ซีพีแรม ร่วมกับ มีเดียอาตส์ มจธ. ตอกย้ำความสําเร็จ เดินหน้าชวน นร.- นศ. ทั่วประเทศ สร้างพลัง “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste” ตระหนักลดความสูญเปล่าทางอาหารอย่างต่อเนื่อง ปีที่ 3

บริษัท ซีพีแรม จํากัด ร่วมกับ สาขาวิชามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดตัวโครงการ การประกวดคลิปวิดีโอ “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste” ปีที่ 3 เชิญชวนนักเรียน – นักศึกษาทั่วประเทศ แชร์ไอเดีย สร้างพลังผ่านคลิปวีดีโอความยาว 3 นาที ณ ห้อง GREAT ROOM ชั้น 3 โรงแรมดับเบิ้ลยู กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก คุณวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จํากัด และผศ.บุญเลี้ยง แก้วนาพันธ์ ประธานสาขาวิชามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้

โดยโครงการดังกล่าวเริ่มต้นจากการตั้งคําถามจากสิ่งที่เราเห็นจากอาหารในจานที่เราทานไม่หมด กองอยู่ตรงหน้าที่มีแต่เศษอาหารเหลือจากการทาน หรือแม้แต่ผักและผลไม้ที่เน่าเสียอยู่ในตู้เย็น ประกอบกับการพูดถึงของคนทั้งโลก รวมถึงองค์กรยูนิเซฟถึงความยากจน การโหยหาอาหาร ความ หิวโหยของเด็กน้อยในแอฟริกา ทั้งนี้เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องความสูญเปล่าทางอาหารในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีส่วนสําคัญ ในการร่วมสร้างการ เปลี่ยนแปลง และลดความสูญเปล่าทางอาหาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม

คุณวิเศษ เผยว่า ซีพีแรมได้ดําเนินการลด Food Loss ในองค์กรอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังส่งเสริมการลด Food Waste ในกลุ่มผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องเช่นกันในระยะหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามแนวทาง Food 3S (Food Safety, Food Security และ Food Sustainability) ขององค์กร โดย S ตัวที่สอง ที่เรียกว่า Food Security หรือความมั่นคงทางอาหารที่ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างปลอดภัย และมั่นคง ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์อย่างใดขึ้นก็ตาม มีความสอดคล้องกับแนวทางขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ที่วางเป้าหมายของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 โดยมีเป้าหมายหนึ่งคือโลกที่ปราศจากความหิวโหย (Zero Hunger) ด้วยการมีความมั่นคงทางอาหาร และปลอดจากภาวะการหิวโหยทุกรูปแบบ ซึ่งทุกคนจะสามารถเข้าถึงอาหารจากการกระจายอย่างทั่วถึง และมีคุณค่าโภชนาการ ได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี และตลอดไป

ขณะที่การจะเกิดความมั่นคงทางอาหารได้นั้น จะต้องมีทรัพยากรหรือวัตถุดิบทางอาหารอันจะเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอาหารและการผลิตร่วมกัน ระหว่างผู้ผลิต อาหารและเกษตรกร ตลอดจนอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมวัตถุดิบทั้งหมด และรวมไปถึงกระบวนการจัดจําหน่ายที่จะช่วยส่งต่ออาหารไปถึงมือผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงและปลอดภัย อันจะต้องมีความใส่ใจของการสร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการในการบริโภคและวัตถุดิบที่มีอย่างยั่งยืน และสําหรับ S ตัวที่สาม ที่เรียกว่า Food Sustainability เป็นการดูแลกระบวนการผลิตและส่งมอบให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเมื่อถึงปลายน้ําคือผู้บริโภค ก็จะมีส่วนสําคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยกันให้เกิดความยั่งยืน เพราะหากมีการบริโภคแบบทิ้งขว้างจนกลายเป็นความสูญเปล่าของอาหารก็จะส่งผลกระทบไปยังสิ่งแวดล้อม

ซึ่งข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP) ระบุว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตขึ้นมาทั่วโลกจะกลายเป็นอาหารสูญเปล่าที่ไม่ถูกทาน (Food Waste) หากนําไปฝังกลบจะก่อเกิดก๊าซมีเทนซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญที่ ทําให้เกิดภาวะเรือนกระจก หรือโลกร้อน การดําเนินการโครงการประกวดคลิปวิดีโอ “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste” จึงเป็นส่วนสําคัญในการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสูญเปล่าทางด้านอาหาร และนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องในอนาคต

Cr:Pr CPRAM