SoftBank ขาดทุนเป็นประวัติการณ์จากกองทุน Vision Fund / รถ EV ของจีนยังคงแข่งขันราคากันอยู่ต่อเนื่อง / ดัชนี CPI ของจีนเพิ่มขึ้น 0.1% ใน เม.ย. ช้าสุดรอบ 2 ปี

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

เทคโนโลยี

SoftBank ขาดทุนเป็นประวัติการณ์จากกองทุน Vision Fund

  • กองทุน Vision Fund ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นขาดทุน 4.3 ล้านล้านเยน แม้ว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะปรับตัวขึ้นในปีนี้แต่ยังต่ำกว่าปีที่แล้ว ดัชนี Nasdaq100 เน้นเทคโนโลยีสูงลดลง 11%
  • Vision Fundของ SoftBank ลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตสูงที่เผชิญกับกระแสต่อต้านจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั่วโลก ทำให้นักลงทุนเทขายหุ้นที่มีความเสี่ยงอย่างหุ้นเทคโนโลยี รวมถึงการถอนตัวของผู้บริหารระดับสูง
  • ขณะนี้นักลงทุนกำลังมองหาการ IPO ของบริษัท Armซึ่งเป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของอังกฤษ SoftBank เป็นเจ้าของ เพื่อเป็นหนทางในการพยุงงบดุลของบริษัทญี่ปุ่น และอาจเพิ่มเงินให้กับบริษัทเพื่อการลงทุนใหม่
  • Arm มียอดขาย 381.7 พันล้านเยนในปีงบประมาณ เพิ่มขึ้นมากกว่า 27% เมื่อเทียบเป็นรายปี (ซีเอ็นบีซี)

รถ EV ของจีนยังคงแข่งขันราคากันอยู่ต่อเนื่อง

  • จากการลดราคาอย่างหนักรอบก่อนหน้าไม่สามารถกระตุ้นยอดขายได้ ตัวเลขดังกล่าวได้บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรถยนต์ต่อยอดขายในอนาคต ผู้ผลิต EVของจีนส่วนใหญ่คาดว่ายอดขายในปีนี้จะเติบโต 60%
  • BYD ผู้ผลิต EV รายใหญ่ที่สุดในโลกเสนอส่วนลดสูงสุดถึง 20,000 หยวน สำหรับรถยนต์รุ่น Dynasty รวมถึง Tesla เสนอส่วนลดจำนวนมากสำหรับรุ่น 3s และรุ่น Ys ที่ผลิตในเซี่ยงไฮ้
  • Fitch Ratings มองว่าความเสี่ยงของการแข่งขันด้านราคายังไม่หมดไป ผู้ผลิต EV ของจีนได้รับประโยชน์จากต้นทุนแบตเตอรี่ที่ลดลง เนื่องจากราคาวัตถุดิบลดลงอย่างมาก
  • ยอดขาย EV ในจีนซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคาดว่าจะสูงถึง 8.8 ล้านคันในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้ว 35% (บางกอกโพสต์)

เศรษฐกิจจีน

ดัชนี CPI ของจีนเพิ่มขึ้น 0.1% ใน เม.ย. ช้าสุดรอบ 2 ปี

  • ดัชนีราคาผู้ผลิตของจีน ซึ่งวัดราคาที่ผู้ค้าส่งจ่าย ลดลง 3.6% นักเศรษฐศาสตร์ที่สํารวจโดยรอยเตอร์คาดว่าจะลดลง 3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีหลังจากลดลง 2.5% เดือนก่อนหน้า
  • การรายงานดัชนี CPI ของเดือนเมษายนเกิดขึ้นหลังอัตราเงินเฟ้อของจีนลดลงเหลือ 0.7% ในเดือนมีนาคม หลังจากแตะระดับสูงสุดล่าสุดที่ 2.8% เดือนกันยายนซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดของสหรัฐฯ CPI เพิ่มขึ้น 4.9% ในเดือนเมษายนที่ผ่อนคลายลงโดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 10 ครั้งติดต่อกัน
  • ตลาดแรงงานจีนที่อ่อนแอและการฟื้นตัวที่ช้าลงในตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้บริโภค แม้ภาคบริการกลับสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี (ซีเอ็นบีซี)