True People Manager Development Program ผลงานนวัตกรรมสร้างคนที่น่าสนใจ

เป็นอย่างไรกันบ้าง กับผลงานนวัตกรรมตัวอย่างที่ส่งเข้ามาในมหกรรมนวัตกรรมบัวบาน 2021ที่ได้สัมผัสกันไป ครั้งนี้จะพาชาวซีพีไปดูผลงานนวัตกรรมด้านสังคมว่าด้วยเรื่องของการสร้าง”คน”ที่ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นผลงานนวัตกรรมได้ กับผลงานที่ชื่อว่า ”True People Manager Development Program” ที่นวัตกร 20 คนของทรูช่วยกันพัฒนา ประกอบด้วยคุณณัฐวุฒิ เกียรติไชยากร คุณศิวพร สัตกรพรพรหม คุณสุภาพร สุศรีพัฒนากุล คุณอภิชา สรหงษ์ คุณวาสนา หารสูงเนิน คุณชิตธารินทร์ พัดทอง คุณชนิสรา สมมติวงศ์ คุณเอกภพ กุลกฤติธาดา คุณกิตติศักดิ์ เป็นสุข คุณรุจิเรข สุ่นปาน คุณโกสินทร์ ภณิดาประกาสิต คุณชาญณรงค์ ศิริเฐียร คุณวรินทร์พร อัครทวีศุภณัฐ คุณนนท์ธยา ทองอ่อน คุณอันธรฐิกานต์ จินรัมย์ คุณสมฤทัย รักป้อม คุณเมธปิยา ศิริวงศ์ไพศาล คุณกณิกนันต์ ศรีวัลลภ คุณภาณิภัค โกวิทวัฒนพงศ์ คุณเพชรพลอย จิรชัยสกุล คุณภูมิ จุลพยัคฆ์

ความเป็นมาของนวัตกรรมชิ้นนี้
ทีมงานนี้เล่าว่าหลายครั้งที่องค์กรพยายามหาสาเหตุที่ทำให้ผลงานของทีมไม่ดีตามที่คาดหวัง และพยายามผลักดันรวมไปถึงแก้ไขให้ดีขึ้น แต่ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจในการทำงานและผลงานของทีมคือ”หัวหน้างาน” ดังนั้น People skill จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งความแตกต่างของหลักสูตรนี้คือ การเรียนรู้ด้วยเกมส์จำลอง โดยทำให้หัวหน้าเห็นภาพเหตุการณ์ของทีม เพื่อสะท้อนว่าทุกการตัดสินใจของหัวหน้าทีมส่งผลอย่างยิ่งกับแรงจูงใจและผลงานของคนในทีม กระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1. กลุ่มผู้เรียนจะสัมผัสประสบการณ์จริงโดยการบริหารทีมจำลอง ซึ่งแต่ละทีมต้องตัดสินใจ มอบหมายงาน พัฒนาศักยภาพ บริหารและประเมินผลงาน ให้กับน้องๆในทีม โดยทุกการตัดสินใจส่งผลกระทบกับแรงจูงใจและผลงานแตกต่างกันและสุดท้ายจะสะท้อนผลลัพธ์ออกมาในรูป Revenue ของทีม

2. นำ 10 สถานการณ์จากการสุ่มสำรวจและสัมภาษณ์พนักงานทุกระดับในองค์กรมาให้ท่านบริหารจัดการ และต้องคิดหาวิธีการรับมือเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจะมีหลักการที่ถูกต้องมาแนะนำควบคู่ไปด้วย

3. ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และประเมินผลงานของพนักงานตัวอย่าง 5 ท่าน ตามเกณฑ์ performance rating ขององค์กร และร่วม calibrate กันตามขั้นตอนจริง ผลลัพธ์: ผู้เรียนให้การยอมรับว่าเป็นหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเป็นเกมส์และทุกคนต้องมีส่วนร่วม, ทำให้ประเมินผลงานทีมได้ตรงตาามความจริงมากขึ้น

ความน่าสนใจของผลงาน
ทีมงานนี้เล่าอีกว่า จุดเด่นที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ เราออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบครบ Loop ของ Learning ecosystem คือ ไม่ได้มีแค่ learning event แล้วจบ โดยการออกแบบเปลี่ยนเป็นเอาปัญหาจริงเป็นตัวตั้งและให้ผู้เรียนเสนอวิธีการรับมือจากประสบการณ์จีริง และจึงให้เครื่องมือและหลักการเพิ่มเติม คือเรียนแล้วเอาไปใช้จริงได้เลย ไม่ใช่การนั่งเรียนท่องจำ แต่คือการเอาปัญหาจริงมาแก้ไขกันและเอาลงไปปฎิบัติจริง จึงได้ผลดีเป็นอย่างมากและทุกท่านที่ได้เข้าอบรมในหลักสูตรนี้ 94 เปอร์เซนต์สามารถสะท้อนการเรียนรู้ว่านำไปใช้จริงได้ทันที ไม่มี handout หรือ หนังสือประกอบการเรียน แต่เรียนผ่านประสบการณ์และสรุปประเด็นการเรียนรู้ลงใน Note มี Tool kit เล็กๆ ให้เพื่อใช้ทบทวนหลังจบการอบรม มีการทดสอบความรู้หลังการอบรม มี online microlearning, game online (under developing) ทั้งนี้เราจะวัดผล competency growth ของผู้เข้าเรียนโดยดูจาก 360 feedback ของทีมในปีถัดไป

ทีมงานนี้ใช้โปรแกรมตัดต่อเข้ามาช่วยในการทำ micro learning และ ตัว game online ซึ่ง HR เรามีทีม learning technology ที่สนับสนุนด้านนี้โดยตรง เราใช้ True connect ซึ่งเป็น application ที่พนักงานทรูทุกคนใช้ติดต่อสื่อสารกันภายใน การเรียนรู้ online ผ่านช่องทางนี้ เรายังสามารถติดตามและวัดผลประเมินการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ท่านสามารถ copy URL นี้เพื่อทดลองเข้าเล่นเกมส์กับเราได้ค่ะ https://learning.truecorp.co.th/game/manager-challenges/

คุณค่าของผลงาน
ถามว่าอะไรคือคุณค่าของผลงานนี้ ทีมงานบอกว่าผลงานนี้เป็นการออกแบบหลักสูตรที่เป็น Action learning ครั้งแรก ในองค์กรที่ตัวเนื้อหาเป็นเรื่องจริงขององค์กร และ เนื้อหาหลักการของหลักสูตรออกแบบมาสอดรับกับหลักการประเมินผลงานขององค์กร อุปกรณ์ทุกอย่างที่ออกแบบในหลักสูตรเป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนาทีมประสิทธิภาพขององค์กรโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตามทีมงานไม่ได้บอกว่าผู้ที่เข้าอบรมกลับไปที่หน่วยงานแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อทีมงานอย่างไร ก็ต้องไปลุ้นกันว่ากรรมการจะตัดสินให้ผ่านเข้ารอบถัดไปหรือไม่อย่างไร