ยอดล้มละลายบริษัททั่วโลกพุ่งสูงขึ้น และจะเลวร้ายยิ่งขึ้น / OECD เผย 27% ของแรงงานในปัจจุบัน ‘เสี่ยง’ ถูกแทนที่ จากการปฏิวัติ AI / ปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ อาจกระทบเศรษฐกิจไทย

ทันทุกข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจการลงทุน กับ CP Business Watch
สำนักเศรษฐกิจและการลงทุนของเครือฯ (Economic and Investment Center) ขอนำเสนอ ข่าว บทความ และบทวิเคราะห์เชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารและพนักงานในเครือฯ เพื่อเสริมการตัดสินใจด้านธุรกิจและการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และการลงทุน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ

สถานการณ์ธุรกิจโลก

ยอดล้มละลายบริษัททั่วโลกพุ่งสูงขึ้น และจะเลวร้ายยิ่งขึ้น

  • การล้มละลายของธุรกิจเพิ่มขึ้นทั่วโลก ในบางประเทศมีปริมาณสูงถึงระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2008 และอาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทต่างๆ
  • การล้มละลายของสหรัฐในช่วงหกเดือนแรกของปี 2566 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2553 ในบรรดาบริษัทที่ S&P Global Market Intelligence ครอบคลุม
  • ในอังกฤษและเวลส์การล้มละลายของภาคธุรกิจใกล้จะสูงสุดในรอบ 14 ปี การล้มละลายของสวีเดนก็สูงที่สุดในรอบทศวรรษ ในขณะที่การล้มละลายในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเกือบ 50% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมิถุนายน
  • ฝั่งเอเชีย ญี่ปุ่น มียอดการล้มละลายในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ก็เพิ่มขึ้น 32.1% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 4,042 แห่ง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี
  • สำหรับหนึ่งในคำอธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์นี้คือ การย้อนกลับไปในช่วงที่เกิดการระบาด ที่รัฐบาลหลายประเทศได้ออกโครงการความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมาก  ดังนั้นเมื่อความช่วยเหลือหมดลง บริษัทที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาตัวเองได้จึงเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย (บลูมเบิร์ก)

เทคโนโลยี

OECD เผย 27% ของแรงงานในปัจจุบัน ‘เสี่ยง’ ถูกแทนที่ จากการปฏิวัติ AI

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยรายงานว่า ราว 27% ของจำนวนแรงงานในปัจจุบันกำลังพึ่งพาการทำงาน สามารถถูกแทนที่โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรืองานอัตโนมัติ

สำหรับนิยามของงานที่มีความเสี่ยงสูงสุด ทาง OECD ได้พิจารณาจากงานที่มีทักษะที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI มองว่าเป็นทักษะที่เทคโนโลยี AI สามารถทำให้เป็นระบบอัตโนมัติได้ โดยทักษะที่ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกมานี้มีมากกว่า 25 ทักษะ จากทั้งหมด 100 ทักษะ

อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า แม้จะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการกำเนิดของ AI แต่พนักงาน 2 ใน 3 ที่ทำงานกับ AI อยู่แล้วกล่าวว่า ระบบอัตโนมัติทำให้งานของพวกเขามีอันตรายหรือน่าเบื่อหน่ายน้อยลง

เลขาธิการ OECD กล่าวว่า AI จะส่งผลกระทบต่อพนักงานในที่ทำงานอย่างไร และผลประโยชน์จะมีมากกว่าความเสี่ยงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายที่คนที่ใช้งานจะดำเนินการ และรัฐบาลต้องช่วยพนักงานในการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง และได้รับประโยชน์จากโอกาสที่ AI จะเข้ามา (เดอะแสตนดาร์ด)

สภาพอากาศ

ปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ อาจกระทบเศรษฐกิจไทย

  • อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นทำสถิติใหม่ “ร้อนสุด” เป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 17.18 °C  ซึ่งคลื่นความร้อนที่สูงนี้ กลายเป็นความเสี่ยงใหญ่สุดอันดับสองที่โลกต้องเผชิญในอีก 2 ปีข้างหน้า และยังเป็นความเสี่ยงใหญ่สุดอันดับ 3 ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ตามรายงานของ World Economic Forum Global Risks Report 2023
  • ปรากฏการณ์ “คลื่นความร้อน” กำลังส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนบนโลกใบนี้ด้วย โดยสินค้าเกษตรกระทบหนักสุด ราคาขึ้นจนน่ากังวล ใน “อินเดีย” พบว่า “มะเขือเทศ” พุ่งขึ้นกว่า 400% จนแพงกว่าราคาน้ำมันไปแล้ว ขณะที่ราคาโกโก้พุ่งสูงสุดในรอบ 7 ปี และที่สำคัญ การขนส่งทางเรือต้องกำหนดความลึกของเรือในการแล่นผ่าน เพื่อป้องกันการเกยตื้นจากปัญหาภัยแล้งที่เป็นผลพวงของปรากฏการณ์เอลนีโญ
  • “วิจัยกรุงศรี” คาดการณ์ว่า ไทยจะเริ่มเข้าสู่ภาวะเอลนีโญในปีนี้ และหนักขึ้นในปี 2 ปี โดยเผชิญกับคลื่นความร้อนที่สูงขึ้น ภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย และปริมาณน้ำในแหล่งธรรมชาติหรือในเขื่อนลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภค กระทบระบบนิเวศ ภาคเกษตร รวมไปถึงภาคอุตสาหกรรมข้อง (กรุงเทพธุรกิจ)