโตของท่าน คือ ท่านประธานกิตติมศักดิ์จรัญนั้น ได้ร่วมกันก่อตั้งธุรกิจอาหารสัตว์ “เจริญโภคภัณฑ์” ขึ้นในกรุงเทพฯ ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2496  ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งในประวัติศาสตร์การพัฒนาของเครือซีพี และจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับเครือซีพี

ต่อมาในช่วงวัยกลางคน หลังจากการปฏิรูปและเปิดตัวในจีนแผ่นดินใหญ่ในปี พ.ศ.2522 ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี  ได้ไปเยือนประเทศจีนหลายครั้ง  และมีส่วนร่วมอย่างมากในการสร้างเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมของจีน

ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี มีพื้นเพมาจากหมู่บ้านเผิงจง (Pengzhong) เมืองไหว้-ซา (Waisha) เขตเฉิงห่าย (Chenghai) เมืองซ่านโถว (Shantou)  มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน  สมัยเด็ก ๆ ท่านฯมนตรีเคยกลับไปบ้านเกิดและใช้ชีวิตที่นั่นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ท่านฯจึงรักบ้านเกิดและประเทศจีนมากเช่นกัน

หลังการปฏิรูปและเปิดประเทศจีน ท่านฯ มนตรีได้เดินทางกลับบ้านเกิดอย่างสม่ำเสมอในนามของเครือซีพี ท่านฯได้ก่อตั้งวิสาหกิจที่ได้รับทุนจากต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างเศรษฐกิจในบ้านเกิด ท่านฯอุทิศตนเพื่องานสวัสดิการสังคม และมีส่วนในการพัฒนาบ้านเกิด  และยังมีส่วนร่วมในการบริจาคของกลุ่มเจียไต๋อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์อี้ฉู่ อาคารหอพักนักเรียน และอาคารหอพักครูสำหรับโรงเรียนมัธยมจีนเฉิงไห่โพ้นทะเล  ทั้งยังมีส่วนร่วมในการบริจาคของกลุ่มเจียไต๋เพื่อสร้างอาคารเซี่ยอี้จู และได้ร่วมบริจาคให้โรงพยาบาล Chenghai Overseas Chinese Hospital โดยได้ก่อสร้างอาคารเซี่ยอี้ชู และยังได้ปรับปรุงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมถึงได้เยี่ยมชมโรงพยาบาลด้วยตนเองอีกหลายครั้ง

ในปี พ.ศ.2523 ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี  เป็นผู้นำเครือซีพีบุกเบิกการลงทุนสู่มณฑลเสฉวน ได้เจรจาการพัฒนาการลงทุน ตอบแทนมณฑลเสฉวนและประเทศจีน ในปี พ.ศ.2525 เครือเจียไต๋และรัฐบาลเมืองเฉิงตู ได้ลงนามสัญญาความร่วมมือ และได้ก่อตั้ง “Chengdu Phoenix Chia Tai Joint Venture Co., Ltd.” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “Chengdu Chia Tai Co., Ltd.” เป็นบริษัทต่างชาติบริษัทแรกของมณฑลเสฉวน และเป็นบริษัทต่างชาติรายแรกที่เข้ามาลงทุนในมณฑลเสฉวน หลังการปฏิรูปและเปิดมณฑลเสฉวน

ระหว่างปี พ.ศ. 2523 – 2543 ภายใต้การนำและการผลักดันของท่านประธานกิตติมศักดิ์ เครือซีพีได้ลงทุนในบริษัทต่าง ๆ จำนวน 11 บริษัท ในมณฑลเสฉวน มูลค่าการลงทุนรวม 430 ล้านหยวน ชำระภาษีเงินได้เพื่อคืนกลับไปพัฒนาท้องถิ่นมากกว่า 60 ล้านหยวน สร้างงานให้ชาวเสฉวนมากว่า  3,000 คน กล่าวได้ว่าท่านฯมนตรีมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและกิจกรรมสาธารณกุศลของมณฑลเสฉวน

นอกจากนี้ท่านฯมนตรีได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลมณฑลเสฉวนในการต่อสู้และเอาชนะความยากจน โดยสนับสนุนให้ก่อตั้งบริษัท Mingshan Chia Tai Tea Co., Ltd. ในเมืองยาอัน (ทางตะวันตกของเสฉวน) ในปี พ.ศ. 2539 ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้ก่อตั้งบริษัทไวน์ Xichang Chia Tai ในเขตปกครองพิเศษเหลียงซานโจว มณฑลเสฉวน โดยทั้งสองบริษัทใช้รูปแบบของ “บริษัท + เกษตรกร” เพื่อช่วยให้เกษตรกรในท้องถิ่นหลุดพ้นจากความยากจนและร่ำรวยขึ้น

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 – 2543   ท่านฯ มนตรีได้ไปเยือนเขตปกครองพิเศษเหลียงซานโจวหลายครั้ง ในมณฑลเสฉวน และเป็นผู้นำโครงการรับบริจาคเพื่อบรรเทาความยากจนหลายโครงการ มีการบริจาคเงินจำนวน 3 ล้านหยวน เพื่อช่วยสร้างโรงเรียนประถมศึกษาเจิ้งต้าโฮป CP Hope จำนวน 12 แห่ง ซึ่งได้แก้ปัญหาด้านการศึกษาให้เด็กกว่า 6,000 คนในเขตปกครองพิเศษเหลียงซานโจว ทำให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ  อีกทั้งยังดำเนินการบรรเทาความยากจนตามเป้าหมายในหมู่บ้าน เมี้ยว-จื่อ-วาน (Miaoziwan) เหลียงซานโจว โดยได้บริจาคเงินจำนวน 500,000 หยวน เพื่อสร้าง “สถานีไฟฟ้าเจิ้งต้า กวงหมิง (Zhengda Guangming)” ในหมู่บ้านเมี้ยว-จื่อ-วาน ครอบคลุม 5 หมู่บ้าน 23 กลุ่มเกษตรกรกว่า 803 ครัวเรือนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ ทั้งยังมีการบริจาคเงินอีกจำนวน 1 ล้านหยวน เพื่อช่วยสร้างหรือปรับปรุงที่พักอาศัยของเกษตรกรมากกว่า 110 ครัวเรือน โดยในจำนวนนี้มี 50 ครัวเรือนได้รับการปรับปรุงให้มีมาตรฐานสูง มีการวางแผนและสร้างถนนที่มีความยาว 178 เมตร กว้าง 8 เมตร ถือเป็นการพลิกโฉมใหม่ของหมู่บ้านแห่งนี้ก็ว่าได้ นอกจากนี้ที่เขตปกครองพิเศษเหลียงซานโจวยังมีโครงการบรรเทาความยากจนอีกหลายโครงการ เช่น โครงการเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ปลูกข้าวโพดและพริกไทย และยังมีโครงการฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกอีกด้วย โครงการต่าง ๆ ดังกล่าวได้ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจหมู่บ้านอย่างยั่งยืนผ่านการบรรเทาความยากจนจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและการบรรเทาความยากจนจากการให้ความรู้

จากนั้นในปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลประชาชนของเขตปกครองพิเศษเหลียงซานโจวได้รายงานต่อรัฐบาลประชาชนมณฑลเสฉวนเพื่อขออนุมัติและมอบตำแหน่งอันมีเกียรติให้แก่ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี เป็น “พลเมืองกิตติมศักดิ์ของเมืองซีชาง”

ซีพีในจีน กล่าวถึงท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรีต่อไปด้วยว่า ท่านฯยังเป็นผู้นำและก่อตั้งธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ธุรกิจจัดซื้อวัตถุดิบ และธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของซีพีในประเทศจีน  ซึ่งถือว่าท่านฯมนตรีเป็นผู้มีคุณูปการในการพัฒนาธุรกิจของซีพีในประเทศจีน รวมถึงการสร้างเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางสังคมหลังการปฏิรูปและการเปิดประเทศของจีน

นอกจากนี้ท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรีได้ส่งเสริมความร่วมมือและการสร้างมิตรภาพระหว่างภาครัฐบาลและภาคประชาชนของไทยและจีนอย่างจริงจัง ท่านได้พยายามอย่างยิ่งและมีส่วนสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจระหว่างไทยและจีน

ชาวซีพีในจีน ได้กล่าวขอบคุณอย่างจริงใจต่อท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี ด้วยคุณงามความดีและผลงานที่โดดเด่นของท่านในการปฏิรูปและการเปิดกว้างของจีน รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ขอขอบคุณอย่างจริงใจสำหรับการสนับสนุนที่ดีของท่านในการพัฒนาและการเติบโตของเครือซีพี

พวกเราชาวซีพีในจีนขอระลึกถึงท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี ขอบคุณในความรักของท่านฯที่มีต่อพนักงานและคนงานทั้งหมดของซีพีในประเทศจีน

สุดท้ายขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปของท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี เจียรวนนท์ ขอให้ท่านฯอยู่ในความสงบในจิตวิญญาณแห่งสวรรค์

ซีพีในจีน สาขา  ปักกิ่ง

ทั้งนี้ซีพีในจีน ได้พร้อมใจกันจัดพิธีแสดงความอาลัยต่อการจากไปของท่านประธานกิตติมศักดิ์มนตรี เจียรวนนท์ ในหลายสาขา ได้แก่ ปักกิ่ง กวางเจา เฉินตู และเซี่ยงไฮ้

 

ที่มา : https://mp.weixin.qq.com/s/nKtakNj77CQfjYx0q4uTVQ