ประธานกก.พิจารณาซีพียั่งยืน แนะเทคนิคเขียนโครงการให้โดนใจกรรมการ ย้ำโครงการเล็กหรือใหญ่ไม่สำคัญทำเพื่อสังคมอย่างยั่งยืนควรได้รับการยกย่อง

ใกล้เข้ามาทุกขณะกับกำหนดการปิดรับส่งโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเปิดรับมาตั้งแต่เดือนเมษายน ที่ผ่านมา โดยจะปิดรับในวันที่ 30 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ ขณะนี้มีโครงการทะยอยส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และก็มีอีกหลายโครงการยังไม่มั่นว่าจะส่งเข้ามาดีหรือไม่ เพราะไม่รู้ว่าจะเขียนอธิบายกิจกรรมที่ทำอย่างไรให้โดนใจกรรมการ

ดร.สดุดี สุพรรณไพ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักความปลอดภัยฯ กลุ่มการค้าระหว่างประเทศ เครือซีพีในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน เปิดเผยว่า การเขียนโครงการไม่ใช่เรื่องอยาก ซึ่งมีเทคนิคง่าย เพียง 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.สื่อสารสภาพปัญหาของโครงการให้ชัดเจน
2.ทำ Flow Chart สรุปขั้นตอนการดำเนินงานและแสดงผลลัพธ์แต่ละขั้นให้เข้าใจง่าย
3.สรุปผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ของโครงการสะท้อนสภาพปัญหามากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้ ดร.สดุดี ยังได้พูดถึง แนวคิดการทำโครงการ เล็กหรือใหญ่ไม่สำคัญ ให้ดูกันที่ผลลัพธ์
“ผมอยากจะให้ทุกคนปรับมุมมอง ยิ่งเป็นโครงการเล็กที่มีความสำคัญ ทำคนเดียวอาจทำได้แค่ชุมชนเดียว แต่ถ้าเอาสิ่งที่ทำอยู่มาแลกเปลี่ยนมุมมองกับเครือฯ อาจจะมีผู้สนับสนุนและสร้างผลลัพธ์ได้มากขึ้น อย่าไปมองว่าสิ่งที่พวกเราทำอยู่เป็นโครงการเล็กๆ อยากให้มาร่วมกันทำเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน”

ดร. สดุดี ยังได้บอกอีกว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีตั้งแต่ริเริ่มโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน มีโครงการน่าเชิดชูมากมายที่ทำเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น “โครงการหนองหว้า” ซึ่งเป็นโครงการของปีแรกที่ทำโครงการ ถือเป็นต้นแบบ (Hall of Fame) และยังมีโครงการบริจาคโลหิตในประเทศเวียดนาม ที่ประทับใจมาก เพราะได้สร้างให้เกิดวัฒนธรรมของการบริจาคโลหิต เปลี่ยนผู้ที่ไม่บริจาคให้กลายเป็นผู้บริจาคได้ เริ่มต้นจากคนซีพีเวียดนามสู่ชุมชนโดยรอบ และกลายเป็นวัฒนธรรมที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี

โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนเปิดรับผลงานตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง สิ้นเดือนมิถุนายน จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรอง โดยคณะกรรมการกลั่นกรอง ซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ ของเครือฯ ที่ดูแลด้านความยั่งยืน และผู้บริหารที่เข้าใจกระบวนการทำงานด้านสังคม เพื่อให้ได้มุมมองที่หลากหลายและมีความเข้าใจโครงการที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิจารณากลั่นกรองประมาณ 2 เดือน และจะส่งเข้าสู่การพิจารณาคัดเลือกของคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มาจากทั้งภายในและภายนอกเครือฯ เพื่อตัดสินผลงานที่โดดเด่นในแต่ละประเภท

“ผลงานที่ผ่านการพิจารณาในครั้งนี้ จะมีโอกาสได้ไปนำเสนอในงาน “นวัตกรรมบัวบาน” ซึ่งจะจัดประมาณกลางปี 2564 ภายในงานจะมีผลงานด้านนวัตกรรม และงานด้านสังคมและความยั่งยืน รวมทั้งองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้นวัตกรรมและความยั่งยืนภายในงานควบคู่กัน” ดร.สดุดี กล่าวในตอนท้าย

ทั้งนี้ สามารถส่งผลงานโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนทั้ง 3 ประเภทผ่านเว็บไซต์ www.click4planet.com ตั้งแต่ วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2563 และติดตามข่าวสาร VDO แนะนำการส่งโครงการ เกณฑ์การตัดสิน รวมถึงติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้