กรมอุตุฯ วิเคราะห์ 4 ปรากฏการณ์ส่งผล ‘ไทยฝนน้อย’ ไม่ได้มีแค่เอลนีโญ

กรมอุตุฯ เปิดข้อมูล วิเคราะห์ 4 ปรากฏการณ์ส่งผลกระทบ ประเทศไทยมีฝนตกน้อยในปี 2567 ไม่ได้มีแค่ ‘เอลนีโญ’

ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยาเผยแพร่ข้อมูลการติดตาม และการคาดหมายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศ ส่งผลให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนตกน้อยในปี 2567 โดยมีทั้งหมด 4 ปรากฏการณ์ได้แก่

  1. ปรากฏการณ์ El Nino Southern Oscillation (ENSO)

ปรากฎการณ์เอนโซอยู่ในสภาวะเอลนีโญ ากแบบจาลองการพยากรณ์ ENSO ของศูนย์ต่างๆ ทั่วโลก การพยากรณ์ความน่าจะเป็นของสถานการณ์ ENSO และการพยากรณ์อุณหภูมิผิวน้าทะเลบริเวณ มหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรที่มีค่าสูงกว่าค่าปกติ ประกอบกับเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและแบบจำลองแล้ว

คาดว่า ‘ปรากฏการณ์เอนโซ’ ที่อยู่ในสภาวะเอลนีโญกาลังอ่อนนี้จะอ่อนลงและเปลี่ยนเข้าสู่สถาวะเป็นกลางในช่วงเดือน เมษายนถึงมิถุนายน จากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 60 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567

 

  1. ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD)

ปรากฏการณ์ IOD หรือดัชนีวัดค่าความผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้าทะเล อันเนื่องมาจากการอุ่นขึ้น หรือเย็นตัวอย่างผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนใต้ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียบริเวณเขตศูนย์ สูตร (EAST) กับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดียเขตศูนย์สูตร (WEST) เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole’

จากแบบจำลองการพยากรณ์ IOD index การพยากรณ์ความน่าจะเป็นของ สถานการณ์ IOD และการพยากรณ์อุณหภูมิผิวน้าทะเลบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ดังรูปที่ 4 พบว่า ช่วงเดือนที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ IOD มีดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วงของเกณฑ์บวกที่ 0.56 ๐C แต่สถานะในปัจจุบันของปรากฏการณ์ IOD ยังคง มีสถานะปกติ (Neutral) จากแบบจำลองคาดการณ์ว่า IOD มีแนวโน้มที่จะมีสถานะเป็นบวกในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2567 โดย IOD จะส่งผลให้ปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทยลดลงเล็กน้อยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2567

  1. ปรากฏการณ์ Madden Julian Oscillation (MJO)

MJO เป็นปรากฏการณ์เกิดควบคู่กันระหว่างการไหลเวียนของบรรยากาศกับการยกตัวขนาดใหญ่ของ อากาศในเขตร้อนมีช่วงการเกิดอยู่ในระหว่าง 30-60 วัน โดยจะมีการเคลื่อนตัวทางตะวันออก ซึ่งจะมีอิทธิพลหรือส่งผล กระทบกับการเกิดฝนที่ผิดปกติในขณะที่ปรากฏการณ์ MJO เคลื่อนผ่าน

เกือบตลอดเดือนมีนาคมที่ผ่านมาปรากฏการณ์ MJO มีกาลังแรงขณะเคลื่อนตัวจากบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ผ่าน Western Pacific จนถึง Western Hemisphere และแอฟริกา ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ผลการพยากรณ์ดัชนี MJO จากแบบจาลอง พบว่าในช่วงสัปดาห์สุดท้าย ของเดือนเมษายนปรากฏการณ์ MJO จะมีกาลังแรงขึ้นขณะเคลื่อนจากบริเวณมหาสมุทรอินเดียไปยังบริเวณ Maritime Continent

ซึ่งภาพรวมของการพยากรณ์ค่า OLR คาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ MJO จะไม่ส่งผลใดๆ ต่อประเทศไทยในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายนจนถึงสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นยังคงต้องเฝ้า ติดตามปรากฏการณ์ MJO อย่างใกล้ชิดต่อไป

 

  1. ลมมรสุม (Monsoon)

ลมมรสุม คือลมที่พัดตามฤดูกาล (ลมประจาฤดู) เป็นลมแน่ทิศและสม่าเสมอ โดยประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพล ของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Monsoon) และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast Monsoon)

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่าง กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม มีแหล่งกาเนิดจากบริเวณความ กดอากาศสูงในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย มรสุมนี้จะนามวลอากาศ ชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทาให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝน มากกว่าบริเวณอื่น หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคมจะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ประเทศไทย จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ ประเทศมองโกเลียและจีน จากดัชนีลมมรสุม WYMI WNPI และ ISMI  ช่วงเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา พบว่าค่าเฉลี่ยดัชนีมรสุมแสดงให้เห็น ลมตะวันออกเฉียงเหนือมีค่ามากกว่าค่าปกติ และผลการคาดหมายลมที่ระดับ 850hPa (1,500 เมตร) ช่วง 4 สัปดาห์ข้างหน้า มีลมตะวันออกที่มีกาลังแรงกว่าค่าปกติพาดผ่านประเทศไทยตอนบน

ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกที่กาลังแรงกว่าค่าปกติ พาดผ่าน ส่วนสัปดาห์ที่ 3 และ สัปดาห์ที่ 4 มีลมตะวันออกที่มีกาลังแรงกว่าค่าปกติพาดผ่าน เกือบตลอดทั้งประเทศ ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้เดือนพฤษภาคม ประเทศไทยมีปริมาณฝนต่ากว่าค่าปกติ (เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของช่วงเดียวกัน ในช่วงปี 2534-2563)

ข้อมูลจาก: กรมอุตุนิยมวิทยา