“CPF และ 6 องค์กรพันธมิตร ลงนาม MOU เดินหน้าศูนย์ FLEC ระยะ 2 ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานประมง ต่อยอดความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาตนเอง

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ การดำเนินการ “ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา” (Fishermen Life Enhancement Center หรือ ศูนย์ FLEC) ระยะที่ 2 (ปี 2564-2568) ระหว่าง 7 หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ประกอบด้วย องค์การสะพานปลา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) บจ.จีอีพีพี สะอาด CPF และ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมีคอล หรือ GC เพื่อขับเคลื่อนการคุ้มครองแรงงานในภาคการประมงและครอบครัวตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล กับยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานภาคประมงและครอบครัวครบวงจร โดยต่อยอดการส่งเสริมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ หนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับครัวเรือนนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง ควบคู่กับการบริหารจัดการขยะทะเลและชายฝั่ง บนหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อช่วยดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs)
สำหรับการลงนามในครั้งนี้ จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งได้รับเกียรติ จาก ก.การต่างประเทศ ได้แก่ คุณใจไทย อุปการนิติเกษตร รองอธิบดี กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ คุณกัลย์ธีรา คุ้มไพโรจน์ นักการทูตชำนาญการ กรมองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้ง ดร.เสรี นนทสูติ กรรมการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม คุณสุรียพรรณ์ ณ สงขลา รองผู้ว่าฯ สงขลา เรือโทนพดล จันทรมณี ประมงจังหวัดสงขลา (อำนวยการสูง) และคุณธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย
การดำเนินของศูนย์ FLEC ในระยะที่ 2 บูรณาการความชำนาญและเครือข่ายของทั้ง 7 องค์กรมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานภาคประมงและครอบครัว โดยให้ความช่วยเหลือ ข้อแนะนำ ตลอดจนการสนับสนุนที่จำเป็น เพื่อให้ทุกคน ได้รับความคุ้มครองและมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตตามหลักมนุษยธรรม สอดคล้องต่อหลักการ สิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจ(UN Guiding Principles on Business and Human Rights) และการเคารพต่อสิทธิเด็กและเยาวชน มุ่งเน้นส่งเสริมการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติ เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ของแรงงานและครอบครัวสามารถพึ่งพาตนเองในเรื่องความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน รวมทั้งนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาช่วยสร้างการมีส่วนร่วมเรื่องการจัดการขยะทะเลและชายฝั่งในเขตพื้นที่ท่าเรือสงขลา เพื่อให้ศูนย์ FLEC เป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาที่ยั่งยืนของห่วงโซ่อาหารทะเล
Cr.PR CPF