IP Service Center เครือซีพี พร้อมเป็นคู่คิด สนับสนุนทุกความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มธุรกิจในเครือฯ ร่วมขับเคลื่อนการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา สมบัติทางความคิดอันล้ำค่าของมนุษย์ เดินหน้าสู่เป้าหมาย Tech Company

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เต็มไปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปต่อยอดวิธีแก้ไขปัญหากลายเป็น ‘ทรัพย์สินทางปัญญา’ และแน่นอนว่า คลังความคิดเหล่านี้ล้ำค่าเพียงพอที่ขับเคลื่อนโลกในหลายมิติที่เชื่อมโยงถึงกัน

คุณดวงฤดี เถลิงโชค Head of CP IP Service Center เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะการที่คนเราคิดค้นนวัตกรรมแปลว่า เรามีคนที่มีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเหล่านั้นเข้ามาเพื่อประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ ทั้งนี้ เมื่อมีนวัตกรรมดี ๆ สิ่งที่สำคัญตามมาก็คือ จะดึงดูดเงินทุนเข้ามา เมื่อมีเงินทุน มีคนสนใจมาลงทุน ก็จะเกิดการจ้างงาน เศรษฐกิจหมุนเวียน หากนวัตกรรมนั้นสามารถทำรายได้เป็นจำนวนมาก จะส่งผลให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้เร็ว

เครือฯ มีพันธกิจคือ การเป็น Leading Tech Company ซึ่งการจะเป็น Tech Company ต้องพิจารณาหลายด้าน เช่น บริษัทมีการลงทุนใน Research & Development (R&D) มากน้อยขนาดไหน มีนักวิจัยจำนวนเท่าไรเมื่อเทียบกับสัดส่วนพนักงานทั้งหมดในบริษัท เป็นต้น  โดยในปัจจุบัน กลุ่มธุรกิจในเครือฯ อาทิ ซีพีเอฟ ซีพีออลล์ ทรู รวมทั้งบริษัทอื่น ๆ มีการคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นจำนวนมาก และสามารถสร้างประโยชน์ให้สังคน รวมทั้งสร้างรายได้ให้บริษัท แต่นวัตกรรมเหล่านั้นอาจจะยังไม่ได้นำมารวบรวม และจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

คุณดวงฤดี กล่าวอีกว่า  หน่วยงาน IP Service Center จึงได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรม  ทำหน้าที่รวบรวมนวัตกรรมต่าง ๆ ของบริษัท ฯ ในเครือฯ พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ให้ความรู้และช่วยในการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ทุกกลุ่มธุรกิจในเครือฯ รวมทั้งให้คำแนะนำในการเวที และประสานงานการนำนวัตกรรมของทุกคนไปนำเสนอผลงาน เพื่อช่วยจุดประกาย และสร้างแรงบันดาลให้นักธุรกิจรุ่นใหม่

ทั้งนี้ เครือฯ มีเป้าหมายการจดทะเบียนสิทธิบัตรจำนวน  7,500 สิทธิบัตรภายในปี พ.ศ. 2573 หรือปี ค.ศ. 2030 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งขณะนี้กลุ่มธุรกิจภายในเครือฯ กำลังได้มีการดำเนินการร่วมกัน ประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว

คุณดวงฤดี เปิดเผยเพิ่มเติม ว่า ระหว่างวันที่ 8 – 10 กรกฎาคม 2565  กรมทรัพย์สินทางปัญญา จัดงานมหกรรม  “IP Fair 2022 มันส์ดีเวิร์ส ทางเลือกสำหรับคนรุ่นใหม่” ภายในงาน ซีพีออลล์ และทรู มีโอกาสได้ร่วมนำเสนอผลงานทรัพย์สินทางปัญญาในงานนี้ด้วย

“อยากจะเชิญชวนทุกกลุ่มธุรกิจ ได้มีโอกาเข้าร่วมในงานที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจัด ซึ่งเขาจัดเป็นประจำทุกปี และปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่เครือฯ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน เพราะเล็งเห็นว่า เครือฯ มีผลงานนวัตกรรมมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม หากได้ไปนำเสนอจะช่วยจุดประกายความคิด สร้างให้บริษัทขนาดเล็กหรือสตาร์ทอัพที่ได้มาชมงานมีแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเครือฯ อยากช่วยประเทศไทยกระตุ้น Ecosystem เกี่ยวกับด้านทรัพย์สินทางปัญญา เชื่อว่า เครือซีพีและกลุ่มธุรกิจในเครือยังมีนวัตกรรมจำนวนมากที่ยังไม่ได้นำออกมาจัดแสดง งานนี้เป็นอีกหนึ่งเวทีที่น่าสนใจสำหรับนักคิดนักสร้างสรรค์” คุณดวงฤดี กล่าวในตอนท้าย

มหกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (IP FAIR 2022) ภายใต้แนวคิด มันส์ดีเวิร์ส ทางเลือกสำหรับคนรุ่นใหม่ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา มาสัมผัสนวัตกรรมและผลงานศิลปะ (Art Fair) ระดับโลกของคนไทย พร้อมบริการให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาครบวงจร สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการและคนรุ่นใหม่หยิบไอเดียมันส์ ๆ สร้างผลงานทรัพย์สินทางปัญญาให้เกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์ วันที่  8-10 กรกฎาคมนี้ ชั้น 1 และชั้น 9 ที่ สยามสเคป ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น.